<I>แผนที่แสดงที่ตั้งของจิบูตี </I>” src=”https://mpics.mgronline.com/pics/Images/561000013044001.JPEG”/><br />(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)</p>
<p>Djibouti: the Casablanca of a new Cold War <br /><b>By Bertil Lintner </b><br />28/11/2018</p>
<p><b>ไม่มีแห่งหนไหนในโลกอีกแล้วที่มีฐานทัพทางทหารจำนวนมากซึ่งดำเนินการโดยพวกชาติที่เป็นปรปักษ์กัน ตั้งอยู่ประชิดใกล้เคียงกันเหมือนกับที่กำลังปรากฏอยู่ในจิบูตีเวลานี้  สำหรับประเทศในแอฟริกาตะวันออกแห่งนี้  ความลึกลับซับซ้อนกลายเป็นสิ่งที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไป  ส่วนการจารกรรมก็กลายเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง </b></p>
<p><b>จิบูตี </b> พวกประเทศเล็กๆ ที่มีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัดนั้นขึ้นชื่อลือชาในเรื่องการแปลงตัวเองให้กลายเป็นศูนย์กลางทางการเงิน ซึ่งพวกธนาคารและบริษัทที่ไว้วางใจไม่ได้ทั้งหลายค้นพบว่าสามารถใช้เป็นแหล่งหลบภัยจากการปราบปรามของพวกหน่วยงานกำกับตรวจสอบระหว่างประเทศ ขณะเดียวกันมันก็มีบทบาทพลิกผันแปรเปลี่ยนโชคลาภของชาติจิ๊บจ๊อยเหล่านี้ไปด้วย</p>
<p>แต่สำหรับ จิบูตี ประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดเป็นอันดับ 3 บนแผ่นดินใหญ่แอฟริกา  พวกเขาได้ค้นพบวิถีทางอีกวิถีหนึ่งในการก้าวขึ้นสู่ความมั่งคั่ง ได้แก่ การเป็นเจ้าบ้านต้อนรับต่างชาติให้เข้ามาจัดตั้งฐานทัพทางทหาร</p>
<p>ชาติเล็กๆ ที่เมื่อก่อนเคยรู้จักเรียกขานกันในชื่อว่า “โซมาลีแลนด์ของฝรั่งเศส” (French Somaliland) ได้ฉวยใช้ประโยชน์จากสถานที่ตั้งของตนซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ โดยอยู่ตรงปากทางเข้าทะเลแดง และพวกเส้นทางเดินเรือที่แล่นผ่านไปทะลุคลองสุเอซ  ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นทางการสัญจรแออัดหนาแน่นที่สุดของโลก  ประเทศนี้จึงสามารถนำเอาที่ดินซึ่งอันที่จริงแล้วแห้งแล้งเต็มไปด้วยก้อนหินของตน มาปล่อยเช่าแก่พวกมหาอำนาจต่างประเทศ</p>
<p>จิบูตียังมีความได้เปรียบในเรื่องที่ภายในประเทศค่อนข้างสงบเรียบร้อยโดยเปรียบเทียบ ขณะที่ทั่วทั้งภูมิภาคเต็มไปด้วยความไร้เสถียรภาพ  ฝรั่งเศส มหาอำนาจเจ้าอาณานิคมเก่าของจิบูตียังคงรักษาฐานทัพในประเทศนี้เอาไว้ เช่นเดียวกับสหรัฐฯ, อิตาลี, และญี่ปุ่น  ก็มีฐานทัพชาติละแห่งเหมือนกัน สำหรับเยอรมนีและสเปนนั้นมีกองทหารตั้งประจำการอยู่ภายในฐานทัพเดียวกันกับของฝรั่งเศส</p>
<p>ครั้นแล้วก็มีจีนย่างก้าวเข้ามา</p>
<p>ตอนที่ปักกิ่งเริ่มเปิดฐานทัพทหารในต่างแดนเป็นแห่งแรกของตนขึ้นที่นี่ในวันที่ 1 สิงหาคม 2017  จิบูตีก็กลายสภาพเป็นเมืองคาซาบลังกา (Casablanca) แห่งยุคสมัยใหม่อย่างสมบูรณ์แบบ  ที่ซึ่งทุกๆ ฝ่ายดูเหมือนกำลังสอดแนมสืบความลับของฝ่ายอื่นๆ  กรุงจิบูตีในปัจจุบันอาจจะเป็นเมืองท่าที่ผู้คนพูดจากันด้วยภาษาฝรั่งเศสและบริเวณตอนในถัดเข้ามาเป็นพื้นที่เต็มไปด้วยก้อนหินแบบเดียวกับเมืองคาซาบลังกาของโมร็อกโก  ทว่าไม่มีร้าน “ริคส์ คาเฟ” (Rick’s Café) ตั้งอยู่ที่นี่ แบบเดียวกับคาซาบังกาในภาพยนตร์ชื่อก้องปี 1942 ซึ่งนำแสดงโดย ฮัมฟรีย์ โบการ์ด และ อินกริด เบิร์กแมน</p>
<p>แต่ ณ โรงแรมหรูหราทันสมัยกว่ากันนักซึ่งตั้งตระหง่านเหนือชายหาดในบริเวณตอนเหนือของกรุงจิบูตี   เราก็สามารถพบเห็นพวกนายทหารและทหารในเครื่องแบบของชาติตะวันตก อยู่เคียงข้างกับเหล่านักธุรกิจและช่างเทคนิคชาวจีน เช่นเดียวกับบรรดาผู้มีเกียรติมียศศักดิ์นานาจากบรรดาประเทศแอฟริกาและชาติอาหรับ</p>
<p>ฐานทัพของจีน ซึ่งดูแลรักษาโดยกองทัพเรือแห่งกองทัพปลดแอกประชาชนจีนนั้น ตั้งอยู่ที่โดราเลห์ (Doraleh) ทางด้านตะวันตกของเมืองหลวงแห่งนี้  ขณะที่ฐานทัพของชาติอื่นๆ ทั้งหมดล้วนตั้งอยู่ใกล้ๆ กับท่าอากาศยานระหว่างประเทศของจิบูนี ห่างออกไปทางใต้ในระยะทางไม่ถึง 10 กิโลเมตร</p>
<p>ภูมิรัฐศาสตร์ถือเป็นธุรกิจที่ทำกำไรอย่างงดงามให้แก่จิบูตี  สหรัฐฯจ่ายเงินปีละ 63 ล้านดอลลาร์อเมริกันเป็นค่าเช่าฐานทัพของตน,   ขณะที่ฝรั่งเศสจ่าย 36 ล้านดอลลาร์,  จีนจ่าย 20 ล้านดอลลาร์, และอิตาลีจ่าย 2.6 ล้านดอลลาร์  สำหรับจำนวนที่ญี่ปุ่นจ่ายนั้นไม่ได้มีการเปิดเผยต่อสาธารณชน</p>
<p>มีทหารและคนงานชาวฟิลิปปินส์ประมาณ 4,000 คนอยู่ที่ฐานทัพของอเมริกัน  ส่วนในค่ายของญี่ปุ่นมีทหารราว 180 คน และมีทหารราว 1,450 คนอยู่ในฐานทัพ 2 แห่งของฝรั่งเศส โดยแห่งที่อยู่ใกล้กับท่าอากาศยานและสิ่งปลูกสร้างของทหารเรือแห่งหนึ่งบริเวณชายฝั่งนั้น ก็เป็นที่พำนักประจำการของพวกทหารเยอรมันและทหารสเปนด้วย   ทางด้านอิตาลีมีกำลังราว 80 คนประจำอยู่ในฐานทัพซึ่งตั้งอยู่ใกล้ๆ กับค่ายของสหรัฐฯ</p>
<p>ฐานทัพโดราเลห์ ของจีน ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับท่าเรือแห่งใหม่ และสถานีรถไฟปลายทางของทางรถไฟความยาว 759 กิโลเมตรซึ่งจีนจัดสร้างขึ้นเพื่อต่อเชื่อมชายฝั่งของจิบูตีเข้ากับเมืองหลวงแอดดิสอาบาบาของเอธิโอเปีย  ทางรถไฟที่ใช้รางขนาดมาตรฐานสายนี้เปิดเพื่อการสัญจรเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 1 มกราคมปีนี้ แทนที่รางรถไฟขนาด 1 เมตรซึ่งสร้างขึ้นในยุคเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสและไม่ถูกใช้งานอีกต่อไป</p>
<p>เหล่าผู้โดยสารสามารถใช้สถานีรถไฟแห่งซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับท่าอากาศยานเดินทางไปยังโดราเลห์ได้  ขณะที่มีขบวนรถสินค้าลำเลียงเอาตู้คอนเทนเนอร์เดินทางไปและกลับจากท่าเรือใหม่แห่งนี้ไม่ขาดสาย   ตรงใกล้ๆ กันนั้นยังเป็นพื้นที่เขตการค้าเสรีซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในแอฟริกา โดยเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า เขตการค้าเสรีนานาชาติจิบูตี (Djibouti International Free Trade Zone หรือ DIFTZ) ซึ่งเราสามารถมองเห็นรถบรรทุกเป็นร้อยๆ คันจอดรอกันอยู่เพื่อขนถ่ายสินค้าที่มีจุดหมายปลายทางอยู่ที่เอธิโอเปียและประเทศอื่นๆ อันเลยพ้นไปจากจิบูตี</p>
<p>เขตการค้าเสรี DIFTZ มูลค่า 3,500 ล้านดอลลาร์อเมริกันซึ่งจีนเป็นผู้ให้เงินทุนสนับสนุนแห่งนี้ เปิดขึ้นก่อนหน้านี้ในปีนี้  ครอบคลุมพื้นที่ราว 4,800 เฮกตาร์ (ประมาณ 30,000 ไร่) ตามประกาศของทางการระบุว่า ที่นี่จะโฟกัสที่เรื่องโลจิสติกส์, การแปรรูปเพื่อการส่งออก, บริการสนับสนุนทางการเงินต่างๆ, อุตสาหกรรมการผลิต, และการค้าตัวสินค้าแบบปลอดภาษี</p>
<p>สาธารณรัฐเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ตรงบริเวณจงอยแอฟริกา (Horn of Africa) และมีความสงบสันติเป็นส่วนใหญ่แห่งนี้  กำลังกลายเป็นปากประตูทางเศรษฐกิจของจีนสู่ทวีปแอฟริกาไปอย่างรวดเร็ว  ทว่าฐานทัพนาวีของแดนมังกรซึ่งตั้งอยู่ในประเทศนี้ต่างหาก ซึ่งกำลังส่งคลื่นแห่งความกระวนกระวายไปตลอดทั่วประชาคมทางทหารของฝ่ายตะวันตกในจิบูตี</p>
<p>ไชน่าเดลี่ (China Daily) หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษของทางการจีน ซึ่งรายงานข่าวการเปิดฐานทัพแห่งนี้ในเดือนสิงหาคมปีที่แล้วเอาไว้  กล่าวย้ำในเวลานั้นว่า ค่ายที่โดราเลห์แห่งนี้มีความสามารถ “สนับสนุนผู้คนประมาณ 10,000 คน”  พร้อมกับคำเตือนว่า “ตัวเลขอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับจำนวนบุคลากรซึ่งประจำอยู่ที่นั่นนั้นไม่ได้มีการเปิดเผย”  หนังสือพิมพ์นี้บอกว่าเหตุผลอย่างเป็นทางการของการจัดตั้งค่ายแห่งนี้ขึ้นมา  ก็เพื่อ “สนับสนุนภารกิจของทหารจีนในการคุ้มกันและในการรักษาสันติภาพในแอฟริกาและเอเชียตะวันตก” </p>
<p>พวกมหาอำนาจตะวันตกซึ่งไปตั้งฐานทัพอยู่ที่นั่นเช่นเดียวกัน ปกติแล้วก็มักอ้างเหตุผลอย่างเดียวกันนี้แหละสำหรับการดำรงคงอยู่ในจิบูตีของพวกเขา  ตลอดจนยังมีการอ้างเรื่องการใช้ที่นี่เป็นฐานสำหรับการสู้รบปราบปรามพวกโจรสลัดซึ่งเคลื่อนไหวอย่างคึกคักเป็นข่าวโด่งดังบริเวณนอกชายฝั่งของประเทศโซมาเลีย</p>
<p>ทว่าไชน่าเดลี่อาจจะมีความตรงไปตรงมามากกว่าพวกโฆษกของฝ่ายตะวันตกอยู่บ้าง โดยที่ได้อ้างอิงคำพูดของ หลิว หงอู่ (Liu Hongwu) ผู้เป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง (Zhejiang University) ทางภาคตะวันออกของจีน ซึ่งกล่าวว่า จิบูติ “ตั้งอยู่ตรงจุดบรรจบของยุโรป, เอเชีย, และแอฟริกา ดังนั้นในแง่หนึ่ง มันก็อยู่ตรงชุมทางของโลก”</p>
<p>นี่น่าจะเป็นเหตุผลที่ฟังขึ้นมากกว่าสำหรับคำถามที่ว่าทำไมจีนจึงมาอยู่ตรงนี้  กล่าวคือเพื่อปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและทางยุทธศาสตร์ของตนในภูมิภาคแถบนี้ –และด้วยเหตุนี้เอง การมาอยู่ตรงนี้ย่อมทำให้แดนมังกรอยู่ในฐานะที่ดีขึ้นกว่าเดิมสำหรับรับมือความขัดแย้งใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นมาระหว่างจีนกับโลกตะวันตก –แน่ละ ประเทศสำคัญสำคัญที่สุดในโลกตะวันตกก็ย่อมต้องเป็นสหรัฐฯ</p>
<p>สำหรับอเมริกานั้น จิบูตีไม่ได้เป็นฐานทัพแห่งเดียวที่พวกเขามีอยู่ในภูมิภาคแถบนี้  พวกเขายังมีค่ายทหารที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในกาตาร์, รวมทั้งยังมีฐานทัพอเนกประสงค์ซึ่งมีการรักษาความลับอย่างเข้มข้นที่ ดิเอโก การ์เซีย (Diego Garcia)  ดินแดนเกาะปะการังในมหาสมุทรอินเดียซึ่งอเมริกาเช่ามาจากสหราชอาณาจักร โดยที่เกาะแห่งนี้คือดินแดนแห่งเดียวในภูมิภาคนี้ที่สหราชอาณาจักรยังคงเก็บรักษาครอบครองเอาไว้ภายหลังถอนตัวออกจากด้านตะวันออกของคลองสุเอซในช่วงทศวรรษ 1960</p>
<p>พิจารณาจากแง่มุมนี้  ฐานทัพแห่งใหม่ของจีนในจิบูติ ย่อมสามารถถือได้ว่า เป็นการท้าทายอย่างจริงจังครั้งแรกต่อฐานะครอบงำทางทหารอย่างสูงสุดของสหรัฐฯเหนือภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย   โดยที่เวลานี้จีนกำลังเริ่มดำเนินการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเช่นนี้แหละ<br /><img alt=แผนที่แสดงที่ตึ้งของฐานทัพต่างชาติทั้งหลายในจิบูตี ” src=”https://mpics.mgronline.com/pics/Images/561000013044002.JPEG”/>
ในเดือนกรกฎาคม 2017 ไม่นานนักก่อนหน้าการเปิดฐานทัพที่จิบูตีอย่างเป็นทางการ เรือของกองทัพเรือแห่งกองทัพปลดแอกประชาชนจีน 2 ลำ คือ ซีเอ็นเอส จิ่งกังซาน (CNS Jinggangshan) ซึ่งเป็นเรือยกพลขึ้นบกสะเทินน้ำสะเทินบก (amphibian landing craft) และ ซีเอ็นเอส ตงไห่เต้า (CNS Donghaidao) เรือสนับสนุนกึ่งดำน้ำได้ (semi-submersible support ship) ได้ลำเลียงบุคลากรและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ มาส่งยังฐานทัพแห่งนี้ เรือซีเอ็นเอส จิ่งกังซาน นั้นบรรทุกนาวิกโยธิน, วิศวกรช่างเทคนิค, และยานยนต์ทหารมาที่นี่ ขณะที่เรือซีเอ็นเอส ตงไห่เต้า ขนอุปกรณ์ขนาดหนักบางอย่างซึ่งมิได้มีการระบุว่าเป็นอะไร

จากนั้นเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว กองทหารจีนซึ่งประจำอยู่ที่ฐานทัพแห่งนี้ได้ดำเนินการฝึกซ้อมด้วยกระสุนจริงเป็นครั้งแรกของพวกเขา การซ้อมรบคราวนี้ซึ่งมีทหารเข้าร่วมหลายสิบคน จัดขึ้นที่สนามฝึกตำรวจติดอาวุธแห่งชาติของจิบูตี (Djibouti’s national gendarmerie training range) และมีจุดมุ่งหมายที่จะทดสอบความพรักพร้อมในการสู้รบของพวกเขาเมื่อต้องเผชิญกับสภาพความร้อน, ความชื้น, ตลอดจนความเค็มของบรรยากาศ –ทั้งหมดเหล่านี้ล้วนเป็นสภาพความเป็นจริงที่ปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไปในจิบูตี ตลอดจนในพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของแอฟริกา

เพื่อที่จะรักษาภาวะของการเสแสร้างแกล้งทำเป็นว่าไม่ได้มีอะไรซึ่งไม่ชอบมาพากลกำลังดำเนินการกันอยู่ หน่วยเฉพาะกิจผสมเพื่อต่อต้านปราบปรามโจรสลัดของสหภาพยุโรปในจิบูตี กับกองทัพเรือแห่งกองทัพปลดแอกประชาชนจีนได้ร่วมจัดการฝึกซ้อมร่วมกันขึ้นครั้งหนึ่งเมื่อเดือนตุลาคม

ทว่าไม่มีอะไรปิดบังซ่อนเร้นข้อเท็จจริงที่ว่าพวกมหาอำนาจตะวันตกนั้นมีความขุ่นเคืองไม่พอใจการปรากฏตัวอย่างหนักแน่นมั่นคงใหม่ๆ หมาดๆ เช่นนี้ของจีน เมื่อเดือนมีนาคมของปีนี้ พลเอก(นาวิกโยธิน) โธมัส วาลเดาเซอร์ (Marine General Thomas Waldhauser) ผู้บัญชาการของกองบัญชาการทหารสหรัฐฯภาคแอฟริกา (Commander of US Africa Command) ได้ให้ปากคำในเวทีไต่สวนสาธารณะของคณะกรรมาธิการการทหารแห่งสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ (US House of Representatives Armed Services Committee) ว่า ถ้าหากจีนเข้าครอบครองท่าเรือที่โดราเลห์แล้ว “ผลต่อเนื่องที่ตามมาจะมีความสำคัญมาก”

นี่เป็นสิ่งที่กำลังบังเกิดขึ้นในเวลานี้ เมื่อรัฐบาลจิบูตีได้เข้าเทคโอเวอร์ท่าเรือแห่งนี้จากการบริหารของบริษัทดีพี เวิล์ด (DP World) แห่งดูไบ ในเดือนกุมพาพันธ์ที่ผ่านมา โดยที่ไม่ได้มีคำอธิบายอย่างเป็นทางการใดๆ และเวลานี้ดูเหมือนกำลังเจรจาเพื่อจัดทำข้อตกลงกับรัฐวิสาหกิจ ไชน่า เมอร์ชันต์ส กรุ๊ป (China Merchants Group) ของจีน ที่จะเข้ามาบริหารแทน

ดีพี เวิลด์ ได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านการตัดสินใจของรัฐบาลจิบูตี และในเดือนสิงหาคมศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศแห่งลอนดอน (London Court of International Arbitration) ได้ตัดสินให้บริษัทของดูไบแห่งนี้เป็นฝ่ายชนะในการค้าความสู้คดีกับจิบูตี กระนั้นก็ไม่ได้มีหลักประกันใดๆ เลยว่า กลุ่มผลประโยชน์ของจีนจะไม่สามารถเข้าควบคุมท่าเรือแห่งนี้เอาไว้ในเร็ววันนี้

ซีเอ็มพอร์ต (CMPort) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งของไชน่า เมอร์ชันต์ส กรุ๊ป ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการเขตการค้าเสรีของจิบูตีอยู่แล้วในปัจจุบัน ระบุในคำแถลงฉบับหนึ่งซึ่งออกมาเมื่อเดือนกรกฎาคมว่า “จิบูตี หนึ่งในประเทศกำลังพัฒนาตามแผนการริเริ่มแถบและเส้นทาง มีโครงสร้างพื้นฐานทำนองเดียวกับเซินเจิ้น (เมืองบนจีนแผ่นดินใหญ่ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับฮ่องกง) และ เสอโข่ว (Shekou) (ท่าเรือซึ่งตั้งอยู่บริเวณตอนเหนือสุดของเซินเจิ้น) เมื่อตอนที่กลายเป็นผู้บุกเบิกการเดินทางครั้งประวัติศาสตร์ของจีนในด้านการปฏิรูปและการเปิดประตูประเทศ”

ภาษาถ้อยคำที่พรั่งพรูออกมาเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจิบูตีกำลังกลายเป็นส่วนสำคัญยิ่งยวดส่วนหนึ่งในความมุ่งมาดปรารถนาของจีนที่จะสร้างเสริมความแข็งแกร่งให้แก่บทบาทในฐานะที่เป็นมหาอำนาจระดับโลกซึ่งกำลังก้าวผงาดขึ้นมาใหม่ของตน –โดยที่จวบจนถึงเวลานี้จิบูตีก็กำลังแสดงบทบาทเป็นลูกค้าที่ยินดีต้อนรับและเปิดประตูอ้าซ่า ทั้งนี้ เวลานี้ในกรุงจิบูตีมีแม้กระทั่งสถาบันขงจื๊อ (Confucious Center) จัดตั้งขึ้นมาใหม่ๆ โดยที่สถาบันนี้เป็นเครื่องมือซึ่งจีนใช้อยู่เพื่อการบ่มเพาะหล่อเลี้ยงความผูกพันใน “ระดับประชาชนต่อประชาชน”

พลเอก (นาวิกโยธิน) วาลเดาเซอร์ ของสหรัฐฯ พูดเอาไว้ในอีกตอนหนึ่งระหว่างไปให้ปากคำต่อสภาผู้แทนราษฎรในกรุงวอชิงตันว่า “มีเครื่องบ่งชี้บางอย่างซึ่งแสดงว่า (จีน) กำลังมองหาช่องทางที่จะจัดตั้งสถานที่อำนวยความสะดวกเพิ่มเติมขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออก (ของทวีปแอฟริกา) … ดังนั้น จิบูตีจึงกลายเป็นแห่งแรก –แล้วยังจะมีเพิ่มขึ้นต่อไปอีกหลังจากนี้”

จุดยุทธศาสตร์ตรงบริเวณจงอยแอฟริกา และพื้นที่ติ่งทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอาหรับ ทางอีกฟากฝั่งหนึ่งของทะเลแดงนั้น เป็นบริเวณที่พวกมหาอำนาจใหญ่ซึ่งกำลังแข่งขันชิงดีชิงเด่นกัน ต่างก็ปรารถนาใคร่จะได้ไว้ในครอบครองกันทั้งนั้นมานมนานแล้ว

ฝรั่งเศสได้เข้ายึดครองจิบูตีเอาไว้ในลักษณะกระทำเป็นขั้นๆ ภายหลังมีการเปิดใช้คลองสุเอซในปี 1869 ส่วนหนึ่งก็ด้วยเหตุผลในการทัดทานการปรากฏตัวของสหราชอาณาจักรที่เมืองเอเดน (Aden) ซึ่งตั้งบนอีกฝั่งของช่องแคบบับเอล-มานเดบ (Bab el-Mandeb Strait) บริเวณปากทางเข้าทะเลแดง

อาณานิคมแห่งนี้ได้กลายเป็นดินแดนโซมาลีแลนด์ของฝรั่งเศสในเวลาต่อมา และในปี 1967 กลายเป็นดินแดนอะฟาส์และอิสซาส์ของฝรั่งเศส (French Territory of the Afars and the Issas) ก่อนที่ในที่สุดจะได้รับเอกราชเมื่อปี 1977 –นับเป็นดินแดนภายใต้การปกครองเป็นอาณานิคมโดยตรงของชาติยุโรปแห่งสุดท้ายในแอฟริกา ที่ได้รับอิสรภาพ

เป็นระยะเวลาหลายสิบปีทีเดียว กองทหารต่างด้าวของฝรั่งเศส (French Foreign Legion) มีฐานทัพแห่งหนึ่งในจิบูตี โดยมีชื่อเป็นที่รู้จักกันในนาม “กองป์ เลอมองเนร์” (Camp Lemonnier) ค่ายแห่งนี้ถูกฝ่ายอเมริกันเทคโอเวอร์ไปภายหลังเหตุการณ์โจมตีในนิวยอร์กและวอชิงตันเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 และปัจจุบันกลายเป็นฐานทัพถาวรแห่งเดียวของสหรัฐฯในกาฬทวีป

ในตอนเริ่มแรกทีเดียว สหรัฐฯมุ่งหมายที่จะใช้ฐานทัพแห่งนี้เพื่อสู้รบปราบปรามกิจกรรมต่างๆ ของพวกผู้ก่อการร้ายในภูมิภาคแถบนี้ และการปฏิบัติการโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (โดรน) ของสหรัฐฯในตะวันออกกลาง ก็เป็นที่ทราบกันว่าดำเนินการจากค่ายแห่งนี้เอง

แต่ค่าย กองป์ เลอมองเนร์ ยังมีบทบาทอีกประการหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากฝ่ายจีนมาอยู่กันที่โดราเลห์ นั่นคือการเฝ้าจับตาดูความเคลื่อนไหวของแดนมังกร เมื่อเดือนพฤษภาคมของปีนี้ ได้เกิดการทะเลาะวิวาทกันเสียงดังสนั่นทีเดียว ภายหลังนักบิน 2 คนบนเครื่องบินขนส่งของสหรัฐฯลำหนึ่ง ได้รับบาดเจ็บที่ดวงตาโดยถูกระบุว่าถูกเล็งใส่ด้วยลำแสงเลเซอร์

ในเวลานั้น พวกเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารของสหรัฐฯได้กล่าวหาจีนอย่างเป็นทางการว่า มีการใช้อาวุธเลเซอร์เกรดที่ใช้ในทางการทหารมารบกวนนักบินอเมริกัน ถึงแม้ค่ายของฝ่ายสหรัฐฯและค่ายของฝ่ายจีนมีระยะห่างกันราว 10 กิโลเมตร แต่พวกเขาก็กำลังเฝ้าจับตามองอีกฝ่ายหนึ่งอย่างใกล้ชิด –และอย่างระแวงสงสัย

เหตุการณ์เล็งใส่ด้วยแสงเลเซอร์นี้ ไม่ได้เป็นกรณีความตึงเครียดเพียงประการเดียวในระหว่างผู้ปฏิบัติหน้าที่ของฐานทัพชาติต่างๆ ในจิบูตี อิตาลีนั้นได้ก่อตั้งค่ายของตนขึ้นที่ประเทศนี้ตั้งแต่ปี 2009 ด้วยข้ออ้างว่าเพื่อสู้รบปราบปรามโจรสลัด ด้านญี่ปุ่นก็กระทำอย่างเดียวกัน

แต่เมื่อมีเรือรบลำหนึ่งของจีนเข้าไปจอดที่จิบูตีเมื่อปีที่แล้ว เว็บไซต์ของ “โพรคิวอะเทอเรียล เดลี่” (Procuatorial Daily) ของจีน ปากเสียงอย่างเป็นทางการของสำนักงานอัยการประชาชนสูงสุด (Supreme People’s Procuratorate) อันเป็นหน่วยงานสูงที่สุดในเรื่องการฟ้องร้องดำเนินคดีและการสอบสวนของจีน รายงานข่าวว่าเรือของกองทัพเรือญี่ปุ่นลำหนึ่งได้ส่งทีมมนุษย์กบสวมชุดดำน้ำแบบสกูบา แอบเข้าไปตรวจสอบ ทางฝ่ายญี่ปุ่นเองไม่ได้ให้ความเห็นใดๆ ต่อข้อกล่าวหานี้

ยังเป็นที่เชื่อกันอย่างกว้างขวางด้วยว่า ชาติต่างๆ ซึ่งมีฐานทัพอยู่ในจิบูตี ต่างก็มีการปฏิบัติการดักฟังทางอิเล็กโทรนิกเพื่อสอดแนมสืบความลับจากกันและกัน รวมทั้งการสอดส่องกิจกรรมต่างๆ ของพวกบุคคลที่ควรแก่การสนใจทั้งในประเทศจิบูตีและในเมืองหลวงของประเทศ

จริงๆ แล้ว ปริศนาความลี้ลับซ้อนที่เมืองคาซาบลังกาในช่วงทศวรรษ 1940 น่าที่จะหมดสีสันไร้ความสลักสำคัญไปเลย เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งซึ่งกำลังเกิดขึ้นอยู่ในเวลานี้บนดินแดนผืนเล็กๆ แห่งนี้ของจงอยแอฟริกา ที่นี่กำลังกลายเป็นจุดสูงสุดของอันตรายซึ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อปริศนาลี้ลับของการปะทะกันระหว่างสายลับต่อสายลับ ยังมักรั่วไหลออกมาสู่แวดวงของสาธารณชน

ไม่มีแห่งหนไหนบนพื้นพิภพแห่งนี้อีกแล้วที่มีฐานทัพทางทหารจำนวนมากซึ่งดำเนินการโดยพวกชาติที่เป็นปรปักษ์กัน ตั้งอยู่ประชิดใกล้เคียงกันและกันถึงขนาดนี้ ความใกล้ชิดใกล้เคียงกันนี้หมายความว่าอะไรๆ ก็สามารถเกิดขึ้นได้และน่าที่บังเกิดขึ้นมาด้วย ขณะที่สหรัฐฯกับเหล่าพันธมิตรของตนเผชิญหน้ากับจีนที่กำลังก้าวผงาดขึ้นมา ภายใต้สภาวการณ์ซึ่งบางคนบางฝ่ายมองว่าคือระยะแรกของสงครามเย็นครั้งใหม่
( เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com ) 28/11/2018พวกประเทศเล็กๆ ที่มีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัดนั้นขึ้นชื่อลือชาในเรื่องการแปลงตัวเองให้กลายเป็นศูนย์กลางทางการเงิน ซึ่งพวกธนาคารและบริษัทที่ไว้วางใจไม่ได้ทั้งหลายค้นพบว่าสามารถใช้เป็นแหล่งหลบภัยจากการปราบปรามของพวกหน่วยงานกำกับตรวจสอบระหว่างประเทศ ขณะเดียวกันมันก็มีบทบาทพลิกผันแปรเปลี่ยนโชคลาภของชาติจิ๊บจ๊อยเหล่านี้ไปด้วยแต่สำหรับ จิบูตี ประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดเป็นอันดับ 3 บนแผ่นดินใหญ่แอฟริกา พวกเขาได้ค้นพบวิถีทางอีกวิถีหนึ่งในการก้าวขึ้นสู่ความมั่งคั่ง ได้แก่ การเป็นเจ้าบ้านต้อนรับต่างชาติให้เข้ามาจัดตั้งฐานทัพทางทหารชาติเล็กๆ ที่เมื่อก่อนเคยรู้จักเรียกขานกันในชื่อว่า “ โซมาลีแลนด์ของฝรั่งเศส ” ( french Somaliland ) ได้ฉวยใช้ประโยชน์จากสถานที่ตั้งของตนซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ โดยอยู่ตรงปากทางเข้าทะเลแดง และพวกเส้นทางเดินเรือที่แล่นผ่านไปทะลุคลองสุเอซ ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นทางการสัญจรแออัดหนาแน่นที่สุดของโลก ประเทศนี้จึงสามารถนำเอาที่ดินซึ่งอันที่จริงแล้วแห้งแล้งเต็มไปด้วยก้อนหินของตน มาปล่อยเช่าแก่พวกมหาอำนาจต่างประเทศจิบูตียังมีความได้เปรียบในเรื่องที่ภายในประเทศค่อนข้างสงบเรียบร้อยโดยเปรียบเทียบ ขณะที่ทั่วทั้งภูมิภาคเต็มไปด้วยความไร้เสถียรภาพ ฝรั่งเศส มหาอำนาจเจ้าอาณานิคมเก่าของจิบูตียังคงรักษาฐานทัพในประเทศนี้เอาไว้ เช่นเดียวกับสหรัฐฯ, อิตาลี, และญี่ปุ่น ก็มีฐานทัพชาติละแห่งเหมือนกัน สำหรับเยอรมนีและสเปนนั้นมีกองทหารตั้งประจำการอยู่ภายในฐานทัพเดียวกันกับของฝรั่งเศสครั้นแล้วก็มีจีนย่างก้าวเข้ามาตอนที่ปักกิ่งเริ่มเปิดฐานทัพทหารในต่างแดนเป็นแห่งแรกของตนขึ้นที่นี่ในวันที่ 1 สิงหาคม 2017 จิบูตีก็กลายสภาพเป็นเมืองคาซาบลังกา ( Casablanca ) แห่งยุคสมัยใหม่อย่างสมบูรณ์แบบ ที่ซึ่งทุกๆ ฝ่ายดูเหมือนกำลังสอดแนมสืบความลับของฝ่ายอื่นๆ กรุงจิบูตีในปัจจุบันอาจจะเป็นเมืองท่าที่ผู้คนพูดจากันด้วยภาษาฝรั่งเศสและบริเวณตอนในถัดเข้ามาเป็นพื้นที่เต็มไปด้วยก้อนหินแบบเดียวกับเมืองคาซาบลังกาของโมร็อกโก ทว่าไม่มีร้าน “ ริคส์ คาเฟ ” ( Rick ’ s Café ) ตั้งอยู่ที่นี่ แบบเดียวกับคาซาบังกาในภาพยนตร์ชื่อก้องปี 1942 ซึ่งนำแสดงโดย ฮัมฟรีย์ โบการ์ด และ อินกริด เบิร์กแมนแต่ ณ โรงแรมหรูหราทันสมัยกว่ากันนักซึ่งตั้งตระหง่านเหนือชายหาดในบริเวณตอนเหนือของกรุงจิบูตี เราก็สามารถพบเห็นพวกนายทหารและทหารในเครื่องแบบของชาติตะวันตก อยู่เคียงข้างกับเหล่านักธุรกิจและช่างเทคนิคชาวจีน เช่นเดียวกับบรรดาผู้มีเกียรติมียศศักดิ์นานาจากบรรดาประเทศแอฟริกาและชาติอาหรับฐานทัพของจีน ซึ่งดูแลรักษาโดยกองทัพเรือแห่งกองทัพปลดแอกประชาชนจีนนั้น ตั้งอยู่ที่โดราเลห์ ( Doraleh ) ทางด้านตะวันตกของเมืองหลวงแห่งนี้ ขณะที่ฐานทัพของชาติอื่นๆ ทั้งหมดล้วนตั้งอยู่ใกล้ๆ กับท่าอากาศยานระหว่างประเทศของจิบูนี ห่างออกไปทางใต้ในระยะทางไม่ถึง 10 กิโลเมตรภูมิรัฐศาสตร์ถือเป็นธุรกิจที่ทำกำไรอย่างงดงามให้แก่จิบูตี สหรัฐฯจ่ายเงินปีละ 63 ล้านดอลลาร์อเมริกันเป็นค่าเช่าฐานทัพของตน, ขณะที่ฝรั่งเศสจ่าย 36 ล้านดอลลาร์, จีนจ่าย 20 ล้านดอลลาร์, และอิตาลีจ่าย 2.6 ล้านดอลลาร์ สำหรับจำนวนที่ญี่ปุ่นจ่ายนั้นไม่ได้มีการเปิดเผยต่อสาธารณชนมีทหารและคนงานชาวฟิลิปปินส์ประมาณ 4,000 คนอยู่ที่ฐานทัพของอเมริกัน ส่วนในค่ายของญี่ปุ่นมีทหารราว 180 คน และมีทหารราว 1,450 คนอยู่ในฐานทัพ 2 แห่งของฝรั่งเศส โดยแห่งที่อยู่ใกล้กับท่าอากาศยานและสิ่งปลูกสร้างของทหารเรือแห่งหนึ่งบริเวณชายฝั่งนั้น ก็เป็นที่พำนักประจำการของพวกทหารเยอรมันและทหารสเปนด้วย ทางด้านอิตาลีมีกำลังราว 80 คนประจำอยู่ในฐานทัพซึ่งตั้งอยู่ใกล้ๆ กับค่ายของสหรัฐฯฐานทัพโดราเลห์ ของจีน ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับท่าเรือแห่งใหม่ และสถานีรถไฟปลายทางของทางรถไฟความยาว 759 กิโลเมตรซึ่งจีนจัดสร้างขึ้นเพื่อต่อเชื่อมชายฝั่งของจิบูตีเข้ากับเมืองหลวงแอดดิสอาบาบาของเอธิโอเปีย ทางรถไฟที่ใช้รางขนาดมาตรฐานสายนี้เปิดเพื่อการสัญจรเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 1 มกราคมปีนี้ แทนที่รางรถไฟขนาด 1 เมตรซึ่งสร้างขึ้นในยุคเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสและไม่ถูกใช้งานอีกต่อไปเหล่าผู้โดยสารสามารถใช้สถานีรถไฟแห่งซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับท่าอากาศยานเดินทางไปยังโดราเลห์ได้ ขณะที่มีขบวนรถสินค้าลำเลียงเอาตู้คอนเทนเนอร์เดินทางไปและกลับจากท่าเรือใหม่แห่งนี้ไม่ขาดสาย ตรงใกล้ๆ กันนั้นยังเป็นพื้นที่เขตการค้าเสรีซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในแอฟริกา โดยเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า เขตการค้าเสรีนานาชาติจิบูตี ( Djibouti International Free Trade Zone หรือ DIFTZ ) ซึ่งเราสามารถมองเห็นรถบรรทุกเป็นร้อยๆ คันจอดรอกันอยู่เพื่อขนถ่ายสินค้าที่มีจุดหมายปลายทางอยู่ที่เอธิโอเปียและประเทศอื่นๆ อันเลยพ้นไปจากจิบูตีเขตการค้าเสรี DIFTZ มูลค่า 3,500 ล้านดอลลาร์อเมริกันซึ่งจีนเป็นผู้ให้เงินทุนสนับสนุนแห่งนี้ เปิดขึ้นก่อนหน้านี้ในปีนี้ ครอบคลุมพื้นที่ราว 4,800 เฮกตาร์ ( ประมาณ 30,000 ไร่ ) ตามประกาศของทางการระบุว่า ที่นี่จะโฟกัสที่เรื่องโลจิสติกส์, การแปรรูปเพื่อการส่งออก, บริการสนับสนุนทางการเงินต่างๆ, อุตสาหกรรมการผลิต, และการค้าตัวสินค้าแบบปลอดภาษีสาธารณรัฐเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ตรงบริเวณจงอยแอฟริกา ( Horn of Africa ) และมีความสงบสันติเป็นส่วนใหญ่แห่งนี้ กำลังกลายเป็นปากประตูทางเศรษฐกิจของจีนสู่ทวีปแอฟริกาไปอย่างรวดเร็ว ทว่าฐานทัพนาวีของแดนมังกรซึ่งตั้งอยู่ในประเทศนี้ต่างหาก ซึ่งกำลังส่งคลื่นแห่งความกระวนกระวายไปตลอดทั่วประชาคมทางทหารของฝ่ายตะวันตกในจิบูตีไชน่าเดลี่ ( China Daily ) หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษของทางการจีน ซึ่งรายงานข่าวการเปิดฐานทัพแห่งนี้ในเดือนสิงหาคมปีที่แล้วเอาไว้ กล่าวย้ำในเวลานั้นว่า ค่ายที่โดราเลห์แห่งนี้มีความสามารถ “ สนับสนุนผู้คนประมาณ 10,000 คน ” พร้อมกับคำเตือนว่า “ ตัวเลขอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับจำนวนบุคลากรซึ่งประจำอยู่ที่นั่นนั้นไม่ได้มีการเปิดเผย ” หนังสือพิมพ์นี้บอกว่าเหตุผลอย่างเป็นทางการของการจัดตั้งค่ายแห่งนี้ขึ้นมา ก็เพื่อ “ สนับสนุนภารกิจของทหารจีนในการคุ้มกันและในการรักษาสันติภาพในแอฟริกาและเอเชียตะวันตก ” พวกมหาอำนาจตะวันตกซึ่งไปตั้งฐานทัพอยู่ที่นั่นเช่นเดียวกัน ปกติแล้วก็มักอ้างเหตุผลอย่างเดียวกันนี้แหละสำหรับการดำรงคงอยู่ในจิบูตีของพวกเขา ตลอดจนยังมีการอ้างเรื่องการใช้ที่นี่เป็นฐานสำหรับการสู้รบปราบปรามพวกโจรสลัดซึ่งเคลื่อนไหวอย่างคึกคักเป็นข่าวโด่งดังบริเวณนอกชายฝั่งของประเทศโซมาเลียทว่าไชน่าเดลี่อาจจะมีความตรงไปตรงมามากกว่าพวกโฆษกของฝ่ายตะวันตกอยู่บ้าง โดยที่ได้อ้างอิงคำพูดของ หลิว หงอู่ ( Liu Hongwu ) ผู้เป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง ( Zhejiang University ) ทางภาคตะวันออกของจีน ซึ่งกล่าวว่า จิบูติ “ ตั้งอยู่ตรงจุดบรรจบของยุโรป, เอเชีย, และแอฟริกา ดังนั้นในแง่หนึ่ง มันก็อยู่ตรงชุมทางของโลก ” นี่น่าจะเป็นเหตุผลที่ฟังขึ้นมากกว่าสำหรับคำถามที่ว่าทำไมจีนจึงมาอยู่ตรงนี้ กล่าวคือเพื่อปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและทางยุทธศาสตร์ของตนในภูมิภาคแถบนี้ –และด้วยเหตุนี้เอง การมาอยู่ตรงนี้ย่อมทำให้แดนมังกรอยู่ในฐานะที่ดีขึ้นกว่าเดิมสำหรับรับมือความขัดแย้งใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นมาระหว่างจีนกับโลกตะวันตก — แน่ละ ประเทศสำคัญสำคัญที่สุดในโลกตะวันตกก็ย่อมต้องเป็นสหรัฐฯสำหรับอเมริกานั้น จิบูตีไม่ได้เป็นฐานทัพแห่งเดียวที่พวกเขามีอยู่ในภูมิภาคแถบนี้ พวกเขายังมีค่ายทหารที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในกาตาร์, รวมทั้งยังมีฐานทัพอเนกประสงค์ซึ่งมีการรักษาความลับอย่างเข้มข้นที่ ดิเอโก การ์เซีย ( Diego Garcia ) ดินแดนเกาะปะการังในมหาสมุทรอินเดียซึ่งอเมริกาเช่ามาจากสหราชอาณาจักร โดยที่เกาะแห่งนี้คือดินแดนแห่งเดียวในภูมิภาคนี้ที่สหราชอาณาจักรยังคงเก็บรักษาครอบครองเอาไว้ภายหลังถอนตัวออกจากด้านตะวันออกของคลองสุเอซในช่วงทศวรรษ 1960พิจารณาจากแง่มุมนี้ ฐานทัพแห่งใหม่ของจีนในจิบูติ ย่อมสามารถถือได้ว่า เป็นการท้าทายอย่างจริงจังครั้งแรกต่อฐานะครอบงำทางทหารอย่างสูงสุดของสหรัฐฯเหนือภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย โดยที่เวลานี้จีนกำลังเริ่มดำเนินการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเช่นนี้แหละในเดือนกรกฎาคม 2017 ไม่นานนักก่อนหน้าการเปิดฐานทัพที่จิบูตีอย่างเป็นทางการ เรือของกองทัพเรือแห่งกองทัพปลดแอกประชาชนจีน 2 ลำ คือ ซีเอ็นเอส จิ่งกังซาน ( CNS Jinggangshan ) ซึ่งเป็นเรือยกพลขึ้นบกสะเทินน้ำสะเทินบก ( amphibian landing craft ) และ ซีเอ็นเอส ตงไห่เต้า ( CNS Donghaidao ) เรือสนับสนุนกึ่งดำน้ำได้ ( semi-submersible support embark ) ได้ลำเลียงบุคลากรและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ มาส่งยังฐานทัพแห่งนี้ เรือซีเอ็นเอส จิ่งกังซาน นั้นบรรทุกนาวิกโยธิน, วิศวกรช่างเทคนิค, และยานยนต์ทหารมาที่นี่ ขณะที่เรือซีเอ็นเอส ตงไห่เต้า ขนอุปกรณ์ขนาดหนักบางอย่างซึ่งมิได้มีการระบุว่าเป็นอะไรจากนั้นเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว กองทหารจีนซึ่งประจำอยู่ที่ฐานทัพแห่งนี้ได้ดำเนินการฝึกซ้อมด้วยกระสุนจริงเป็นครั้งแรกของพวกเขา การซ้อมรบคราวนี้ซึ่งมีทหารเข้าร่วมหลายสิบคน จัดขึ้นที่สนามฝึกตำรวจติดอาวุธแห่งชาติของจิบูตี ( Djibouti ’ s national gendarmerie train roll ) และมีจุดมุ่งหมายที่จะทดสอบความพรักพร้อมในการสู้รบของพวกเขาเมื่อต้องเผชิญกับสภาพความร้อน, ความชื้น, ตลอดจนความเค็มของบรรยากาศ –ทั้งหมดเหล่านี้ล้วนเป็นสภาพความเป็นจริงที่ปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไปในจิบูตี ตลอดจนในพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของแอฟริกาเพื่อที่จะรักษาภาวะของการเสแสร้างแกล้งทำเป็นว่าไม่ได้มีอะไรซึ่งไม่ชอบมาพากลกำลังดำเนินการกันอยู่ หน่วยเฉพาะกิจผสมเพื่อต่อต้านปราบปรามโจรสลัดของสหภาพยุโรปในจิบูตี กับกองทัพเรือแห่งกองทัพปลดแอกประชาชนจีนได้ร่วมจัดการฝึกซ้อมร่วมกันขึ้นครั้งหนึ่งเมื่อเดือนตุลาคมทว่าไม่มีอะไรปิดบังซ่อนเร้นข้อเท็จจริงที่ว่าพวกมหาอำนาจตะวันตกนั้นมีความขุ่นเคืองไม่พอใจการปรากฏตัวอย่างหนักแน่นมั่นคงใหม่ๆ หมาดๆ เช่นนี้ของจีน เมื่อเดือนมีนาคมของปีนี้ พลเอก ( นาวิกโยธิน ) โธมัส วาลเดาเซอร์ ( Marine General Thomas Waldhauser ) ผู้บัญชาการของกองบัญชาการทหารสหรัฐฯภาคแอฟริกา ( Commander of US Africa Command ) ได้ให้ปากคำในเวทีไต่สวนสาธารณะของคณะกรรมาธิการการทหารแห่งสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ( US House of Representatives Armed Services Committee ) ว่า ถ้าหากจีนเข้าครอบครองท่าเรือที่โดราเลห์แล้ว “ ผลต่อเนื่องที่ตามมาจะมีความสำคัญมาก ” นี่เป็นสิ่งที่กำลังบังเกิดขึ้นในเวลานี้ เมื่อรัฐบาลจิบูตีได้เข้าเทคโอเวอร์ท่าเรือแห่งนี้จากการบริหารของบริษัทดีพี เวิล์ด ( DP World ) แห่งดูไบ ในเดือนกุมพาพันธ์ที่ผ่านมา โดยที่ไม่ได้มีคำอธิบายอย่างเป็นทางการใดๆ และเวลานี้ดูเหมือนกำลังเจรจาเพื่อจัดทำข้อตกลงกับรัฐวิสาหกิจ ไชน่า เมอร์ชันต์ส กรุ๊ป ( China Merchants Group ) ของจีน ที่จะเข้ามาบริหารแทนดีพี เวิลด์ ได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านการตัดสินใจของรัฐบาลจิบูตี และในเดือนสิงหาคมศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศแห่งลอนดอน ( London Court of International Arbitration ) ได้ตัดสินให้บริษัทของดูไบแห่งนี้เป็นฝ่ายชนะในการค้าความสู้คดีกับจิบูตี กระนั้นก็ไม่ได้มีหลักประกันใดๆ เลยว่า กลุ่มผลประโยชน์ของจีนจะไม่สามารถเข้าควบคุมท่าเรือแห่งนี้เอาไว้ในเร็ววันนี้ซีเอ็มพอร์ต ( CMPort ) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งของไชน่า เมอร์ชันต์ส กรุ๊ป ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการเขตการค้าเสรีของจิบูตีอยู่แล้วในปัจจุบัน ระบุในคำแถลงฉบับหนึ่งซึ่งออกมาเมื่อเดือนกรกฎาคมว่า “ จิบูตี หนึ่งในประเทศกำลังพัฒนาตามแผนการริเริ่มแถบและเส้นทาง มีโครงสร้างพื้นฐานทำนองเดียวกับเซินเจิ้น ( เมืองบนจีนแผ่นดินใหญ่ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับฮ่องกง ) และ เสอโข่ว ( Shekou ) ( ท่าเรือซึ่งตั้งอยู่บริเวณตอนเหนือสุดของเซินเจิ้น ) เมื่อตอนที่กลายเป็นผู้บุกเบิกการเดินทางครั้งประวัติศาสตร์ของจีนในด้านการปฏิรูปและการเปิดประตูประเทศ ” ภาษาถ้อยคำที่พรั่งพรูออกมาเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจิบูตีกำลังกลายเป็นส่วนสำคัญยิ่งยวดส่วนหนึ่งในความมุ่งมาดปรารถนาของจีนที่จะสร้างเสริมความแข็งแกร่งให้แก่บทบาทในฐานะที่เป็นมหาอำนาจระดับโลกซึ่งกำลังก้าวผงาดขึ้นมาใหม่ของตน –โดยที่จวบจนถึงเวลานี้จิบูตีก็กำลังแสดงบทบาทเป็นลูกค้าที่ยินดีต้อนรับและเปิดประตูอ้าซ่า ทั้งนี้ เวลานี้ในกรุงจิบูตีมีแม้กระทั่งสถาบันขงจื๊อ ( Confucious Center ) จัดตั้งขึ้นมาใหม่ๆ โดยที่สถาบันนี้เป็นเครื่องมือซึ่งจีนใช้อยู่เพื่อการบ่มเพาะหล่อเลี้ยงความผูกพันใน “ ระดับประชาชนต่อประชาชน ” พลเอก ( นาวิกโยธิน ) วาลเดาเซอร์ ของสหรัฐฯ พูดเอาไว้ในอีกตอนหนึ่งระหว่างไปให้ปากคำต่อสภาผู้แทนราษฎรในกรุงวอชิงตันว่า “ มีเครื่องบ่งชี้บางอย่างซึ่งแสดงว่า ( จีน ) กำลังมองหาช่องทางที่จะจัดตั้งสถานที่อำนวยความสะดวกเพิ่มเติมขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออก ( ของทวีปแอฟริกา ) … ดังนั้น จิบูตีจึงกลายเป็นแห่งแรก –แล้วยังจะมีเพิ่มขึ้นต่อไปอีกหลังจากนี้ ” จุดยุทธศาสตร์ตรงบริเวณจงอยแอฟริกา และพื้นที่ติ่งทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอาหรับ ทางอีกฟากฝั่งหนึ่งของทะเลแดงนั้น เป็นบริเวณที่พวกมหาอำนาจใหญ่ซึ่งกำลังแข่งขันชิงดีชิงเด่นกัน ต่างก็ปรารถนาใคร่จะได้ไว้ในครอบครองกันทั้งนั้นมานมนานแล้วฝรั่งเศสได้เข้ายึดครองจิบูตีเอาไว้ในลักษณะกระทำเป็นขั้นๆ ภายหลังมีการเปิดใช้คลองสุเอซในปี 1869 ส่วนหนึ่งก็ด้วยเหตุผลในการทัดทานการปรากฏตัวของสหราชอาณาจักรที่เมืองเอเดน ( Aden ) ซึ่งตั้งบนอีกฝั่งของช่องแคบบับเอล-มานเดบ ( Bab el-Mandeb Strait ) บริเวณปากทางเข้าทะเลแดงอาณานิคมแห่งนี้ได้กลายเป็นดินแดนโซมาลีแลนด์ของฝรั่งเศสในเวลาต่อมา และในปี 1967 กลายเป็นดินแดนอะฟาส์และอิสซาส์ของฝรั่งเศส ( french Territory of the Afars and the Issas ) ก่อนที่ในที่สุดจะได้รับเอกราชเมื่อปี 1977 –นับเป็นดินแดนภายใต้การปกครองเป็นอาณานิคมโดยตรงของชาติยุโรปแห่งสุดท้ายในแอฟริกา ที่ได้รับอิสรภาพเป็นระยะเวลาหลายสิบปีทีเดียว กองทหารต่างด้าวของฝรั่งเศส ( french Foreign Legion ) มีฐานทัพแห่งหนึ่งในจิบูตี โดยมีชื่อเป็นที่รู้จักกันในนาม “ กองป์ เลอมองเนร์ ” ( Camp Lemonnier ) ค่ายแห่งนี้ถูกฝ่ายอเมริกันเทคโอเวอร์ไปภายหลังเหตุการณ์โจมตีในนิวยอร์กและวอชิงตันเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 และปัจจุบันกลายเป็นฐานทัพถาวรแห่งเดียวของสหรัฐฯในกาฬทวีปในตอนเริ่มแรกทีเดียว สหรัฐฯมุ่งหมายที่จะใช้ฐานทัพแห่งนี้เพื่อสู้รบปราบปรามกิจกรรมต่างๆ ของพวกผู้ก่อการร้ายในภูมิภาคแถบนี้ และการปฏิบัติการโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ ( โดรน ) ของสหรัฐฯในตะวันออกกลาง ก็เป็นที่ทราบกันว่าดำเนินการจากค่ายแห่งนี้เองแต่ค่าย กองป์ เลอมองเนร์ ยังมีบทบาทอีกประการหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากฝ่ายจีนมาอยู่กันที่โดราเลห์ นั่นคือการเฝ้าจับตาดูความเคลื่อนไหวของแดนมังกร เมื่อเดือนพฤษภาคมของปีนี้ ได้เกิดการทะเลาะวิวาทกันเสียงดังสนั่นทีเดียว ภายหลังนักบิน 2 คนบนเครื่องบินขนส่งของสหรัฐฯลำหนึ่ง ได้รับบาดเจ็บที่ดวงตาโดยถูกระบุว่าถูกเล็งใส่ด้วยลำแสงเลเซอร์ในเวลานั้น พวกเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารของสหรัฐฯได้กล่าวหาจีนอย่างเป็นทางการว่า มีการใช้อาวุธเลเซอร์เกรดที่ใช้ในทางการทหารมารบกวนนักบินอเมริกัน ถึงแม้ค่ายของฝ่ายสหรัฐฯและค่ายของฝ่ายจีนมีระยะห่างกันราว 10 กิโลเมตร แต่พวกเขาก็กำลังเฝ้าจับตามองอีกฝ่ายหนึ่งอย่างใกล้ชิด –และอย่างระแวงสงสัยเหตุการณ์เล็งใส่ด้วยแสงเลเซอร์นี้ ไม่ได้เป็นกรณีความตึงเครียดเพียงประการเดียวในระหว่างผู้ปฏิบัติหน้าที่ของฐานทัพชาติต่างๆ ในจิบูตี อิตาลีนั้นได้ก่อตั้งค่ายของตนขึ้นที่ประเทศนี้ตั้งแต่ปี 2009 ด้วยข้ออ้างว่าเพื่อสู้รบปราบปรามโจรสลัด ด้านญี่ปุ่นก็กระทำอย่างเดียวกันแต่เมื่อมีเรือรบลำหนึ่งของจีนเข้าไปจอดที่จิบูตีเมื่อปีที่แล้ว เว็บไซต์ของ “ โพรคิวอะเทอเรียล เดลี่ ” ( Procuatorial Daily ) ของจีน ปากเสียงอย่างเป็นทางการของสำนักงานอัยการประชาชนสูงสุด ( Supreme People ’ randomness Procuratorate ) อันเป็นหน่วยงานสูงที่สุดในเรื่องการฟ้องร้องดำเนินคดีและการสอบสวนของจีน รายงานข่าวว่าเรือของกองทัพเรือญี่ปุ่นลำหนึ่งได้ส่งทีมมนุษย์กบสวมชุดดำน้ำแบบสกูบา แอบเข้าไปตรวจสอบ ทางฝ่ายญี่ปุ่นเองไม่ได้ให้ความเห็นใดๆ ต่อข้อกล่าวหานี้ยังเป็นที่เชื่อกันอย่างกว้างขวางด้วยว่า ชาติต่างๆ ซึ่งมีฐานทัพอยู่ในจิบูตี ต่างก็มีการปฏิบัติการดักฟังทางอิเล็กโทรนิกเพื่อสอดแนมสืบความลับจากกันและกัน รวมทั้งการสอดส่องกิจกรรมต่างๆ ของพวกบุคคลที่ควรแก่การสนใจทั้งในประเทศจิบูตีและในเมืองหลวงของประเทศจริงๆ แล้ว ปริศนาความลี้ลับซ้อนที่เมืองคาซาบลังกาในช่วงทศวรรษ 1940 น่าที่จะหมดสีสันไร้ความสลักสำคัญไปเลย เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งซึ่งกำลังเกิดขึ้นอยู่ในเวลานี้บนดินแดนผืนเล็กๆ แห่งนี้ของจงอยแอฟริกา ที่นี่กำลังกลายเป็นจุดสูงสุดของอันตรายซึ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อปริศนาลี้ลับของการปะทะกันระหว่างสายลับต่อสายลับ ยังมักรั่วไหลออกมาสู่แวดวงของสาธารณชนไม่มีแห่งหนไหนบนพื้นพิภพแห่งนี้อีกแล้วที่มีฐานทัพทางทหารจำนวนมากซึ่งดำเนินการโดยพวกชาติที่เป็นปรปักษ์กัน ตั้งอยู่ประชิดใกล้เคียงกันและกันถึงขนาดนี้ ความใกล้ชิดใกล้เคียงกันนี้หมายความว่าอะไรๆ ก็สามารถเกิดขึ้นได้และน่าที่บังเกิดขึ้นมาด้วย ขณะที่สหรัฐฯกับเหล่าพันธมิตรของตนเผชิญหน้ากับจีนที่กำลังก้าวผงาดขึ้นมา ภายใต้สภาวการณ์ซึ่งบางคนบางฝ่ายมองว่าคือระยะแรกของสงครามเย็นครั้งใหม่