เที่ยวเองต่อเนื่องมาจนถึงวันที่ 10 ของ Danube Trip

เช้าวันนี้เราจะออกเดินทางเข้าเมืองหลวงของประเทศโรมาเนียคือ Bucure ș ti หรือ Bu charest ซึ่งจะเป็นเมืองสุดท้ายของโรมาเนียที่เราจะไปเที่ยวกันครับ
1
อ่านรีวิวทั้งหมดที่ผ่านมาของทริปนี้ได้ที่
ฮังการี..หนึ่งดินแดนริมฝั่งน้ำดานูบอันน่าค้นหา ตอนที่ 1 “ Székesfehérvár ” เมืองปราสาทแห่งรักชั่วนิรันดร์
ฮังการี..หนึ่งดินแดนริมฝั่งน้ำดานูบอันน่าค้นหา ตอนที่ 2 “ Budapest ” เมืองหลวงอันรุ่มรวยด้วยสถาปัตยกรรมงดงามสองฟากฝั่งแม่น้ำ
ลบภาพจำเก่าๆ ของ “ เซอร์เบีย ” ตอนที่ 1 “ Novi Sad ” ใต้ความแข็งกร้าว..มีความนุ่มนวล
ลบภาพจำเก่าๆ ของ “ เซอร์เบีย ” ตอนที่ 2 “ Belgrade ” เมืองหลวงของอดีตยูโกสลาเวียอันยิ่งใหญ่
บุกแดนผีดิบ “ โรมาเนีย ” ตอนที่ 1 “ Timișoara ” เมืองหน้าด่านสู่ทรานซิลวาเนีย
บุกแดนผีดิบ “ โรมาเนีย ” ตอนที่ 2 “ Hunedoara ” ลุยปราสาทน่าสะพรึงแห่งทรานซิลวาเนีย
บุกแดนผีดิบ “ โรมาเนีย ” ตอนที่ 3 “ Sibiu ” ความงดงามในความลึกลับแห่งทรานซิลวาเนีย
บุกแดนผีดิบ “ โรมาเนีย ” ตอนที่ 4 “ Brașov ” เมืองศูนย์กลางของทรานซิลวาเนีย..ต้นทางสู่วังแดร็กคูล่า !
บุกแดนผีดิบ “ โรมาเนีย ” ตอนที่ 5 “ Bran – Sinaia ” ลุยปราสาทตำนานแดร็กคูล่า และ ปราสาทฤดูร้อนกลางหุบเขา

2 Danube Trip map

8 โมงเช้า ออกจากโรงแรม Rina Cerbul เดินตามเส้นทางเดิม ยกกระเป๋าหนักค่อยๆ เดินลงบันไดไปที่สถานีรถไฟ Gara Sinaia

เราซื้อตั๋วรถไฟ Sinaia – Bucharest ขบวน IR1632 แบบชั้น 2 ( Clasa II – Vagon clasa ) ซึ่งต้องซื้อล่วงหน้าในราคาใบละ 34.35 RON แต่ได้รับส่วนลดจากการซื้อออนไลน์เหลือใบละ 32.63 RON ( ประมาณ 270 บาท ) จึงเดินไปรอรถไฟที่ชานชาลาได้เลย
แนะนำวิธีการ search นิดหน่อยนะครับ ถ้าคุณต้องการเลือก Bucharest เป็นเมืองต้นทางหรือปลายทางให้พิมพ์ในช่อง Departure หรือ Arrival ว่า Bucuresti Nord ถ้าพิมพ์ไม่ตรงตามนี้จะไม่พบข้อมูล ส่วนเมืองอื่นไม่มีปัญหาถ้าสะกดชื่อเมืองถูกต้องครับ
ระหว่างรอรถไฟผมลองเดินสำรวจดูว่าที่นี่มีที่ฝากกระเป๋ามั้ยเพราะเคยอ่านเจอมาจาก TripAdvisor ว่าสามารถฝากกระเป๋าไว้ที่สถานีรถไฟได้ มองเห็นป้ายที่เขียนว่า Bagaje นั่นแหละครับคือที่รับฝากกระเป๋า แต่ไม่มีราคาค่าฝากติดไว้ เผื่อนักท่องเที่ยวคนไหนอยากแวะเที่ยวที่ซีนาย่าแล้วเดินทางต่อไปยังเมืองอื่นเลยโดยไม่ค้างคืนก็สามารถฝากกระเป๋าใหญ่ไว้ที่สถานีรถไฟ ออกไปเที่ยวแล้วค่อยกลับมาเอากระเป๋าได้ครับ
08.33 น. รถไฟขบวน IR1632 ออกเดินทางจากซีนาย่า รถไฟขบวนนี้ต้องขึ้นให้ถูกโบกี้ ( Vag / Car ) และนั่งให้ตรงตามหมายเลขที่นั่งที่ระบุไว้ในตั๋ว นั่งรถไฟผ่านสถานีต่างๆ ได้แก่ Valea Largă, Comarnic, Câmpina, Ploieşti Vest, Crivina และ Buftea รถไฟก็เข้าจอดสุดทางที่สถานีรถไฟ Gara de Nord ( Bucuresti Nord ) กรุงบูคาเรสต์ ในเวลา 10.26 น. ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 53 นาที
4
เส้นทาง Sinaia – Bucharest นี้มีรถไฟออกหลายเวลา สามารถเช็คตารางเวลาและราคาตั๋วรถไฟได้ที่ Romania discipline และเลือกซื้อตั๋วรถไฟขบวนที่พอใจได้เลยครับ
ลงจากรถไฟปุ๊บก็มีความรู้สึกว่าสถานีรถไฟนี้ไม่ค่อยปลอดภัยเท่าไหร่ แถวนี้มีคนแต่งตัวมอซอเดินไปเดินมาอยู่หลายคน เราจึงรีบเดินหาทางออกจากสถานีรถไฟโดยเดินไปทางซ้ายมือตรงไปที่ทางออกที่มีสถานีรถไฟใต้ดินอยู่ ออกประตูไปที่ Pia ț a G ă rii de Nord ลานกว้างด้านหน้าสถานีรถไฟ ตรงนี้ก็มีคนจรจัดไม่น้อยเหมือนกัน
เขตเมือง Bucharest กว้างใหญ่มากครับ ตอนนี้เราอยู่ทางตะวันตกของเมือง
ข้ามทางม้าลายไปที่เกาะกลางถนนระหว่างรอข้ามถนนต่ออยู่เหลือบมองไปทางขวาเห็นคนกำลังค่อยๆ หย่อนตัวลงหลุมไปข้างใต้ถนน เรารู้ทันทีว่าใต้นั้นต้องเป็นโพรงท่อน้ำยาวๆ ซึ่งคนไร้บ้านและขอทานใช้เป็นที่อยู่อาศัยแน่นอน แปลก
ประหลาดมากๆ ไม่เคยพบเคยเห็นที่ไหนมาก่อน นึกว่านินจาเต่ามุดลงท่อครับ 555
รีบเดินหนีดีกว่า เริ่มมีขอทานเด็กเดินมาขอตังค์แล้ว ข้ามถนนไปอีกฝั่งแล้วเดินตรงต่อไปตามถนน Calea Griviței อีกประมาณ 200 เมตรก็ถึงโรงแรม Ibis Gara de Nord ซึ่งจะเป็นที่พักของเราในคืนนี้
โรงแรมนี้เป็นโรงแรมระดับ 3 ดาว ทำเลดีในเรื่องความใกล้สถานีรถไฟสามารถเดินมาได้เลย ส่วนเรื่องความปลอดภัยนั้นไม่มีปัญหาครับเพราะอยู่ไกลออกมาจากสถานีรถไฟพอสมควร ขอทานและพวกวิ่งราวจะป้วนเปี้ยนอยู่แค่รอบๆ สถานีรถไฟเท่านั้น
7
ตอนนี้ยังไม่ 11 โมงเลย ยังเช็คอินไม่ได้ เราจึงขอฝากกระเป๋าไว้ที่โรงแรมก่อนแล้วค่อยกลับมาเช็คอินค่ำๆ แล้วถามพนักงานต้อนรับว่าจะซื้อตั๋ว Abonament de 1 zi ( valabil RATB şi Metrorex ) ได้จากที่ไหน ? ( ตั๋ว Abonament de 1 zi ( valabil RATB şi Metrorex ) หรือ Subscription for 1 day ( for RATB and Metrorex ) คือตั๋ววันใช้โดยสารรถไฟใต้ดิน ( Metrou ) ของบริษัท Metrorex, รถเมล์ ( autobuz ), รถราง ( tramvai ) และ streetcar bus ( troilebuz ) ของบริษัท RATB ( Regia Autonomă de Transport București ) ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งภายใน 24 ชั่วโมงนับตั้งแต่ใช้ครั้งแรก แต่ใช้โดยสารรถเมล์ Express ไม่ได้ ราคาใบละ 16 RON )
เค้าตอบว่าให้เดินไปที่สถานีรถไฟจะเห็นซุ้มขายดอกไม้อยู่ที่หัวมุมถนน ข้างๆ ซุ้มขายดอกไม้มีตู้ขายตั๋วของ RATB อยู่ เราจึงเดินกลับไปทางสถานีรถไฟเพื่อซื้อตั๋ว Abonament de 1 zi ( valabil RATB şi Metrorex ) เพราะวันนี้เราจะใช้ทั้งรถเมล์และรถไฟใต้ดินเป็นพาหนะในการเดินทางในบูคาเรสต์
8
ผมเอากระดาษที่เขียนชื่อตั๋ว Abonament de 1 zi ( valabil RATB şi Metrorex ) ให้ป้าคนขายตั๋วดูเลยเพราะรู้ว่าท่าทางจะคุยกันไม่รู้เรื่องแน่ ป้าแกตอบกลับมาว่าไม่มีและชี้ไปที่ป้ายด้านข้างให้ดูว่ามีตั๋วชนิดใดขายบ้าง ลองอ่านดูแล้วก็ไม่เข้าใจเพราะในป้ายมีแต่ตั๋วรถโดยสารของบริษัท RATB ได้แก่ รถเมล์ รถราง และ streetcar bus ไม่มีตั๋วที่สามารถใช้โดยสารรถไฟใต้ดินของบริษัท Metrorex ได้ในใบเดียวเหมือนกับข้อมูลที่หามา
9
ออกจากแถวมาปรึกษากันแป๊บนึงแล้วก็เลือกซื้อตั๋ว Abonament fract. 1 zi ( valabil RATB ) คนละใบๆ ละ 8 RON + ค่าบัตรอีก 1.60 RON รวมเป็น 9.60 RON ( ประมาณ 75 บาท ) ตั๋วชนิดนี้คือตั๋ววันใช้โดยสารรถเมล์ รถราง และ streetcar bus ของบริษัท RATB ( Regia Autonomă de Transport București ) ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งภายใน 1 วัน ( ใช้ได้ถึงเที่ยงคืนของวันที่เริ่มใช้ครั้งแรก ) แต่ใช้โดยสารรถเมล์ Express ไม่ได้
10
ข้อมูลจากเว็บไซต์ทางการของการขนส่งมวลชนของบูคาเรสต์ ( Regia Autonomă de Transport București ) คือ RATB ที่ผมศึกษามาในขณะนั้นพบว่าตั๋วรถสาธารณะของบูคาเรสต์มีหลายชนิด ที่น่าจะเกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยวคือ

  1. Titlu de călătorie หรือ Travel Card ซึ่งมี 3 ชนิด คือ

Bilet unic 60 minute (valabil RATB ş i Metrorex) หรือ 60 minutes alone ticket ( for RATB and Metrorex ) ราคา 5 RON ใช้โดยสารรถไฟใต้ดิน ( Metrou ) ของบริษัท Metrorex, รถเมล์ ( autobuz ), รถราง ( tramvai ) และ streetcar bus topology ( troilebuz ) ของบริษัท RATB ( Regia Autonomă de Transport București ) ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งภายใน 60 นาที แต่ใช้โดยสารรถเมล์ Express ไม่ได้
Bilet cu 10 c ă l ă torii de câte 60 minute pentru fiecare c ă l ă torie (valabil RATB ş i Metrorex) หรือ Ticket for 10 journeys with 60 minutes for each travel ( for RATB and Metrorex ) ราคา 30 RON ใช้โดยสารรถไฟใต้ดิน ( Metrou ) ของบริษัท Metrorex, รถเมล์ ( autobuz ), รถราง ( tramvai ) และ streetcar bus ( troilebuz ) ของบริษัท RATB ( Regia Autonomă de Transport București ) ได้ทั้งหมด 10 ครั้ง โดยแต่ละครั้งใช้เดินทางได้ไม่จำกัดจำนวนภายใน 60 นาที แต่ใช้โดยสารรถเมล์ Express ไม่ได้
Abonament de 1 zi (valabil RATB ş i Metrorex) หรือ Subscription for 1 day ( for RATB and Metrorex ) ราคา 16 RON ตั๋ววันใช้โดยสารรถไฟใต้ดิน ( Metrou ) ของบริษัท Metrorex, รถเมล์ ( autobuz ), รถราง ( tramvai ) และ streetcar bus ( troilebuz ) ของบริษัท RATB ( Regia Autonomă de Transport București ) ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งภายใน 24 ชั่วโมงนับตั้งแต่ใช้ครั้งแรก แต่ใช้โดยสารรถเมล์ Express ไม่ได้
แต่ความจริงแล้วน่าจะเป็นตั๋ว 60 นาที ตั๋ว 10 เที่ยว และตั๋ววันสำหรับเดินทางโดยรถสาธารณะของบริษัท Metrorex หรือ RATB บริษัทใดบริษัทหนึ่งมากกว่า ไม่น่าจะมีตั๋วที่ใช้โดยสารรถของทั้งสองบริษัทในใบเดียวกันได้

  1. Portofelul Electronic (E-Purse) หรือ magnetic travel card บัตรโดยสารแบบเติมเงินมี 2 ประเภท คือ Cardul Activ (Activ card) ซึ่งแบ่งเป็น Cardul Activ nominal (Nominal Activ card) และ Cardul Activ nenominal (Non-nominal Activ card) ส่วนอีกประเภทหนึ่งคือ Cardul Multiplu (Multiplu Card)

Cardul Activ nominal ( Nominal Activ card ) ซื้อครั้งแรกไม่มีค่าบัตร แต่ถ้าทำหายจะต้องจ่ายค่าบัตรใหม่ 4.70 RON บัตรโดยสารชนิดนี้ต้องเติมเงินขั้นต่ำ 15 RON และเติมเงินสูงสุดได้ไม่เกิน 50 RON ถ้าต้องการเติมเงินเพิ่มสามารถเติมเงินขั้นต่ำได้ 3 RON และสูงสุดไม่เกิน 50 RON เมื่อใช้โดยสารรถไฟใต้ดิน ( Metrou ) ของบริษัท Metrorex จะหักเงินในบัตร 2 RON, รถเมล์ ( autobuz ), รถราง ( tramvai ) และ streetcar bus ( troilebuz ) ของบริษัท RATB ( Regia Autonomă de Transport București ) ภายในตัวเมืองบูคาเรสต์จะหักเงินในบัตร 1.30 RON รถเมล์สาย Express จะหักเงินในบัตร 3.50 RON และรถสายชานเมืองจะหักเงินในบัตร 1.50 RON
Cardul Activ nenominal ( Non-nominal Activ card ) บัตรโดยสารชนิดนี้ต้องเติมเงินขั้นต่ำ 15 RON และเติมเงินสูงสุดได้ไม่เกิน 50 RON ถ้าต้องการเติมเงินเพิ่มสามารถเติมเงินขั้นต่ำได้ 2.60 RON และสูงสุดไม่เกิน 50 RON บัตรโดยสารนี้สามารถให้ผู้อื่นใช้บัตรได้หลายคน เหมาะสำหรับบริษัทซื้อให้พนักงานใช้หรือครอบครัวแบ่งกันใช้ เมื่อขายบัตรคืนจะได้รับเงิน 3.70 RON
Cardul Multiplu ( Multiplu Card ) บัตรชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้เดินทางบางโอกาส ไม่สามารถเติมเงินเพิ่มได้อีก ใช้โดยสารรถเมล์ ( autobuz ), รถราง ( tramvai ) และ streetcar bus ( troilebuz ) ของบริษัท RATB ( Regia Autonomă de Transport București ) ได้เท่านั้น แต่ไม่สามารถใช้โดยสารรถไฟใต้ดิน ( Metrou ) ของบริษัท Metrorex, รถเมล์สาย Express และรถสายชานเมือง บัตรราคา 1.60 RON
อัพเดทข้อมูลได้ที่ RATB Electronic wallet
ได้ตั๋ววันที่นั่งได้แค่รถเมล์ รถราง และ streetcar bus ของ RATB ก็สามารถเที่ยวในเมืองบูคาเรสต์ได้แต่อาจจะต้องยอมเดินไกลหน่อยบ้างในช่วงที่วางแผนจะใช้รถไฟใต้ดินครับ

ยังไม่เที่ยงก็พร้อมเที่ยวชม București หรือ Bucharest แล้ว

กรุงบูคาเรสต์คือเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศโรมาเนีย อาณาเขตของตัวเมืองชั้นในมีพื้นที่ราว 230 ตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่านครมิลานของอิตาลีและบาร์เซโลนาของสเปนเสียอีก
ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 บูคาเรสต์มีการก่อสร้างอาคารสถานที่สำคัญหลายแห่งโดยได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมของกรุงปารีสอย่างมาก บูคาเรสต์จึงได้รับฉายาว่า Micul Paris ( Little Paris ) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ “ ปารีสแห่งบูรพาทิศ ” ( Paris of the East ) เดี๋ยวตามไปดูกันนะครับว่าพอจะเทียบชั้นกับมหานครปารีสของประเทศฝรั่งเศสได้หรือไม่
ยืนรอรถเมล์ที่ป้าย Gara de Nord ข้างหน้าตู้ขายตั๋วฝั่งตรงข้ามกับอาคารสถานีรถไฟ ขึ้นรถเมล์สาย 133 สแกนตั๋ววันแล้วนั่งไป 3 ป้ายก็ลงที่ป้าย Calea Victoriei
( ถ้าเดินจากสถานีรถไฟตามถนน Calea Griviței ไปทางทิศใต้ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนน Bulevardul Dacia มาถึงสี่แยกนี้มีระยะทางประมาณ 1.3 กิโลเมตร )
ค้นหาเส้นทางรถโดยสารประเภทต่างๆ ได้ที่ RATB transportation system routes
12
ลงรถเมล์แล้วเดินย้อนกลับไปที่โรงแรม Golden Tulip ที่หัวมุมสี่แยกจุดตัดกันของถนน Bulevardul Dacia กับ Calea Victoriei เราจะเริ่มเที่ยวบูคาเรสต์ที่จุดนี้ครับ
จากสี่แยกดังกล่าวถ้าเลี้ยวขวาเข้าถนน Calea Victoriei แล้วเดินไปทางทิศเหนือของเมืองประมาณ 400 เมตรก็จะถึง Palatul Cantacuzino ( Cantacuzino Palace ) บ้านพักของ Grigore Cantacuzino อดีตนายกรัฐมนตรีของโรมาเนียซึ่งเป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดของประเทศ ท่านต้องการมีบ้านพักที่หรูหราที่สุดในบูคาเรสต์จึงให้ Ion Berindei ออกแบบ Cantacuzino Palace และก่อสร้างขึ้นในช่วงปีค.ศ. 1898-1900 ปัจจุบันอาคารสวยงามหลังนี้คือ Muzeul National George Enescu ( George Enescu Museum ) พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมวันอังคาร-อาทิตย์ 10.00-17.00 น. ปิดทุกวันจันทร์
ข้อมูลเพิ่มเติมที่ visit George Enescu Museum
แต่เราไม่ได้เดินไปหรอกเพราะถ้าเดินไปแล้วก็ต้องเดินย้อนกลับมาที่เดิมอยู่ดี ไม่อยากย้อนไปย้อนมาครับ
เราเลือกเลี้ยวซ้ายที่โรงแรม Golden Tulip เข้าถนน Calea Victoriei ( Victory Avenue, Halel ’ s city ) ถนนเก่าแก่ที่สุดของบูคาเรสต์ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่ปีค.ศ. 1692 เป็นถนนสายหลักของเมืองมาจนถึงทุกวันนี้ เดินไปทางทิศใต้เพื่อเข้าไปยังศูนย์กลางของเมือง
เดินตามถนน Calea Victoriei ไปแค่ไม่กี่ก้าวก็เห็นอาคาร Muzeul Na ţ ional de Art ă al României ( National Museum of Art of Romania ) อยู่ทางขวามือ
15
ตรงต่อไปอีกราว 500 เมตรจนถึงลานกว้างที่จัตุรัส Pia ț a George Enescu มองไปทางซ้ายก็เห็นอาคารสวยงาม นั่นคือ Ateneul Român ( Romanian Athenaeum ) สิ่งก่อสร้างสำคัญของบูคาเรสต์นี้เป็นผลงานการออกแบบของสถาปนิกชาวฝรั่งเศส Paul Louis Albert Galleron สร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อปีค.ศ. 1888 ด้วยเงินบริจาคจากประชาชน ปัจจุบันคือ Filarmonica “George Enescu” ( George Enescu Philharmonic Orchestra ) สถานที่นี้เป็นสถานที่ที่พลาดไม่ได้สำหรับผู้มาเยือนกรุงบูคาเรสต์นะ พูดเลย !
16
เดินเข้าไปในสวน Parcul Ateneului ด้านหน้าของ Ateneul Român ซึ่งดอกไม้หลากสีบานสะพรั่งสวยสดแล้ว
เดินไปทางด้านหลังอาคาร Ateneul Român แล้วเลี้ยวซ้ายไปนิดเดียวก็เจอร้าน La Mama ซึ่งเราหาพิกัดไว้ก่อนแล้วว่าจะมารับประทานมื้อกลางวันที่ร้านนี้
18
เที่ยงตรงพอดี เดินเข้าไปในร้านดังที่มีเมนูแนะนำอย่าง Iahnie copper ciolan ( Ciolan afumat copper fasole ) หรือขาหมูรมควันกับถั่ว และ Pomana Porcului ( Pork Fest ) ผมไม่พลาดที่จะสั่งเมนู Iahnie copper ciolan บอกพนักงานแค่ “ โชลาน ” เค้าก็รู้เรื่องแล้วครับ ขาหมูโรมาเนียจานยักษ์นี้ราคา 27 RON ( ประมาณ 210 บาท ) และสั่งเครื่องดื่มเป็น Limonada clasica เหยือกใหญ่ 1 เหยือกราคา 21 RON ( ประมาณ 165 บาท ) มาแบ่งกัน น้ำมะนาวที่นี่ผสมน้ำเชื่อมมาให้เลยครับ รสชาติเปรี้ยวอมหวานลงตัวสุดๆ อร่อยกว่าทุกที่ที่ลองชิมมาเลย
19
บ่ายโมงนิดๆ พร้อมเดินเที่ยวบูคาเรสต์ต่อ เดินกลับไปที่จัตุรัส Piața George Enescu ด้านหน้า Ateneul Român เลี้ยวซ้ายเดินต่อตามถนน Calea Victoriei อีกนิดก็ถึง Biblioteca Central ă Universitar ă ( Central University Library of Bucharest ) หรือเรียกสั้นๆ ว่า B.C.U. ซึ่งมี Statuia Ecvestră a lui Carol I หรืออนุสาวรีย์ของกษัตริย์ Carol ที่ 1 แห่งโรมาเนียทรงม้าอยู่ข้างหน้าอาคารหอสมุดกลางของบูคาเรสต์
20
อาคารหน้ากว้างตรงข้ามกับหอสมุดคือ Palatul Regal ( Royal Palace ) พระราชวังเดิมซึ่งปัจจุบันคือ Muzeul Na ţional de Artă al României ( National Art Museum ) สร้างในสไตล์นีโอคลาสสิกตั้งแต่ปีค.ศ. 1927-1937 เพื่อเป็นพระราชวังของพระเจ้า Carol ที่ 2 และพระเจ้า Mihai ที่ 1 ราชบุตร จนกระทั่งปีค.ศ. 1947 เมื่อระบอบกษัตริย์ของโรมาเนียสิ้นสุดลง ส่วนอาคารด้านหลังของ Palatul Regal คือ Sala Palatului ( Royal Palace Great Concert Hall ) สถานที่จัดแสดงคอนเสิร์ตขนาดใหญ่ที่สามารถจุผู้ชมได้กว่า 4,000 คน
21
เลยไปอีกคือ Pia ţ a Revolu ţ iei ( Revolution Square ) หรือที่รู้จักกันในชื่อ Piaţa Palatului ( Palace Square ) จนถึงปีค.ศ. 1989 จึงได้เปลี่ยนชื่อตามการปฏิวัติโรมาเนียเป็น Piaţa Revoluţiei จัตุรัสแห่งการปฏิวัติโรมาเนียนี้มีสัญลักษณ์คือ Memorialul Rena ș terii ( Memorial of Rebirth ) อนุสรณ์สถานที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายจากการต่อสู้ในเหตุการณ์ปฏิวัติโค่นล้มระบอบคอมมิวนิสต์ของผู้นำเผด็จการนามว่า Nicolae Ceauşescu เมื่อปีค.ศ. 1989 อนุสรณ์แห่งนี้เปิดอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคมปีค.ศ. 2005
22 23
ทางขวามือเยื้องกับ Piaţa Revoluţiei คือ Biserica Kretzulescu ( Kretzulescu Church ) หรือ Creţulescu โบสถ์ออร์โธด็อกซ์เล็กๆ ที่สร้างด้วยอิฐแดงในสไตล์ Brâncovenesc เมื่อปีค.ศ. 1722
24
ตรงต่อตามถนน Calea Victoriei ไปทางทิศใต้ผ่าน Teatrul Odeon ( Odeon Theatre ) ทางซ้ายมือเข้าสู่ Centrul Vechi al Orasului ( Old Historical Center ) ในเขต Lipscani ของกรุงบูคาเรสต์
25
ไม่ไกลก็ถึง Cercul Militar Na ţ ional ( The Military Club ) อาคารสไตล์นีโอคลาสสิกผลงานชิ้นเอกของ Dimitrie Maimaroiu เริ่มก่อสร้างในปีค.ศ. 1912 เพื่อใช้ในกิจการทางสังคม วัฒนธรรม และการศึกษาของกองทัพบกโรมาเนีย ด้านหน้าอาคารมีเสาธงชาติโรมาเนียสูงปรี๊ดจนต้องแหงนคอมอง
26
เดินต่อไปอีกราว 200 เมตรให้สังเกตทางเข้าสี่เหลี่ยมไม่ใหญ่ทางซ้ายที่เขียนว่า Valea Regilor เดินลอดใต้อาคารเข้าไปที่ Pasajul Macca ( Valea Regilor ) แหล่งแฮงค์เอาท์กินดื่มสุดฮิปของวัยรุ่นที่นี่ ถ้าตกดึกน่าจะคึกคักกว่านี้เยอะแน่ๆ คอปาร์ตี้ไม่ควรพลาดสถานที่อันซีนหนึ่งของบูคาเรสต์นะครับ
27
เดินรมควันบุหรี่และบารากุที่ฟุ้งกระจายจากคาเฟ่และบาร์สองข้างทางไปออกอีกทางหนึ่งวนกลับไปที่ถนน Calea Victoriei เลี้ยวซ้ายเดินต่อไปจนถึงสี่แยก เดินเข้าถนนคนเดินทางซ้ายมือที่ชื่อ Strada Lipscani ไปยัง Banca Na ţ ional ă a României ( National Bank of Romania ) อาคารสวยงามสไตล์นีโอคลาสสิกแบบฝรั่งเศสที่ออกแบบโดย Paul Louis Albert Galleron เช่นเดียวกับอาคาร Ateneul Român
28
ถนน Lipscani นี้เป็นเส้นทางเข้าไปในบริเวณเมืองเก่าของบูคาเรสต์และสามารถเดินทะลุไปออกที่ Piaţa Roma ริมทางหลวงหลักของเมืองได้
29
เดินวนขวาเข้าถนน Strada Stavropoleos ผ่าน M ă n ă stirea Stavropoleos ( Stavropoleos Monastery ) หรือ Biserica Stavropoleos ( Stavropoleos Church )
30
ก็ถึงร้านอาหารชื่อดังถึงดังมากของบูคาเรสต์ที่มีชื่อว่า Caru’ cu bere ซึ่งมีความหมายว่า “ the beer beach wagon ” ร้านอาหารสุดคลาสสิกนี้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1879 นู่น ลองดูเมนูหน้าร้านก่อนเพราะร้านนี้ดูหรูมากๆ พอเห็นราคาก็รู้สึกดีใจที่ตัดสินใจกินที่ร้าน La Mama มาก่อนแล้ว 55 ราคาโดยประมาณของ independent course คือ 30 RON ( ประมาณ 235 บาท ) ขึ้นไปทั้งนั้น เท่าที่กินมาหลายร้านแล้ว ราคาอาหารอย่างดีงามเฉลี่ยอยู่ที่จานละไม่เกิน 20 RON ครับ แต่ถ้าใครใส่ใจเรื่องอาหารการกินชั้นเลิศก็มีเมนูแนะนำ อาทิ Ciolan หรือขาหมูสำหรับ 2 ท่านราคา 78 RON, Pork specialities, Jumări ( Pork Greaves ), Mititei ( Grilled Meat Rolls ) และขนมอย่าง Cozonac ( Sponge patty )
เดินกลับไปที่ถนน Calea Victoriei อีกครั้ง อาคารที่อยู่ด้านหน้าคือ Palatul C.E.C. ( CEC Palace ) หรือ Casa de Economii și Consemnaţiuni อาคารสวยงามที่สร้างขึ้นตั้งแต่ปีค.ศ. 1900 เป็นสำนักงานใหญ่ของธนาคารออมสินแห่งชาติโรมาเนีย หรือ CEC Bank
32
เยื้องกับแบงค์ออมสินคือ Muzeul Na ţ ional de Istorie al României ( National Museum of Romanian History ) ที่ใช้อาคารไปรษณีย์เก่าอันงดงามอลังการก่อสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีพื้นที่กว่า 8,000 ตารางเมตร และมีห้องจัดแสดงสิ่งของมีค่าตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึง 60 ห้อง
พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมในช่วงฤดูร้อนในวันพุธ-อาทิตย์ 10.00-18.00 น. ปิดขายตั๋วก่อนเวลาปิด 45 นาที พิพิธภัณฑ์ปิดทุกวันจันทร์และอังคาร ค่าผ่านประตูสำหรับผู้ใหญ่ราคา 25 RON
ข้อมูลเพิ่มเติมที่ visit National Museum of romanian History
33 34
จากจุดเริ่มต้นที่สี่แยกจุดตัดกันของถนน Bulevardul Dacia กับ Calea Victoriei จนถึงจุดนี้ เราเดินเท้ากันมาแล้วเกือบ 2 กิโลท่ามกลางแสงแดดร้อนแผดเผาทั่วร่าง เราสังเกตว่าตลอดทางของถนน Calea Victoriei ที่เดินมาไม่มีรถเมล์หรือรถรางผ่านมาเลย ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมถึงไม่มีรถสาธารณะให้บริการบนถนนสายหลักของเมืองที่มีอาคารสำคัญๆ มากมายอยู่สองข้างของถนน เป็นถนนธุรกิจและแหล่งช้อปปิ้ง มีอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ โรงแรมหรู และ
ช็อปแบรนด์เนมไฮเอนด์หลายแบรนด์
เดินจนขาลากแล้วยังไม่สุดถนนครับ เดินกันต่อไปอีกไม่ไกลก็ถึงสี่แยกใหญ่เชิงสะพานข้ามแม่น้ำ Dâmbovița ก่อนข้ามสะพานมองไปทางซ้ายก็เห็นอาคารหน้ากว้างที่เรียกว่า Palatul Justi ţ iei ( The Palace of Justice ) ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ
36
มองตรงเลยไปอีกคือ Pia ţ a Unirii ( Union Square ) ซึ่งเราจะเดินไปที่นั่นหลังจากไปชมอาคารรัฐสภาที่ใหญ่ที่สุดในโลกแล้ว
37
เดินกลับไปข้ามสะพาน โค้งขวาเดินผ่านโบสถ์เล็กๆ ไปแยกขวาเดินตามถนน Piaţa Naţiunile Unite ตรงไปประมาณ 400 เมตรก็เห็นอาคารขนาดมหึมาอยู่ทางซ้าย นั่นคือ Palatul Parlamentului เลี้ยวเข้าถนน Bulevardul Libertăţii ไปที่ด้านหน้าตรงของอาคารรัฐสภาที่ Pia ţ a Constitu ţ iei ( Constitution Square ) หรือ Palace Square ในบริเวณที่เรียกว่า Centrul Civic ( Civic Centre )
ตรงจุดนี้สามารถถ่ายภาพหน้าเต็มของอาคารรัฐสภาได้อย่างบาลานซ์พอดีเป๊ะ แต่พูดเลยว่าถ้าไม่ใช้เลนส์ไวด์ถ่าย รับรองไม่มีทางถ่ายได้เต็มทั้งสองข้างของอาคารแน่นอนครับ
39
Palatul Parlamentului ( Palace of the Parliament ) หรืออาคารรัฐสภาแห่งชาติโรมาเนียเป็นพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นอาคารสำหรับฝ่ายบริหารที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก เป็นอาคารที่หนักที่สุดในโลก และเป็นอาคารสำนักงานที่ใหญ่ที่สุดในด้านหน้ากว้างเป็นอันดับที่ 2 ของโลกรองจาก Pentagon ของสหรัฐฯ
รัฐสภาแห่งนี้กว้าง 270 เมตร ลึก 240 เมตร สูง 86 เมตร ชั้นใต้ดินลึก 92 เมตร มีพื้นที่ใช้สอยถึง 340,000 ตารางเมตร มีห้องทั้งหมด 1,100 ห้อง ออกแบบโดย Anca Petrescu ในสไตล์นีโอคลาสสิก โดยสรรหาวัสดุมาจากทั่วประเทศ ประดับตกแต่งทั้งภายในและภายนอกอย่างหรูหรา จนสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อปีค.ศ. 1984 ในสมัยที่โรมาเนียยังปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อเป็นที่ทำงานของฝ่ายบริหารและแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของประเทศให้ทั่วโลกเห็น
รัฐสภาเปิดให้เข้าชมผ่านไกด์ทัวร์ทุกวันตั้งแต่ 10.00-16.00 น. ทัวร์รอบสุดท้าย 15.30 น. ต้องนำพาสปอร์ตมาด้วย ค่าเข้าชมมีหลายประเภท เช่น Standard Tour ราคา 25 RON, Terrace Tour ( Access by Elevator ) ราคา 15 RON, Standard Tour + Terrace Tour ( Access by Elevator ) ราคา 35 RON ถ้าต้องการถ่ายรูปต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก 30 RON เด็กอายุต่ำกว่า 7 ขวบ เข้าชมฟรี
อัพเดทข้อมูลได้ที่ visit Palace of the Parliament
40
ในอาณาเขตของรัฐสภาเป็นที่ตั้งของ Muzeul Na ț ional de Art ă Contemporan ă ( National Museum of Contemporary Art หรือ MNAC ) พิพิธภัณฑ์ที่ใหม่ที่สุดของบูคาเรสต์ เปิดให้เข้าชมวันพุธ-อาทิตย์ 10.00-18.00 น., ปิดทุกวันจันทร์และอังคาร
จาก Pia ţ a Constitu ţ iei เดินตรงเข้าถนนใหญ่ชื่อ Bulevardul Unirii อีกราว 900 เมตรก็ถึง Pia ţ a Unirii ( Union Square ) จัตุรัสใจกลางเมืองซึ่งเป็นชุมทางคมนาคมที่สำคัญมากของบูคาเรสต์ มี Fântâna Pia ţ a Unirii ( Union Square Fountain ) น้ำพุสวยงามอยู่ตรงกลางจัตุรัส แต่น่าเสียดายที่วันนี้ไม่เปิดน้ำพุ ผมว่าแถวนี้คล้ายๆ ถนนราชดำเนินบ้านเราเลย
42
ตอนนี้อุณหภูมิอยู่ที่ 22 องศา แต่แดดแรงมากกก ส่วนใหญ่บูคาเรสต์เป็นที่โล่งกว้างไม่ค่อยมีเงาต้นไม้หรืออาคารบังแดดเท่าไหร่ เราจึงโดนแดดเผาเต็มๆ จนรู้สึกแสบหน้าและคอแห้งผาก จึงต้องหยุดพักหาเครื่องดื่มเย็นๆ ดับกระหายคลายร้อนและนั่งพักเหนื่อยจากการเดินทนเดินไกลมาหลายชั่วโมงติดแถวๆ นี้ครู่หนึ่ง
ตอนนี้เราอยู่ทางทิศใต้ของกรุงบูคาเรสต์ครับ

43
เย็นชื่นใจหายเหนื่อยแล้วก็เริ่มเดินต่อ จากสี่แยกใหญ่ที่ Pia ţ a Unirii ถ้าเดินไปทางทิศใต้เข้าถนน Splaiul Independenței ที่มีป้ายบอกทางไปสวน Parcul Carol I แยกขวาเข้าถนน Aleea Dealul Mitropoliei เดินไปจนสุดถนน ( ประมาณ 300 เมตร ) ก็จะถึง Catedrala Patriarhal ă Sf. Împ ă ra ţ i Constantin ş i Elena ( Metropolitan Church ) หรือที่รู้จักกันว่า Mitropoliei โบสถ์แห่งนี้เป็นศูนย์กลางความเชื่อของชาวโรมาเนียนออร์โธด็อกซ์มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 สร้างโดย Constantin Șerban Basarab ผู้ปกครองภูมิภาค Valahia ( Wallachia ) ระหว่างปีค.ศ. 1656-1658 และได้กลายเป็นโบสถ์ประจำเมืองในปีค.ศ. 1668
ถัดจากโบสถ์ไปคือ Palatul Camerei Deputa ţ ilor ( Palace of the Chamber of Deputies ) หรือ Palatul Patriarhal ( Patriarchal Palace ) ที่สร้างขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1708 ปัจจุบันคือ Palatul Patriarhiei ( Palace of the Patriarchate ) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือที่รู้จักกันในนาม Palatul Marii Adunări Naţionale ( Palace of the Great National Assembly ) ในช่วงที่ปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ ไม่เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชม
เราขี้เกียจเดินไป เลยขอยืมรูปจากเว็บอื่นมาให้ชมแทนนะครับ
หรือถ้าอยากไป Opera Na ţ ional ă ( National Opera and Ballet ) ก็นั่งรถไฟใต้ดินสาย M1 ( สีเหลือง ) หรือ M3 ( สีแดง ) จากสถานีรถไฟใต้ดิน Piaţa Unirii 2 ไปที่สถานีรถไฟใต้ดินที่ใกล้ที่สุดคือ Eroilor แล้วเดินเลียบแม่น้ำไปที่ Piaţa Operei ข้ามฝั่งแม่น้ำและเดินเข้าสวนไปก็จะถึง Opera Naţională ที่ถนน Bulevardul Mihail Kogălniceanu
โรงโอเปร่าเปิดให้เข้าชมทุกวัน 09.00-13.00 น. และ 15.00-19.00 น .
ต่อไปเราจะเดินกลับขึ้นทางทิศเหนือเข้าสู่เมืองเก่าของบูคาเรสต์
เดินไปทางซ้ายเลียบสวน Parcul Unirii ผ่านสถานีรถไฟใต้ดิน Piaţa Unirii 1 ไปที่สี่แยก ตรงข้ามแม่น้ำ Dâmbovița มองตรงเข้าถนนเล็กๆ ข้าง Starbucks ที่ชื่อ Strada Căldărari ไปก็เห็น Biserica Sfântul Anton ( Saint Anthony Church ) หรือ Biserica Curtea Veche ( Old Court Church ) โบสถ์แห่งนี้สร้างขึ้นตั้งแต่ปีค.ศ. 1559 ในบริเวณเมืองเก่า นับเป็นโบสถ์ที่เก่าแก่ที่สุดของบูคาเรสต์
46
ข้างๆ โบสถ์คือ Palatul Curtea Veche ( Old Princely Court ) ที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 15 โดย Vlad Țepeș หรือที่รู้จักกันในนาม Vlad III Dracula ตามตำนานท้องถิ่น Vlad ใช้สถานที่นี้เป็นศาลและที่คุมขังนักโทษไว้ในคุกใต้ดิน ด้านหน้าจึงมีรูปปั้นของ Vlad Țepeș คอยเฝ้าอยู่
ปัจจุบันที่นี่กลายเป็น Muzeul Palatul Voievodal Curtea Veche พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวัน 10.00-18.00 น. ค่าเข้าสำหรับผู้ใหญ่ 4 RON ค่าถ่ายรูปอีก 15 RON
รายละเอียดเพิ่มเติมที่ visit Muzeul Palatul Voievodal Curtea Veche
47
เดินต่อไปตามถนน Strada Franceză ในเมืองเก่า เห็นร้านฟาสต์ฟู้ดตุรกีชื่อ Dristor Kebap ที่หัวมุมถนน Strada Șelari รับแลกเงินเรทดีด้วย เราโดนโกงค่าแท็กซี่ตอนไปปราสาทบรานเมื่อวานจนเงินที่แลกมาไม่พอใช้ในอีก 1 วันที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในโรมาเนีย จึงต้องแลกเงินเพิ่มอีกคนละ 30 ยูโร ได้เงินมาอีกประมาณ 130 RON
แถวถนน Strada Șelari ซึ่งเชื่อมต่อกับถนน Strada Covaci และ Strada Lipscani ใจกลางเมืองเก่านี้เต็มไปด้วยร้านอาหาร ผับ บาร์ ร้านนวด เดินเล่นดูวิถีชีวิตของหนุ่มสาวที่นี่แล้วรู้สึกคล้ายๆ กับกำลังเดินอยู่ในย่าน Red-light zone ของกรุงอัมสเตอร์ดัมเลย แต่ไม่เห็นร้านอย่างว่าที่ชัดเจนโจ๋งครึ่มนะครับ เสียดาย 555
48 49
เดินกลับไปที่โบสถ์ Biserica Sfântul Anton เดินผ่านโบสถ์ไปแล้วเลี้ยวซ้ายเดินตามถนน Strada Șepcari โผล่ไปเจอถนนใหญ่สายหลักของบูคาเรสต์อีกสายหนึ่งที่มีชื่อว่า Bulevardul Ion C. Brătianu เลี้ยวซ้ายเดินไปอีกนิดก็เห็นรูปปั้นหมาป่าให้นมทารกที่เรียกว่า Statuia Lupoaicei ที่จัตุรัส Pia ţ a Roma
50
ลงอุโมงค์ Pasajul Latin ลอดใต้ถนนไปอีกฝั่งหนึ่ง เลี้ยวซ้ายขึ้นบันไดไปบนบกก็ถึงสวน Parcul Sfântul Gheorghe ภายในสวนเป็นที่ตั้งของ Biserica Sfântul Gheorghe Nou ( St. George New Church ) จุดนี้คือ Kilometrul 0 หรือหลักกิโลเมตรที่ 0 ของโรมาเนียนี่เอง
51
เดินตามถนนใหญ่ Bulevardul Ion C. Brătianu ต่อไปทางทิศเหนือ
แป๊บเดียวก็ถึงอาคารขนาดใหญ่ที่เรียกว่า Spitalul Col ţ ea ( Colţea Hospital ) โรงพยาบาลที่เก่าแก่ที่สุดของบูคาเรสต์สร้างมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1704 บนที่ดินของครอบครัว Văcărești ผู้มั่งคั่ง อาคารดั้งเดิมถูกแผ่นดินไหวเมื่อปีค.ศ. 1802 ทำลายไปและได้ก่อสร้างใหม่ในสไตล์นีโอคลาสสิกในปีค.ศ. 1888 ปัจจุบันยังคงใช้เป็นศูนย์สุขภาพของบูคาเรสต์
53
เยื้องกับโรงพยาบาล Colţea คือ Palatul Ş u ţ u อาคารเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสไตล์นีโอโกธิคในช่วงปีค.ศ. 1832-1834 โดยรัฐมนตรีต่างประเทศ Costache Suţu โดยตั้งแต่ปีค.ศ. 1959 อาคารแห่งนี้ได้กลายเป็น Muzeul Municipiului Bucureşti ( Bucharest History and Art Museum )
เดินต่อไปที่วงเวียนกลางสี่แยกใหญ่ที่เรียกว่าจัตุรัส Pia ţ a Universit ăţ ii ลงบันไดเลื่อนไปที่สถานีรถไฟใต้ดิน Universitate ตรงลอดใต้ถนนไปขึ้นอีกฝั่งก็เห็นประติมากรรมผลงานของนักปั้นชื่อดัง Ioan Bolborea ที่มีชื่อว่า Caruta cu paiate อยู่ด้านหน้าของ Teatrul Na ţ ional “Ion Luca Caragiale” Bucure ş ti ( National Theatre Bucharest )
54
จุดนี้ถ้าเรามีตั๋ววันที่ใช้โดยสารรถไฟใต้ดินของบริษัท Metrorex และรถเมล์ รถราง และ streetcar bus ของบริษัท RATB ได้ในใบเดียว ก็คงจะใช้ตั๋ววันนั่งรถไฟใต้ดินสาย M2 ( สีน้ำเงิน ) ไปที่สถานี Piața Romană หรือ Piaţa Victoriei สองจัตุรัสสำคัญของเมือง แล้วต่อรถไฟใต้ดินสาย M1 ( สีเหลือง ) กลับไปที่สถานีรถไฟ Gara de Nord และเดินกลับโรงแรมตามแผนที่วางไว้แล้ว
แต่เรามีแค่ตั๋ววันที่ใช้ขึ้นรถเมล์ รถราง และ streetcar busbar ของบริษัท RATB เท่านั้น ไม่อยากเสียเงินค่าตั๋วรถไฟใต้ดินเพิ่มอีก 5 RON ( ประมาณ 40 บาท ) และไม่รู้ว่าจากที่นี่ต้องขึ้นรถเมล์สายอะไรถึงจะกลับไปที่สถานีรถไฟ Gara de Nord ได้ด้วย จึงตัดสินใจเดินกลับไปที่เมืองเก่าเพื่อหาร้านอาหารราคากลางๆ รับประทานมื้อเย็นก่อนแล้วค่อยหารถเมล์กลับโรงแรมอีกที
เดินตามถนนใหญ่ Bulevardul Ion C. Brătianu ย้อนทางเดิมกลับไปที่จัตุรัส Pia ţ a Roma เจอร้านอาหารเวียดนามชื่อ Li-Wu เลยไม่ต้องคิดมากเพราะจุดนี้ร่างกายต้องการอาหารเอเชียขั้นสุด กินแต่อาหารฝรั่งแทบทุกมื้อ เริ่มเอียนแบบไม่ไหวแล้ว 555 ร้านนี้ขายอาหารจีนและฝรั่งง่ายๆ ด้วย ผมสั่งชุด Orez copper Creveti เป็นข้าวผัดกุ้งและเป๊ปซี่ขวด 0.5 ลิตร ราคา 22 RON ( ประมาณ 170 บาท ) ครับ พูดเลยว่ารสชาติดี๊ดี อร่อยฟินหายอยากเลย
ใกล้ค่ำแล้ว วันนี้เที่ยวบูคาเรสต์แค่นี้ก่อน จากตรงนี้เราไม่รู้ว่าจะกลับโรงแรมได้ยังไง ไม่รู้เลยว่าต้องนั่งรถเมล์เบอร์อะไร จะเสิร์ชเว็บดูก็ไม่มีอินเตอร์เน็ต ถามคนที่ร้านเค้าก็ไม่รู้ สรุปเราต้องเดินกลับครับ # อย่างไกล โดยเดินย้อนไปที่ Piaţa Roma เลี้ยวซ้ายเข้าถนน Strada Lipscani อีกครั้ง เดินตามถนนซึ่งคึกคักด้วยผู้คนที่มานั่งดื่มกินยามเย็นที่ร้านอาหารสองข้างทางไปจนถึงอาคาร Banca Nationala a Romaniei ( National Bank of Romania ) ที่เมื่อบ่ายเราเดินมาที่นี่แล้ว
56 57
ตรงต่อไปอีกก็กลับถึงถนน Calea Victoriei อีกที เลี้ยวขวาไปแล้วเดินตรงยาวตามเส้นทางเดียวกับเมื่อตอนบ่ายประมาณ 20 นาทีก็กลับถึงสี่แยกจุดตัดกันของถนน Bulevardul Dacia กับ Calea Victoriei เหมือนเดิม
ข้ามถนนแล้วเลี้ยวขวาเดินไปรอรถเมล์สาย 133 ที่ป้าย ไม่นานรถเมล์ก็มาจอดรับเรากลับไปส่งที่ด้านหลังสถานีรถไฟ Gara de Nord
สรุปแล้ววันนี้เราใช้ตั๋ววันนั่งรถเมล์และรถรางรวมกันแค่ 4 เที่ยวเอง ใช้ไม่ค่อยคุ้มเลย ส่วนมากเดินเอาทั้งนั้น ลองกะระยะทางเดินทั้งหมดดูน่าจะเกือบ 10 กิโลได้ครับ เรียกว่าเดินทนจนขาลากกันเลยทีเดียว 55
ขอแนะนำนะครับว่าให้เช่าจักรยานขี่เที่ยวชมเมืองไปเลยจะดีที่สุดเพราะมีเลนจักรยานแทบทุกถนน สะดวกและปลอดภัยครับ ที่นี่ใช้รถสาธารณะไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่ ครั้นจะเดินเที่ยวทั่วทั้งเมืองแบบเราก็คงจะไม่ไหวสินะ แต่เราก็บ้าทำมันไปซะแล้ว 555
สองทุ่มแล้วแต่ยังไม่มืดเท่าไหร่ เดินเข้าไปในสถานีรถไฟไปออกที่ทางออกเดียวกับตอนที่เพิ่งมาถึงบูคาเรสต์ ข้ามถนนไปที่เกาะกลางถนนที่มีหลุมเต่านินจาที่เล่าให้ฟังไปแล้วตอนต้น ด้วยความสงสัยว่าในหลุมมีอะไร ผมเลยเดินไปดู แต่ยังไม่ทันจะถึงปากหลุมเลย อยู่ดีๆ ก็มีเด็กขอทานปรี่เข้ามาขอตังค์ เด็กหน้าตามอมแมมพูดว่า “ วันเล วันเล ” ซึ่งแปลว่าขอเงิน 1 leu ( 1 RON ) ผมจึงไม่กล้าเดินเข้าไปใกล้หลุมกว่านี้และรีบเดินหนีกลับโรงแรมเลย
เช็คอินและจ่ายค่าห้องพักสำหรับ 2 คน ไป 35 ยูโร ( 155.78 RON ) คิดเป็นเงินไทยคนละ 620 บาท แต่ไม่มีอาหารเช้าให้ ขนของขึ้นลิฟท์ไปที่ห้อง ห้องกว้างขวางดี เตียงใหญ่ ห้องน้ำสะอาด คุ้มค่าสมราคาครับ
59
ขอเล่าเรื่องหลุมที่เกาะกลางถนนหน้าสถานีรถไฟหน่อยนะครับ หลังจากกลับเมืองไทยแล้วบังเอิญไปอ่านเจอข้อมูลจาก SpokeDark.TV ชื่อบทความว่า “ เบื้องหลังความงามของโรมาเนียคือเมืองใต้ดินของผู้คนที่โลกนี้ไม่ต้องการ ” สรุปเรื่องราวได้ว่าเจ้าหลุมประหลาดที่ว่านั้นคือทางลงไปยังบ้านของกลุ่มคนที่สังคมไม่ต้องการ เมื่อลงไปในหลุมจะพบกับระบบเครือข่ายท่อระบาน้ำใต้ดินและอุโมงค์ต่างๆ ใต้ถนนกรุงบูคาเรสต์ ที่นี่คือโลกใต้ดินของผู้ชายที่เรียกตัวเองว่า Bruce Lee คนนอกกฎหมายและนักค้ายาเสพติดที่มีประวัติอาชญากรรมโชกโชน แต่ผู้ชายคนนี้กลับเป็นเสมือนฮีโร่ของเด็กกำพร้า คนจรจัด คนติดยา ผู้ป่วยเอดส์และโรคติดต่อร้ายแรงต่างๆ ที่เข้ามาขอพึ่งพาอาศัยเขา กลุ่มคนที่ไม่สามารถพึ่งพาตัวเองพวกนี้ไม่ได้ต้องการอะไรมากไปกว่าการได้รับความคุ้มครองจากพวกผิดกฎหมายและที่ซุกหัวนอนอุ่นๆ ในยามอากาศหนาวเหน็บ เพื่อจะได้ออกขอทานและลักเล็กขโมยน้อยเลี้ยงปากเลี้ยงท้องได้อย่างปลอดภัยจากการถูกจับกุม
เมื่อเลือกที่จะเข้ามาอยู่ในอาณาจักรใต้ดินของ Lee แล้ว ทุกคนจะต้องมีหน้าที่ความรับผิดชอบ ทุกคนต้องดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพราะในสังคมเบื้องบนคงไม่มีใครให้สนใจและให้โอกาสกับกลุ่มคนใต้ดินพวกนี้
เรื่องราวอันโหดร้ายของสังคมใต้ดินสะท้อนภาพของปัญหาสังคมที่มีอยู่ทั่วกรุงบูคาเรสต์ ไม่น่าแปลกใจที่เราเห็นคนจรจัดและขอทานทั้งผู้ชาย ผู้หญิง คนแก่ หนุ่มสาว ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กเล็ก อยู่กระจัดกระจายตามแหล่งที่มีผู้คนเยอะๆ บางคนดูแทบไม่ออกเลยว่าเป็นขอทาน มันดูเนียนไปกับคนทั่วไปมากๆ เลยครับ เพราะฉะนั้นจะต้องระมัดระวังตัวพอสมควรในขณะกำลังเดินเที่ยวในบูคาเรสต์ แต่ถ้าถามว่ารู้สึกว่าเมืองนี้อันตรายน่ากลัวมั้ย ? ผมว่าไม่น่ากลัวและกังวลเวลาเดินเที่ยวมากเท่ากับกรุงโรมและบางบริเวณของกรุงปารีสนะครับ ถ้าเราหลีกเลี่ยงสถานที่เปลี่ยวและไม่กลับดึกก็ไม่มีอะไรน่ากลัว

เที่ยวกันต่อในวันที่ 11 ของทริป

ในที่สุดวันสุดท้ายในโรมาเนียก็มาถึงหลังจากตระเวนเที่ยวเมืองต่างๆ ของโรมาเนียมา 5 วัน โปรแกรมช่วงเช้าของวันนี้เราจะเที่ยวสถานที่ไฮไลต์ของกรุงบูคาเรสต์ที่เหลือต่อ ตอนบ่ายจะนั่งรถบัสข้ามสะพานมิตรภาพโรมาเนีย-บัลกาเรียข้ามแม่น้ำดานูบที่กั้นขวางดินแดนของ 2 ประเทศเข้าสู่ประเทศสุดท้ายของทริปนี้ นั่นคือ Bulgaria”

8 โมงครึ่ง พร้อมเที่ยวบูคาเรสต์ต่อ ที่หมายของเราคือประตูชัยบูคาเรสต์ จากโรงแรมต้องเดินไปซื้อตั๋ว Abonament fract. 1 zi ( valabil RATB ) ที่ตู้ขายตั๋วด้านหน้าสถานีรถไฟ Gara de Nord เหมือนเมื่อวานอีกคนละใบ ราคาใบละ 8 RON + ค่าบัตรอีก 1.60 RON รวมเป็น 9.60 RON ( ประมาณ 75 บาท ) เพราะตั๋ววันของเมื่อวานหมดอายุแล้ว อย่าแอบใช้อีกนะครับ ถ้าถูกจับได้ขึ้นมาจะถูกปรับ 50 RON เลย

ข้ามถนนไปที่สถานีรถไฟใต้ดินที่หน้าอาคารสถานีรถไฟ เลี้ยวขวาข้ามทางม้าลายและเลี้ยวซ้ายไปรอรถเมล์ที่ป้ายที่ถนน Calea Grivi ț ei ด้านข้างสถานีรถไฟ ขึ้นรถเมล์สาย 282 ไปสแกนตั๋ววันแล้วนั่งไปประมาณ 3 กิโล พอถึงวงเวียนที่มีประตูชัยอยู่ตรงกลางก็ลงจากรถ ( ส่วนสถานีรถไฟใต้ดินที่ใกล้ประตูชัยที่สุดคือสถานี Aviatorilor ที่ Piaţa Charles de Gaulle สามารถเดินราว 1 กิโลเมตร หรือนั่งรถเมล์สาย 131, 282, 331, 335 ไปที่ประตูชัยได้ )

แต่โชคไม่ดีสุดๆ ที่ช่วงนี้ประตูชัยอยู่ระหว่างการซ่อมแซมปิดแผ่นไวนิลรูปประตูชัยไว้ให้ดูต่างหน้า ฮือๆ อดเก็บภาพสถานที่สำคัญอีกแห่งของบูคาเรสต์แล้วลงเฟซหลอกเพื่อนว่าอยู่ดีๆ ก็โผล่มาปารีสซะงั้น 555

Arcul de Triumf ( Triumphal Arch ) หรือประตูชัยบูคาเรสต์นี้สร้างเลียนแบบประตูชัยกรุงปารีสทั้งรูปร่างลักษณะของโค้งประตูตั้งอยู่ที่ Piaţa Arcul de Triumf ประตูชัยแห่งนี้สร้างขึ้นครั้งแรกภายหลังโรมาเนียได้ประกาศอิสรภาพเมื่อปีค.ศ. 1878 แต่สร้างด้วยไม้ทั้งหมด ทำให้ไม่แข็งแรง จึงมีการปรับปรุงอีก 2 ครั้งในปีค.ศ. 1922 และ 1935 ภายใต้การออกแบบของ Petre Antonescu สถาปนิกชาวโรมาเนียน จนมาเสร็จสมบูรณ์อย่างที่เห็นในปัจจุบันในปีค.ศ. 1936 โดยมีความสูง 27.5 เมตร ในวันที่ 1 ธันวาคมของทุกปี กองทัพจะเดินพาเหรดผ่านประตูชัยเพื่อเฉลิมฉลองวันชาติโรมาเนีย
ขอยืมรูปที่เห็นหน้าตาประตูชัยจริงๆ มาให้ชมแทนนะครับ

เดินอ้อมรอบวงเวียนหาทางข้ามถนนไปที่ป้ายรถเมล์ Arcul de Triumf อีกด้านหนึ่งของประตูชัย จากตรงนี้มีรถเมล์สาย 131, 331, 335 ที่ใช้เดินทางไปตึก skyscraper สูงเสียดฟ้าของกรุงบูคาเรสต์ได้ เราขึ้นรถเมล์สาย 335 ไปทางทิศเหนือตามถนน Șoseaua Pavel Dimitrievici Kiseleff ( Strada Republicii ) แค่ป้ายเดียวก็ถึงป้าย Muzeul Satului ถ้าลงที่ป้ายนี้ก็จะถึงทางเข้า Muzeul Na ţ ional al Satului ( Village Museum ) พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่ตั้งอยู่ติดกับทะเลสาบ Lacul Herăstrău ในบริเวณของ Parcul Herăstrău สวนสาธารณะขนาดใหญ่ทางทิศเหนือของบูคาเรสต์
พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมวันจันทร์ 09.00-17.00 น., วันอังคาร-อาทิตย์ 09.00-19.00 น .
ข้อมูลเพิ่มเติมที่ visit Village Museum

เราไม่ได้ลงที่ป้ายนี้แต่นั่งต่อไปลงที่ป้ายหน้าที่ด้านหน้าของ Casa Presei Libere ( House of the Free Press ) หรือที่รู้จักกันว่า Casa Scanteii อาคารขนาดมหึมาตั้งตระหง่านอยู่ที่จัตุรัส Pia ț a Presei Libere ตึก skyscraper สูงเสียดฟ้านี้ออกแบบโดย Horia Maicu เลียนแบบมหาวิทยาลัย Lomonosov กรุงมอสโก ในระหว่างปีค.ศ. 1956-1989 เป็นอาคารสำนักงานใหญ่ของบริษัทสื่อสิ่งพิมพ์และที่ทำการของสื่อสิ่งพิมพ์แทบทุกสื่อในบูคาเราสต์ ปัจจุบันก็ยังคงเป็นที่ทำการของสื่อเหมือนเดิม แต่ก็ใช้เป็นตลาดหุ้นของกรุงบูคาเรสต์ด้วย
ตึก Casa Presei Libere ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของกรุงบูคาเรสต์ห่างจากประตูชัย 1.4 กิโลเมตร และห่างจากศูนย์กลางเมืองที่ Piaţa Unirii ( Union Square ) ประมาณ 7 กิโลเมตร

สิ้นสุดการเที่ยวชมเมืองบูคาเรสต์ที่นี่ครับ ขากลับเราเดินไปทางตึกสูงของ Microsoft România ลัดสวนไปที่ท่ารถเมล์และรถรางใหญ่ที่ Pia ț a Presei หน้าโรงแรม Pullman ที่ตึก World Trade Center นั่งรถเมล์สาย 105 กลับไปลงที่ด้านข้างของสถานีรถไฟ Gara de Nord

เดินตรงตามถนน Calea Griviței กลับโรงแรมไปเช็คเอาท์ ก่อนเที่ยงก็เดินไปสถานีรถไฟใต้ดิน Gara de Nord ลงบันไดไปซื้อตั๋วรถไฟใต้ดินแบบ 2 Călătorii ( 2 trip metro card ) 2 ใบ ราคาใบละ 5 RON ตั๋วแบบ 2 เที่ยวนี้สามารถแบ่งกันใช้ได้ เรามากัน 4 คนจึงซื้อแค่ 2 ใบแล้วใช้กันคนละครั้งครับ

สถานีรถไฟใต้ดินของบูคาเรสต์ดูทันสมัย สะอาด ปลอดภัย ตรงข้ามกับที่เราคิดว่าจะต้องเก่า โทรม สกปรก เหมือนกับสภาพบนบกของบริเวณรอบๆ สถานีรถไฟ คนที่ใช้บริการรถไฟใต้ดินแต่งตัวดีดูเป็นคนทำงานออฟฟิศไม่ใช่ชาวบ้านซอมซ่อที่มักจะขึ้นรถเมล์มากกว่า คล้ายๆ ที่กรุงเทพฯ แหละครับ
ข้อมูลเพิ่มเติมครับ ตั๋วรถไฟใต้ดินของบูคาเรสต์ที่เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวมี 3 ชนิด ดังนี้
– 2 Călătorii ( 2 trip metro menu ) ราคา 5 ron
– 10 Călătorii ( 10 trip metro circuit board ) ราคา 20 ron
– Cartela valabilă 1 zi หรือ Cartela „Abonament zilnic ” ( Daily pass ) ราคา 8 RON ใช้เดินทางโดยรถไฟใต้ดินได้ไม่จำกัดใน 1 วัน
อัพเดทข้อมูลได้ที่ Bucharest transportation system fares
ขึ้นรถไฟใต้ดินสาย M1 ( สีเหลือง ) 1 สถานีไปที่สถานี Piaţa Victoriei และต่อสาย M2 ( สีน้ำเงิน ) อีก 3 สถานีไปลงที่ Pia ţ a Unirii
ขึ้นจากสถานีแล้วเดินไปที่ร้าน Li-Wu เหมือนเมื่อวานเพราะติดใจรสชาติอาหารจีนสไตล์เวียดนาม สั่งอาหารชุดใหญ่มากินกันเต็มที่เลยครับ
ยังมีเวลาเหลืออีกเกือบ 2 ชั่วโมงก่อนจะต้องเดินทางไปสถานีรถบัส Autogara Filaret ไม่รู้จะทำอะไรดีเลยเข้าไป
นั่งชิลล์จิบกาแฟใช้ชีวิตสโลว์ไลฟ์และนั่งเล่นอินเตอร์เน็ตที่ Starbucks ที่ Piaţa Unirii จนถึงบ่ายสามโมง
วิธีการไปสถานีรถบัส Autogara Filaret เพื่อขึ้นรถบัสไปประเทศบัลกาเรียคือ
จาก Pia ţ a Unirii เดินไปที่สี่แยกใหญ่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจัตุรัส ข้ามถนนไปที่ป้ายรถเมล์และรถรางที่เกาะกลางถนนชื่อ Piaţa Unirii

ใช้ตั๋ววันนั่งรถเมล์สาย 232 จากป้ายอีกฝั่งของทางรถราง ( ขึ้นรถรางสาย 7 ก็ได้ ) รถเมล์ออกนอกตัวเมืองไปประมาณ 5 นาที พอรถผ่านวงเวียนขนาดใหญ่ที่จัตุรัส Piața Libertății ก็เห็นอาคารสถานีรถบัส Autogara Filaret อยู่ทางขวามือ ลงรถเมล์แล้วเดินย้อนกลับไปที่ทางเข้าอาคาร

เดินเข้าไปในอาคารเห็นรถบัสของบริษัท Etap-Adress ที่มีโลโก้ Grup plus เขียนป้ายหน้ารถว่า BUCHAREST ROUSSE SOFIA 16.00 จอดรออยู่แล้ว ( Grup plus กับ Etap-Adress คือบริษัทเดียวกัน )

เดินสำรวจรอบๆ อาคารพบว่าที่นี่มีห้องน้ำและห้องอาบน้ำสำหรับคนที่จะใช้รถบัสกลางคืน ถ้าต้องการฝากกระเป๋าก็น่าจะพอฝากได้ แต่ไม่มีร้านแลกเงิน ถ้าเดินทางมาจากประเทศอื่น เช่น บัลกาเรีย มอลโดวา กรีซ ตุรกี แล้วรถบัสจะมาส่งที่สถานีนี้ แนะนำว่าให้แลกเงินโรมาเนียมาจากประเทศที่ออกเดินทางมาเลยเพราะเมื่อมาถึงโรมาเนียที่สถานีรถบัส Filaret แล้วจะไม่มีเงินจ่ายค่ารถเมล์ รถราง หรือแท็กซี่เข้าตัวเมืองบูคาเรสต์ จะเดินเข้าเมืองไปที่ Piaţa Unirii ก็คงจะไม่ไหวนะครับเพราะต้องเดินเกือบ 2 กิโลเลย

ข้อมูลเพิ่มเติมครับ
บูคาเรสต์มีสถานีรถบัสระหว่างประเทศอีกแห่งหนึ่งคือ Autogara Internaţională Rahova S.A. ซึ่งอยู่เลยจาก Autogara Filaret ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้อีกราว 5 กิโลเมตร วิธีการเดินทางไปคือนั่งรถรางสาย 32 จาก Piaţa Unirii ประมาณ 30 นาที ไปลงที่ป้าย Depoul Alexandria แล้วเดินต่ออีก 500 เมตร
เช็คแผนที่เส้นทางรถโดยสารในบูคาเรสต์ได้ที่ Bucharest transportation system route map
เราซื้อตั๋วรถบัส Bucharest – Ruse ราคา 18 BGN ( ประมาณ 330 บาท ) จาก www.etapgroup.com ไว้ล่วงหน้าแล้ว จึงโชว์อีเมลที่ปรินท์มาให้คนขับรถดู ขนกระเป๋าใหญ่ไว้ใต้ท้องรถ แล้วขึ้นรถไปรอเวลารถออกตอน 4 โมงเย็น
รูทนี้เป็นรูทที่คนของทั้งสองประเทศนิยมใช้กันค่อนข้างมากและมีรถแค่เที่ยวเดียวต่อวันด้วย เพื่อความชัวร์ว่ารถจะไม่เต็มจึงควรซื้อตั๋วออนไลน์ล่วงหน้าไปเลยครับ
ตรงเวลา รถบัสออกเดินทางมุ่งหน้าไปทางทิศใต้ประมาณชั่วโมงนึงก็ถึงด่านศุลกากรเหมือนเป็นด่านเก็บเงินค่าผ่านทางบนฝั่งประเทศโรมาเนียในเขตเมือง Giurgiu
จากนั้นรถบัสก็แล่นข้ามแม่น้ำดานูบทาง Podul prieteniei ( Podul de la Giurgiu ) ในภาษาโรมาเนีย หรือ Most na druzhbata ( Мост на дружбата ) ในภาษาบัลกาเรีย สะพานนี้คือ Friendship Bridge หรือสะพานมิตรภาพโรมาเนีย-บัลกาเรีย ซึ่งชาวบ้านเรียกกันง่ายๆ ว่า Dunav most ( Дунав мост ) หรือ Danube Bridge สะพานมีความยาว 2.8 กิโลเมตร เป็น 1 ใน 2 สะพานข้ามแม่น้ำดานูบซึ่งกั้นพรมแดนโรมาเนียและบัลกาเรียเป็นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร เป็นเส้นทางเชื่อมสองประเทศเพื่อนบ้านนี้ทางบกที่สำคัญที่สุด


ลงจากสะพานเข้าสู่เขต Bulgaria ซึ่งเป็นประเทศสุดท้ายของ Danube Trip แล้ว

ให้ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ไม่ได้เดินทางมาบูคาเรสต์ทางบกเหมือนกับเรานะครับ
กรุงบูคาเรสต์มีสนามบินนานาชาติคือ Aeroportul Interna ţ ional Henri Coand ă ( Henri Coandă International Airport ) หรือ Otopeni Airport ( OTP ) ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือห่างจากตัวเมืองบูคาเรสต์ 16.5 กิโลเมตร
จากสนามบิน Henri Coandă สามารถเดินทางเข้าตัวเมืองบูคาเรสต์โดย
– autobuz expres ( Express bus ) สาย 780 ไปที่สถานีรถไฟ Gara de Nord หรือสาย 783 ไปที่ Piaţa Unirii ( Union Square ) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 40-50 นาที ต้องซื้อบัตรก่อนขึ้นรถ ค่ารถเมล์ด่วนราคา 7 RON ( ต้องซื้อแบบ 2 เที่ยว หรือ 2 călătorii EXPRES เท่านั้น ) + ค่าบัตรอีก 1.60 RON
ข้อมูลเพิ่มเติมที่ Express bus to Bucharest Airport

– Henri Coandă Expres รถไฟด่วน โดยใช้บริการ Microbuz จากสนามบินไปที่สถานีรถไฟ Aeroport h. ใช้เวลาเดินทาง 20 นาที รอต่อรถไฟด่วน 15 นาที เข้าเมืองไปที่สถานีรถไฟ Gara de Nord ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง – 1 ชั่วโมง 16 นาที ค่าโดยสารทั้งหมด 6.80 RON
ข้อมูลเพิ่มเติมที่ Henri Coanda Express train
*ห้ามคัดลอกหรือดัดแปลงข้อมูลและรูปภาพเพื่อนำไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาต