ก่อนที่ดินแดนคองโกจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของชาติตะวันตก ดินแดนคองโกเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของ ชาวปิ๊กมี่ ( Pygmy ) จากนั้น ชนเผ่าบันตู ( Bantu ) ได้เริ่มเข้ามายึดครองพื้นที่และตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ และเริ่มมีการจัดระบบการปกครองโดยมีกษัตริย์เป็นประมุข มีการทำเกษตรกรรม และการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ทำจากเหล็ก ในศตวรรษที่ 16 ดินแดนคองโกแบ่งการปกครองออกเป็นหลายราชอาณาจักร โดยอาณาจักรที่มีความสำคัญ ได้แก่ ราชอาณาจักรลูบา ( Luba Kingdom ) และ สหพันธรัฐคูบา ( Kuba Federation ) ซึ่งทั้งสองอาณาจักรได้เจริญรุ่งเรืองถึงที่สุดในศตวรรษที่ 18 เมื่อเข้าสู่ช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ดินแดนคองโกเริ่มเสื่อมถอยลง เนื่องจากมีหลากหลายชนชาติ อาทิ อาหรับ สวาฮิลี Nyamwezi เข้าไปทำการค้า และเข้าปล้นสะดมชนพื้นเมืองเพื่อบังคับให้เป็นทาส รวมทั้งฆ่าช้างเพื่อเอางา นอกจากนี้ ยังเริ่มแผ่ขยายอิทธิพลของตนจนแทรกซึมไปทั่วดินแดนคองโก ทำให้ดินแดนคองโกอ่อนแอลง ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2 แห่งเบลเยียมได้มอบหมายให้นาย Henry Mortan Stanley เดินทางสำรวจที่ลุ่มแม่น้ำคองโก ซึ่งเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก และแหล่งทรัพยากร ตลอดจนแร่ธาตุที่สำคัญมากมาย โดยเฉพาะเพชร จากนั้นเบลเยียมจึงเข้ายึดครองดินแดนคองโก โดยกำหนดให้คองโกมีสถานะเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และเป็นแหล่งทรัพยากรของ สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2 และใน การประชุมเบอร์ลิน ปี 2427-2428 ( ค.ศ. 1884-1885 ) ชาติตะวันตกให้การรับรองว่าดินแดนคองโกเป็นของกษัตริย์เบลเยียม โดยมีชื่อว่า เสรีรัฐคองโก หลังจากนั้น เบลเยียมได้สร้างเส้นทาง คมนาคม เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนถ่ายสินค้า และได้นำทรัพยากรจากคองโกไปใช้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังดัดแปลงรูปแบบเกษตรกรรมโดยให้ชาวคองโกเน้นการปลูกและแปรรูปยางพาราเพื่อส่งไปยังเบลเยียมที่อยู่ในช่วงพัฒนาประเทศ และเริ่มให้บริษัทเอกชนเบลเยี่ยมเข้ามาทำเหมืองแร่ อาทิ เพชร อัญมณี และแร่ธาตุที่สำคัญอื่นๆ ความต้องการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติและการกดขี่แรงงานชาวกองโกอย่างหนัก ทำให้ในปี 2451 ( ค.ศ. 1908 ) ชาติตะวันตกอื่นๆ ไม่พอใจ และกดดันให้เบลเยี่ยมเปลี่ยนสถานะของคองโกจากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เบลเยียมมาเป็นประเทศอาณานิคมของรัฐบาลเบลเยียมโดยใช้ชื่อเป็น คองโกของเบลเยียม แทน การเปลี่ยนสถานะประเทศส่งผลให้สภาพความเป็นอยู่ของชาวคองโกดีขึ้น โดยประชาชนได้รับการศึกษาและได้ใช้ประโยชน์จากระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่เบลเยียมสร้างไว้ ต่อมานาย Joseph Kasavubu และนาย ปาทริส ลูมูมบา ได้มีบทบาทแข็งขันในการเรียกร้องเอกราชให้คองโก นอกจากนี้ ฝรั่งเศสยังสนับสนุนชาวคองโกให้ลงประชามติเพื่อกำหนดสถานะของชาติตนได้ การพยายามเรียกร้องเอกราชเป็นเหตุให้เกิดการจลาจลในกรุง กินชาซา ในปี 2502 ( ค.ศ. 1959 ) ซึ่งเบลเยียมไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ทำให้เบลเยียมได้มอบเอกราชให้แก่คองโกในวันที่ 30 มิถุนายน 2503 ( ค.ศ. 1960 ) หลังจากได้รับเอกราช คองโกได้จัดการเลือกตั้ง โดยนาย Lulumba ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีและนาย Kasavubu เป็นประมุขของรัฐ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ภายในประเทศคองโก ยังอยู่ในความไม่สงบ เนื่องจากยังคงมีการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มกบฏต่างๆ และสถานการณ์ทวีความซับซ้อนมากขึ้นเมื่อกองกำลังทหารเบลเยี่ยมที่ถูกส่งเข้ามายังคองโก โดยให้เหตุผลว่า เพื่อปกป้องชาวเบลเยียมและภาคเอกชนที่ยังไม่สามารถกลับเบลเยียมได้ ความไม่สงบได้แพร่ขยายไปยังหลายพื้นที่และเกิดการแย่งชิงอำนาจ ทำให้เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2503 ( ค.ศ. 1960 ) คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ( United Nations Security Council : UNSC ) ได้รับรองข้อมติ UNSC ที่ 143 ( 1960 ) จัดตั้งภารกิจสหประชาชาติในคองโก ( United Nations Operation in Congo : ONUC ) เพื่อยืนยันการถอนกองกำลังเบลเยียมออกจากคองโก สนับสนุนรัฐบาลจัดระเบียบ ความเรียบร้อยภายในรัฐ และ รักษาบูรณภาพแห่งดินแดนคองโก อย่างไรก็ตาม โดยที่ภารกิจสหประชาชาติไม่สามารถละเมิดกิจการภายในประเทศได้ ความขัดแย้งระหว่างผู้นำประเทศได้ก่อตัวขึ้นส่งผลให้นาย Kasavubu ปลดนาย Lulumba ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อมาเมื่อวันที่ 14 กันยายน Colonel Joseph Mobutu ( ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น Mobutu Sese Seko ) ผู้บัญชาการทหารคองโกได้ปลดนาย Kasavubu ออกจากตำแหน่ง ความขัดแย้งในคองโกยังดำเนินต่อไปและมีการแบ่งดินแดนออกเป็นส่วนย่อย จนกระทั่งปี 2508 ( ค.ศ. 1965 ) นาย Mobutu ได้เข้าควบคุมพื้นที่ได้สำเร็จและขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี สังกัดพรรค Popular Movement of the Revolution ( MPR ) โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปี หลังจากเข้ารับตำแหน่ง นาย Mobutu บริหารประเทศแบบรวมศูนย์ โดยได้ยกเลิกสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ประธานาธิบดีมีอำนาจจัดตั้งรัฐบาล วางนโยบายส่งเสริมความเป็นแอฟริกันที่แท้จริง ( African Authenticity ) วางแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศด้วยการส่งเสริมให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน รักษาความสัมพันธ์อันดีกับประเทศตะวันตก และสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน และได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นซาอีร์ ( Zaire ) ในปี 2514 ( ค.ศ. 1971 ) อย่างไรก็ตาม การบริหารงานของนาย Mobutu เต็มไปด้วยความผิดพลาด ทำให้เกิดปัญหาการคอร์รัปชั่น การบริโภคทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง การนำคนเผ่าเดียวกันกับตน ( เผ่า Ngbanda ) มาบริหารประเทศจนก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชนเผ่าภายในประเทศ จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลนาย Mobutu นำโดยกลุ่มต่อต้านที่ใหญ่ที่สุด คือ กลุ่ม Front Liberation Nationale du Congo ( FNLC ) พยายามทำรัฐประหารเพื่อแยกดินแดน Katanga ( อยู่ทางตอนใต้ของประเทศ ) แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากรัฐบาลนาย Mobutu ได้รับความช่วยเหลือจากกองกำลังทหารของฝรั่งเศส เบลเยียม และโมร็อกโก นาย Mobutu พยายามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในประเทศโดยการวางนโยบายปฏิรูปทางการเมือง ทำให้ชาติตะวันตกเกิดความพอใจและเริ่มบริจาคเงินช่วยเหลือซาอีร์มากขึ้น แต่ประเทศกลับไม่พัฒนาอย่างที่ควรจะเป็น เนื่องจากนาย Mobutu ได้ยกเลิกโครงการพัฒนาประเทศต่างๆ ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเลวร้ายลงเรื่อย และในปี 2533 ( ค.ศ. 1990 ) นาย Mobutu อนุญาตให้จัดตั้งพรรคการเมืองอื่นในซาอีร์ได้ แต่นาย Mobutu มีอำนาจเหนือพรรคการเมืองทั้งหมด ทำให้กลุ่มผู้ต่อต้านนาย Mobutu มีจำนวนมากขึ้น และต้องการขับไล่นาย Mobutu ให้พ้นจากตำแหน่ง จากสถานการณ์ความรุนแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน ซาอีร์ นาย Mobutu ตัดสินใจจัดตั้งพรรคร่วมรัฐบาลในปี 2534 ( ค.ศ. 1991 ) แต่ยังคงกุมอำนาจการบริหาร ความมั่นคง ตลอดจนกระทรวงต่างๆ ที่สำคัญไว้ การบริหารงานที่ผิดพลาดของนาย Mobutu ส่งผลให้ระบบการบริหารราชการแผ่นดิน และระบบเศรษฐกิจของซาอีร์ล้มเหลว นอกจากนี้ ความรุนแรงในซาอีร์ทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากปัญหาผู้อพยพชาว Hutu ซึ่งหนีการฆ่าล้างเผ่าพันธ์จากรวันดาในปี 2537 ( ค.ศ. 1994 ) ไหลทะลักเข้ามาในซาอีร์ ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชนเผ่า Hutu และ Tutsi ในซาอีร์ และเริ่มบานปลายออกไปเป็นสงครามกลางเมือง เมื่อ กองกำลังของซาอีร์ ( Zairiam : FAZ ) สนับสนุนชาว Hutu ให้ต่อต้านชาวคองโกที่มีเชื้อสาย Tutsi ที่อาศัยอยู่ทางทิศตะวันออกของซาอีร์ ในทางกลับกัน กองกำลังร่วมระหว่างรวันดาและยูกันดาได้บุกรุกเข้าไปในซาอีร์ เพื่อเข้าไปช่วยเหลือชนเผ่า Tutsi ต่อสู้กับ Hutu และพยายามล้มล้างอำนาจของนาย Mobutu และคาดหวังที่จะเข้าควบคุมทรัพยากรธรรมชาติในซาอีร์ จนกระทั่งในปี 2540 ( ค.ศ. 1997 ) นาย Laurent Kabila ผู้นำกลุ่มต่อต้านรัฐบาลที่ได้รับการสนับสนุนจากกองกำลังทหารรวันดา ยูกันดา แซมเบีย และแองโกลา ได้เข้าควบคุมพื้นที่ทางตะวันออกของซาอีร์ และสามารถเข้ายึดกรุงกินซาชาได้ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2541 ( ค.ศ. 1998 ) และนาย Mobutu ถูกปลดออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี และในวันที่ 29 พฤษภาคม นาย Kabila ได้สาบานตนเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ( democratic Republic of the Congo : DRC ) ถึงแม้ว่านาย Kabila เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของ DRC แล้ว แต่กองกำลังทหารของรวันดาและยูกันดายังต้องการอยู่ภายใน DRC เพื่อเข้าควบคุมทรัพยากรจำนวนมากในประเทศ ดังนั้น กองกำลังทหารรวันดาจึงได้ถอนกำลังออกจากเมืองหลวง ไปตั้งมั่นที่เมือง Goma และจัดตั้งกลุ่มกบฏขึ้นใช้ชื่อว่า Rassemblement Congolais pour louisiana Democratie ( RCD ) นำโดยชนเผ่า Tutsi เพื่อต่อสู้กับรัฐบาลนาย Kabila ในขณะเดียวกัน ยูกันดาได้จัดตั้งกลุ่ม Movement for the Liberation of Congo ( MLC ) ขึ้น ซึ่งนำโดยผู้นำทางทหารของ DRC ชื่อ Jean-Pierre Bemba เพื่อต่อต้านอิทธิพลของรวันดาใน DRC การต่อสู้ของกลุ่มกบฏทั้งสองนำมาสู่การเกิดสงครามกลางเมืองครั้งที่ 2 ใน DRC นอกจากนี้กลุ่มประเทศ southerly African Development Community ( SADC ) ประกอบด้วย แองโกลา ซิมบับเว และนามิเบีย ได้ส่งกำลังทหารเข้าช่วยเหลือรัฐบาล DRC ในฐานะเป็นพันธมิตรกลุ่ม SADC นอกจากนี้ ซูดาน ลิเบีย และชาดได้ส่งกองกำลังเข้าช่วยเหลือรัฐบาลนาย Kabila ด้วย สหประชาชาติเริ่มเข้ามามีบทบาทแก้ไขความขัดแย้งใน DRC อีกครั้ง โดยเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 ( ค.ศ. 1999 ) UNSC ได้รับรองข้อมติ UNSC ที่จัดตั้งภารกิจสหประชาชาติใน DRC ( United Nations Organization Mission in DR Congo : MONUC ) เพื่อเข้ามายุติสงคราม และในปีเดียวกันทุกฝ่ายได้ร่วมลงนามข้อตกลงหยุดยิงลูซากา ( Lusaka Ceasefire Agreement ) โดยรัฐบาลนาย Kabila สามารถยึดพื้นที่ทางตะวันออกและทางใต้ของ DRC ได้สำเร็จ ส่วนกลุ่มกบฏยึดพื้นที่ทางเหนือและตะวันตก อย่างไรก็ตาม ในปีถัดมา การดำเนินการตามข้อตกลงหยุดยิงได้หยุดชะงักไป เนื่องจาก ความขัดแย้งระหว่างชนเผ่ากลับมาปะทุอีกครั้งทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ทำให้ทั้งยูกันดาและรวันดาต่างส่งกองกำลังเข้ามาใน DRC และในปี 2543 ( ค.ศ. 2000 ) ความพยายามในการเจรจาสันติภาพระหว่างทั้งสามฝ่ายเกิดขึ้นอีกครั้ง โดยยูกันดาและ DRC ได้ลงนามความตกลงรักษาสันติภาพลูอันดา ( Luanda Agreement ) ทำให้ยูกันดาถอนกำลังทหารออกจาก DRC และหลังจากนั้นกองกำลังรวันดาได้เริ่มถอนกำลังทหารเช่นกัน ในปี 2544 ( ค.ศ. 2001 ) นาย Kabila ถูกลอบสังหาร ทำให้นาย Joseph Kabila บุตรชายขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแทน รัฐบาลนาย Joseph Kabila สนับสนุนให้จัดการเจรจาสันติภาพ เพื่อยุติสงคราม ในปี 2546 ( ค.ศ. 2003 ) ทุกฝ่ายได้ลงนามในความตกลงสันติภาพพริทอเรีย ( Pretoria Accord ) ส่งผลให้ความขัดแย้งยุติลงชั่วระยะหนึ่ง ทำให้นาย Joseph Kabila สามารถจัดตั้งรัฐบาลผสม และรัฐสภาชั่วคราวได้สำเร็จ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นใน DRC นี้ ได้รับการขนานนามว่าเป็น Africa ’ mho World War หรือ Great War of Africa เนื่องจากมีประเทศเข้าร่วมสงคราม 8 ประเทศ กลุ่มก่อความไม่สงบ 25 กลุ่ม และมีผู้เสียชีวิตจากสงคราม ความอดอยาก และโรคระบาดในขณะนั้นมากกว่า 5 ล้านคน หลังจากนั้น ในเดือนมิถุนายน 2546 ( ค.ศ. 2003 ) ความขัดแย้งระหว่างชนเผ่าได้กลับมาปะทุอีกครั้งบริเวณฝั่งตะวันออกของ DRC กองกำลังสหประชาชาติได้ส่งเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพเข้าไปควบคุมสถานการณ์ และในเดือนถัดมากลุ่มกบฏได้ร่วมกับรัฐบาลจัดตั้งคณะรัฐบาลชุดใหม่ และมีการจัดการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการขึ้นในปลายปี 2549 ( ค.ศ. 2006 ) ซึ่งเป็นการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการครั้งแรกในรอบ 40 ปี ตั้งแต่ได้รับเอกราช ซึ่งนาย Joseph Kabila ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี ในปลายปี 2549 ( ค.ศ. 2006 ) ความไม่สงบได้ปะทุขึ้นอีกครั้งทางตอนเหนือของเมืองคิวู ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของ DRC และติดกับพรมแดนรวันดา โดยนาย Laurent Nkumda ชาวคองโกเชื้อสาย Hutu อดีตนายทหารในรัฐบาลได้รวบรวมกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบชาวคองโกเชื้อสาย Tutsi และกลุ่ม Forces Democratiques de Liberation du Rwanda ( FDLR ) ซึ่งเป็นชนเผ่า Hutu ที่ได้รับการสนับสนุนจากรวันดา ได้บุกยึดบริเวณดังกล่าวจากรัฐบาล ส่งผลให้มีผู้หนีภัยจากการสู้รบมากกว่าหนึ่งหมื่นคน นอกจากนี้ สหรัฐฯ ตกลงให้ความช่วยเหลือทางกำลังทหารแก่รัฐบาล DRC เพื่อต่อสู้กับนาย Nkumda และกลุ่ม Forces Democratiques de Liberation du Rwanda ( FDLR ) ได้เข้าร่วมการสู้รบครั้งนี้ด้วย ต่อมาในปี 2550 ( ค.ศ. 2007 ) รวันดาและ DRC ได้ร่วมเจรจากันที่กรุงไนโรบี และในเดือนมกราคม 2551 ( ค.ศ. 2008 ) คู่กรณีทุกฝ่ายได้เข้าร่วมการประชุมสันติภาพเพื่อเจรจาร่วมกัน โดยที่ประชุมตกลงให้มีการหยุดยิง แต่ในเดือนสิงหาคมและกันยายนปีเดียวกันความขัดแย้งกลับปะทุขึ้นอีกครั้งทางตอนเหนือของเมืองคิวู การสู้รบกับครั้งนี้ส่งผลให้มีผู้หนีภัยจากการสู้รบมากกว่าหนึ่งล้านคน และยังคงมีเหตุการณ์รุนแรงในบริเวณภาคตะวันออกของประเทศจนถึงปัจจุบัน สืบเนื่องจากความขัดแย้งข้างต้น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีมติคว่ำบาตร DRC อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2547 ( ค.ศ. 2004 ) จนถึงปัจจุบัน โดยมีมาตรการห้ามขายอาวุธ ห้ามเดินทางผ่านหรือข้าไปในดินแดน และการอายัดทรัพย์สินของบุคคลและองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความขัดแย้ง และการตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้าประเภทแร่ธาตุที่นำเข้าจาก DRC และในปี 2553 ( ค.ศ. 2010 ) คณะมนตรีความมั่นคงฯ ได้จัดตั้ง United Nations Organization Stabilization Mission in the democratic Republic of Congo ( MONUSCO ) เพื่อดำเนินงานต่อจาก MONUC รัฐบาล DRC ยังต้องหามาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบทางด้านตะวันออกของประเทศซึ่งเป็นพื้นที่ที่กลุ่มก่อความไม่สงบหลาย
Read more: France national football team
ที่ตั้ง ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของทวีปแอฟริกา มีอาณาเขต
- ทิศตะวันตก ติดกับ สาธารณรัฐคองโก (Brazzaville)
- ทิศเหนือ ติดกับ แอฟริกากลางและซูดาน
- ทิศตะวันออก ติดกับ ยูกันดา รวันดา บุรุนดี และแทนซาเนีย
- ทิศใต้ ติดกับ แซมเบียและอังโกลา
- มีเขตแดนประชิดกับ มหาสมุทรแอตแลนติกระหว่างสาธารณรัฐคองโก และอังโกลาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น’
พื้นที่ 2,345,410 ตารางกิโลเมตร ( ประกอบด้วยพื้นที่บนพื้นดิน 267,600 ตารางกิโลเมตร พื้นที่บนผืนน้ำ 77,810 ตารางกิโลเมตร ) ซึ่งกว้างใหญ่เป็นอันดับที่สามของทวีปแอฟริการองลงมาจากซูดานและแอลจีเรีย ร้อยละ 50 ของพื้นที่เป็นป่าไม้เขตร้อน
ตั้งอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร มีอากาศร้อนและฝนตกชุก ที่ราบสูงตอนใต้มีอากาศเย็นและแห้งแล้ง ส่วนที่ราบสูงทางภาคตะวันออกอากาศจะเย็นและเปียกชื้น สำหรับบริเวณด้านเหนือของเส้นศูนย์สูตร ฤดูฝนจะเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายน – ตุลาคม และฤดูแล้งเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ ส่วนบริเวณตอนใต้ของเส้นศูนย์สูตร ฤดูฝนจะเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – มีนาคมและฤดูแล้งระหว่างเดือนเมษายน – ตุลาคม ด้านตะวันตกซึ่งเป็นบริเวณที่ราบทั่วไป มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 26 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิแถบที่ราบสูงและภูเขาเฉลี่ยประมาณ 18 องศาเซลเซียส ภูมิอากาศของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเหมาะสมกับการเกษตรกรรมและป่าไม้
- แม่น้ำ Zaire, Kasai และ Kwango
- ระบบการปกครอง
- สาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
- ประธานาธิบดี
- นายโจเซฟ คาบีลา คาบันเก (Mr. Joseph Kabila Kabange) เข้ารับตำแหน่ง 17 มกราคม 2544
- นายกรัฐมนตรี
- นายซามี บาดิบันกา (Samy Badibanga) เข้ารับตำแหน่ง 17 พฤศจิกายน 2559[3]
- รัฐมนตรีต่างประเทศ
- นายเรย์มอนด์ ชิบันดา อึนตุงกาโมลองโก (Raymond Tshibanda N’Tungamolongo) เข้ารับตำแหน่ง 2555
จังหวัดต่าง ๆ ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 25 จังหวัด (provinces) และ 1 นคร (city) ได้แก่
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 16.27 พันล้าน ( 2555 ) รายได้ประชาชาติต่อหัว 347 ( 2555 ) การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 7.6 ( 2555 ) อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 8.7 ( 2555 ) เงินทุนสำรอง 0.79 ล้าน ( 2555 ) อุตสาหกรรมที่สำคัญ การทำเหมืองแร่ ถลุงแร่ สินค้าอุปโภคบริโภค วัสดุสิ่งทอ อาหารและเครื่องดื่ม ซีเมนต์ การซ่อมเรือ สินค้าส่งออกที่สำคัญ เพชร ทองแดง โคบอลต์ ผลิตภัณฑ์จากไม้ น้ำมันดิบ กาแฟ สินค้านำเข้าที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องจักร อุปกรณ์ขนส่ง เชื้อเพลิง ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ส่งออกไปจีน สหรัฐอเมริกา เบลเยียม แซมเบีย ฟินแลนด์ นำเข้าจากแอฟริกาใต้ เบลเยียม จีน แซมเบีย ฝรั่งเศส ซิมบับเว เคนยา เนเธอร์แลนด์ อิตาลี ความขัดแย้งภายในประเทศส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของ DRC เป็นอย่างมาก เนื่องจากทำให้ระบบเศรษฐกิจของคองโกอยู่ภาวะถดถอยเนื่องจากรายได้เข้าประเทศลดลง และมีภาระจากหนี้ต่างชาติเพิ่มขึ้น รัฐบาลนาย Joseph Kabila พยายามแก้ไขปัญหาและเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ โดยวางนโยบายฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่าง DRC กับองค์กรทางการเงินระหว่างประเทศ อาทิ ธนาคารโลก World Bank และประเทศผู้บริจาคต่าง ๆ เพราะที่ผ่านมา รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่องค์กร/ผู้บริจาคกำหนดไว้ และยังมีปัญหาคอร์รัปชั่น ที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลได้วางแผนปฏิรูประบบเศรษฐกิจ โดยเปิดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในธุรกิจการทำเหมืองเพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่า DRC เป็นประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะแร่ธาตุต่าง ๆ อาทิแร่โคบอลต์ ทองแดง เพชร แทนทาลัม ( ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ ) ปิโตรเลียม พลอย ทอง เงิน แมงกานีส ดีบุก ยูเรเนียม ถ่านหิน แต่อุตสาหกรรมเหมืองแร่ของ DRC ยังมีขนาดเล็ก โดยคิดเป็นร้อยละ 14 ของรายได้ทั้งหมดของประเทศ โดยรายได้ส่วนใหญ่ของประเทศเกิดจากภาคเกษตรกรรม และการค้าไม้ซุง โดยคิดเป็นร้อยละ 40 ของประเทศ ผลกระทบของความขัดแย้งยังส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ชองชาว DRC เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ของประเทศประสับปัญหาความยากจน และต้องเผชิญหน้ากับภัยจากโรคระบาด อาทิ โรคเอดส์ และมาลาเรีย การขาดแคลนอาหารและสารอาหารที่จำเป็น นอกจากนี้สงครามยังทำลายระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานต่าง ๆ ของประเทศ อาทิ เส้นทางคมนาคม ทำให้ประชาชนต้องใช้ชีวิตด้วยความยากลำบาก ซึ่งรัฐบาลต้องพึ่งพาเงินบริจาคจากองค์กรระหว่างประเทศและประเทศผู้บริจาคเป็นหลัก
- อุตสาหกรรมที่สำคัญ
- การทำเหมืองแร่ ถลุงแร่ สินค้าอุปโภคบริโภค วัสดุสิ่งทอ อาหารและเครื่องดื่ม ซีเมนต์ การซ่อมเรือ รองเท้า บุหรี่
- สินค้าส่งออกที่สำคัญ
- เพชร ทองแดง โคบอลต์ ผลิตภัณฑ์จากไม้ น้ำมันดิบ กาแฟ
- สินค้านำเข้าที่สำคัญ
- ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องจักร อุปกรณ์ขนส่ง เชื้อเพลิง
- ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
- ส่งออกไปจีน สหรัฐอเมริกา เบลเยียม แซมเบีย ฟินแลนด์
นำเข้าจากแอฟริกาใต้ เบลเยียม จีน แซมเบีย ฝรั่งเศส ซิมบับเว เคนยา เนเธอร์แลนด์ อิตาลี
72.57 ล้านคน ( 2554 ) ประกอบด้วยชนเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ กว่า 200 เผ่าพันธุ์ โดยเผ่าพันธุ์ส่วนใหญ่ คือ เผ่า Bantu
ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ ภาษาท้องถิ่น ได้แก่ Lingala, Kingwana, Kikongo และ Tshiluba
Read more: Real Sociedad
- รัฐบาล
- ข้อมูลทั่วไป
- การท่องเที่ยว
- News coverage of the conflict
- อื่นๆ