สโมสรฟุตบอลซันเดอร์แลนด์ ( อังกฤษ : Sunderland Association Football Club ) ตั้งอยู่ในเมืองซันเดอร์แลนด์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันแข่งขันใน ลีกวัน
สโมสรฟุตบอลซันเดอร์แลนด์ก่อตั้งขึ้นในปี 1879 ภายใต้ชื่อเดิม Sunderland & District Teachers Association ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น Sunderland Association Football Club และเข้าร่วมฟุตบอลลีกอาชีพในปี 1890 โดยในช่วงแรกระหว่างปี 1886-1898 ซันเดอร์แลนด์ได้ใช้สนาม Newcastle Road ร่วมกับ สโมสรนิวคาสเซิลยูไนเต็ด ซึ่งถือเป็นคู่แข่งสำคัญ ต่อมาในปี 1898 ซันเดอร์แลนด์จึงได้ย้ายมาใช้สนามโรเกอร์พาร์ก เป็นสนามเหย้าแห่งใหม่แทน ผลงานในอดีตที่ผ่านมาซันเดอร์แลนด์เคยเป็นแชมป์ลีกสูงสุดของประเทศอังกฤษ 6 ครั้ง ในปี 1892, 1893, 1895, 1902, 1913 และ 1936 และเป็นแชมป์เอฟเอคัพ 2 ครั้ง ในปี 1937 และ 1973 ตามลำดับ

  • ปี 1987-1988

ซันเดอร์แลนด์ทำผลงานได้ย่ำแย่ทำให้ตกชั้นลงไปแข่งขันในระดับดิวิชัน 3 ของอังกฤษเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ต่อมาภายใต้การทำทีมของ Dennis Smith ทำให้ซันเดอร์แลนด์มีผลงานที่ดีขึ้นเป็นลำดับ โดยสามารถคว้าแชมป์ดิวิชัน 3 ได้สำเร็จในฤดูกาลดังกล่าว

  • ปี 1995-1997

ซันเดอร์แลนด์ภายใต้การนำของผู้จัดการทีมคนใหม่ “ ปีเตอร์ รีด ” เพียงแค่ฤดูกาลแรกก็สร้างความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ด้วยการพาทีมขึ้นสู่ระดับพรีเมียร์ลีก ซึ่งเป็นลีกสูงสุดของอังกฤษ หลังจากต้องใช้ความพยายามมาอย่างยาวนาน แต่ในฤดูกาล 1996-1997 ซันเดอร์แลนด์กลับทำผลงานได้ไม่ดีนักทำให้จบฤดูกาลที่อันดับ 18 ต้องตกชั้นกลับไปเล่นในระดับดิวิชัน 1 ตามเดิม และในปีเดียวกันนั้น ซันเดอร์แลนด์ได้ย้ายสนามเหย้าจากสนาม Roker Park ที่เคยใช้งานมากว่า 99 ปี มายังสนามแห่งใหม่คือ สนาม Stadium of Light ที่มีความจุมากที่สุดแห่งหนึ่งในรอบ 70 ปีของสนามกีฬาในอังกฤษ ด้วยจำนวนที่นั่งผู้เข้าชม 42,000 คน ( โดยต่อมาได้ขยายความจุเป็น 49,000 คน )

Reading:

  • ปี 1997-2003

หลังจากใช้ความพยายามร่วม 2 ปี ซันเดอร์แลนด์ก็กลับมาแข่งขันในพรีเมียร์ลีกอีกครั้ง โดยในฤดูกาล 1998-1999 ซันเดอร์แลนด์สามารถทำคะแนนได้สูงถึง 105 คะแนน ซึ่งกลายเป็นสถิติคะแนนสูงสุดในขณะนั้นอีกด้วย สำหรับผลงานในพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 1999-2000 และ 2000-2001 ซันเดอร์แลนด์สามารถทำผลงานได้ดีจบฤดูกาลด้วยอันดับ 7 ทั้งสองฤดูกาล แต่ทว่ายังพลาดโอกาสที่จะไปเล่นฟุตบอลสโมสรยุโรป โดยในฤดูกาล 2001-2002 ซันเดอร์แลนด์ทำผลงานได้ไม่ดีนักแต่ก็สามารถหนีรอดการตกชั้นมาได้อย่างเฉียดฉิวด้วยอันดับ 17 แต่ในฤดูกาล 2002-2003 ซันเดอร์แลนด์ก็ยังทำผลงานได้อย่างย่ำแย่ต่อเนื่อง เมื่อชนะเพียง 4 เกม ยิงได้ 21 ประตู เก็บได้เพียง 19 คะแนน จบด้วยอันดับสุดท้ายของตารางจึงต้องตกชั้นไปในที่สุด โดยเหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้ซันเดอร์แลนด์ตกอยู่ในภาวะหนี้สินท่วมสโมสรมากกว่า 20 ล้านปอนด์ ทำให้จำเป็นต้องขายนักเตะที่ดีที่สุดไปเพื่อชำระหนี้และพยุงสถานการณ์ของสโมสรให้ดีขึ้น

  • ปี 2003-2006

ซันเดอร์แลนด์โดยการทำทีมของ “ มิค แมคคาร์ธธี ” ใช้ความพยายาม 2 ปีจนได้แชมป์ลีก Coca-Cola Championship และได้กับมาเล่นในระดับพรีเมียร์ชิพอีกครั้ง ( ครั้งที่ 3 ในรอบ 10 ปี ) อย่างไรก็ตาม หลังจากจบฤดูกาล 2005-2006 ซันเดอร์แลนด์สามารถชนะได้เพียง 3 เกม และเก็บได้เพียง 15 คะแนนเท่านั้น จบด้วยอันดับสุดท้ายของตารางตกชั้นไปตามคาด โดยในครั้งนั้นซันเดอร์แลนด์ได้คะแนนน้อยที่สุดเป็นประวัติการณ์ของสโมสร ส่งผลให้ มิค แมคคาร์ธธี ต้องออกจากการเป็นผู้จัดการทีมในช่วงกลางฤดูกาลในที่สุด

  • ปี 2006-2007

ความหวังของซันเดอร์แลนด์กลับมาเจิดจ้าอีกครั้ง เมื่อ “ ไนออล ควินน์ ” อดีตนักเตะของซันเดอร์แลนด์ ร่วมกับกลุ่ม Irish Drumaville Consortium ได้เข้าซื้อกิจการของซันเดอร์แลนด์โดยทำการซื้อหุ้นจากประธานสโมสรคนก่อน Bob Murray พร้อมกับแต่งตั้งผู้จัดการทีมคนใหม่คือ “ รอย คีน ” อดีตกัปตันทีมของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เป็นผู้จัดการทีม ซึ่งเป็นอดีตนักเตะทีมชาติไอร์แลนด์ เช่นเดียวกันกับ ไนออล ควินน์ ซึ่งรับตำแหน่งประธานสโมสรในเวลาต่อมา ซึ่งหลังจากการเข้ามาของประธานสโมสรและผู้จัดการทีมคนใหม่ ซันเดอร์แลนด์สร้างสถิติไม่แพ้ใคร 17 นัดติดต่อกัน ในช่วงต้นปี 2007 เก็บคะแนนได้เป็นกอบเป็นกำ ขยับจากตำแหน่งบ๊วยของตารางขึ้นมาเป็นจ่าฝูง และทำให้ซันเดอร์แลนด์เลื่อนชั้นมาเล่นในพรีเมียร์ลีกอย่างรวดเร็วโดยใช้เวลาเพียงปีเดียวในฐานะทีมชนะเลิศ พร้อมกับ เบอร์มิงแฮม ซิตี้ ( อันดับ 2 ) และดาร์บี เคาน์ตี้ ( เพลย์ออฟ )

  • ปี 2007-2010

ฤดูกาล 2007-2008 และ 2009-2010 ซันเดอร์แลนด์ ทำผลงานได้ไม่ดีนักภายใต้การคุมทีมของ รอย คีน และ ริคกี้ สบราเกีย จนต้องหนีการตกชั้นเกือบทั้งฤดูกาล และจบฤดูกาลด้วยอันดับ 15 และ 16 ตามลำดับ ทั้งที่มีนักเตะอย่าง ฌิบริล ซิสเซ่ อดีตหัวหอกลิเวอร์พูล, เคนวิน โจนส์ หัวหอกดาวซัลโวสโมสรฤดูกาล 2007-2008 รวมถึง คีแรน ริชาร์ดสัน อดีตนักเตะของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดด้วย หลังจาก ริคกี้ สบราเกีย ลาออกจากตำแหน่ง “ สตีฟ บรูซ ” อดีตผู้จัดการทีมวีแกนก็เข้ามารับตำแหน่งแทน และได้ดึงนักเตะอย่าง ดาร์เรน เบนท์ กองหน้าจากสเปอร์ส, เฟรเซอร์ แคมป์เบลล์ หัวหอกดาวรุ่งจากแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด รวมถึง เปาโล ดาซิลวา ปราการหลังทีมชาติปารากวัย เข้ามาร่วมทีม การเสริมทัพครั้งนั้นนับว่าน่าสนใจและทำให้ซันเดอร์แลนด์ดูมีอนาคตที่ดีขึ้น โดยในช่วงต้นฤดูกาล 2009-2010 นี้เองในเกมส์ที่พบกับลิเวอร์พูลเกิดเหตุการ์ณที่สร้างความฮือฮาไปทั่ววงการเมื่อดาร์เรน เบนท์ กองหน้าซันเดอร์แลนด์ยิงไปโดนลูกบอลชายหาดที่แฟนบอลลิเวอร์พูลขว้างลงมาในสนาม ทำให้บอลเปลี่ยนทางเข้าประตูไปส่งผลให้ซันเดอร์แลนด์ชนะไป 1-0 และยังสามารถเอาชนะอาร์เซนอลด้วยสกอร์ 1-0 ก่อนที่ช่วงท้ายฤดูกาลซันเดอร์แลนด์จะฟอร์มตกจนหมดโอกาสที่จะลุ้นไปเล่นฟุตบอลยุโรปทั้งที่กองหน้าอย่างดาร์เรน เบนท์ โชว์ฟอร์มได้ยอดเยี่ยมด้วยการยิงไปถึง 24 ประตู

  • ฤดูกาล 2010-2011

ซันเดอร์แลนด์มีการเปลี่ยนแปลงทีมอีกครั้งหนึ่ง เมื่อสโมสรได้ตัดสินใจขายลอริค ซานา และเคนวิน โจนส์ และได้ซื้อ อซาโมอาห์ ฌิยาน กองหน้าชาวกาน่าที่โชว์ฟอร์มได้อย่างยอดเยี่ยมจากศึกฟุตบอลโลก 2010 เข้ามาร่วมทีมด้วยค่าตัวที่เป็นสถิติใหม่ของสโมสรในราคาราว 13 ล้านปอนด์ ครึ่งแรกของฤดูกาลซันเดอร์แลนด์ทำผลงานได้ดี โดยอยู่ตำแหน่งที่สามารถลุ้นไปแข่งขันรายการสโมสรยุโรปได้ อย่างไรก็ดี ในช่วงเปิดตลาดซื้อขายนักเตะช่วงเดือนมกราคม ดาร์เรน เบนท์ ได้ยื่นขอขึ้นบัญชีย้ายทีม และได้ย้ายไปร่วมทีมแอสตันวิลลา ด้วยค่าตัว 18 ล้านปอนด์ โดยทางซันเดอร์แลนด์ได้ซื้อ สเตฟาน เซสเซยง เพลย์เมคเกอร์ ทีมชาติเบนินมาจาก ปารีส แซงแชร์กแมง มาทดแทน และ ยืมตัวซุลลี มุนตารี่ มาจากอินเตอร์มิลาน มาเสริมทีม โดยในช่วงครึ่งหลังของฤดูกาล แม้จะมีปัญหาการขาดหายไปของผู้เล่นชุดใหญ่หลายคนจากอาการบาดเจ็บ โดยเฉพาะกองหน้า แต่สโมสรก็ยังสามารถจบฤดูกาลในครึ่งบนของตารางพรีเมียร์ลีกได้โดยอยู่ในอันดับที่ 10 ตามเป้าที่วางไว้

  • ฤดูกาล 2011-2012

ฤดูกาล 2011-2012 ซันเดอร์แลนด์มีการปรับทัพนักเตะครั้งใหญ่ โดย สตีฟ บรูซ ได้เสริมทัพนักเตะเพิ่มอีก 10 คน โดยมี GK คีแรน เวสท์วูด, DF เวส บราวน์, จอห์น โอ ’ เชีย, MF เซบาสเตียน ลาร์สสัน, เจมส์ แมคคลีน, เดวิด วอห์น, เคร็ก การ์ดเนอร์, FW คอนเนอร์ วิคแฮม, จี ดง วอน, นิคลาส เบนท์เนอร์ ( ยืมตัวมาจากอาร์เซนอล ) แต่ก็ทำผลงานไม่ดีนัก ลงเตะ 13 นัด มีเพียง 11 คะแนน ( จากการชนะ 2 นัด และเสมอ 5 นัด ) พร้อมกับมีเสียงเรียกร้องให้ลาออกจากแฟนบอล โดยหลังจากที่สตีฟ บรูซ ทำทีมแพ้ วีแกน ( ทีมอันดับ 20 ขณะนั้น ) ในบ้านตัวเองด้วยสกอร์ 1-2 ความอดทนก็สิ้นสุดลง สตีฟ บรูซจึงถูกปลดในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2011 โดย เอลลิส ชอร์ท ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งประธานสโมสรต่อจาก ไนออล ควินน์ และเจ้าของสโมสร หลังจากนั้นไม่นานในวันที่ 3 ตุลาคม 2011 ซันเดอร์แลนด์ประกาศแต่งตั้ง “ มาร์ติน โอนีล ” เป็นผู้จัดการทีม และได้เข้าคุมทีมอย่างเป็นทางการนัดแรกในวันที่ 11 ธันวาคม 2554 โดยซันเดอร์แลนด์สามารถคว้าชัยชนะเหนือ แบล็คเบินร์โรเวอร์ ได้ด้วยสกอร์ 2-1 หลังจากนั้นภายใต้การคุมทีมของ มาร์ติน โอนีล ก็ทำให้ซันเดอร์แลนด์มีผลงานที่ดีขึ้นเป็นลำดับและสามารถเก็บแต้มได้อย่างต่อเนื่อง จนได้รับรางวัลผู้จัดการทีมยอดเยี่ยมประจำเดือนธันวาคม 2012 และเป็นที่ชื่นชอบของแฟนบอลได้ในเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้ หลังจากทำแต้มในลีกห่างจากโซนตกชั้นได้แล้ว ยังทำผลงานได้ดี ในรายการฟุตบอลถ้วยเอฟเอคัพ ซึ่งสามารถผ่านเข้ารอบได้ถึงรอบ 8 ทีมสุดท้าย ก่อนที่จะพ่ายให้กับสโมสรเอฟเวอร์ตัน และผลงานในลีกช่วงปลายฤดูกาลเริ่มแผ่วลง ก่อนที่จะจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 13

  • ฤดูกาล 2015-2016

ฤดูกาล 2015-2016 ซันเดอร์แลนด์จบฤดูกาลด้วยการได้อันดับที่ 17 อันเป็นอันดับสุดท้ายที่จะอยู่ในระดับพรีเมียร์ลีกใน ฤดูกาลหน้า

  • ฤดูกาล 2016-2017

ฤดูกาล 2016-2017 ซันเดอร์แลนด์ภายใต้การควบคุมสโมสรโดย เดวิด มอยส์ กลายเป็นสโมสรแรกที่ตกชั้นในเล่นในระดับ เดอะแชมเปียนชิป ด้วยการอยู่อันดับที่ 20 อันดับสุดท้ายในตารางคะแนน ทั้งที่ยังไม่สิ้นสุดฤดูกาล โดยในนัดที่ 34 แพ้ต่อ เบิร์นลีย์ ที่สนามสเตเดียมออฟไลฟ์ของตนเองไป 0-1 มีเพียง 21 คะแนน เท่ากับว่าในนัดที่เหลือไม่สามารถทำคะแนนไล่ตามสโมสรอื่นได้ทันแล้ว [ 1 ]
ในช่วงแรกของการก่อตั้งสโมสร ( ระหว่างปี 1886-1898 ) ซันเดอร์แลนด์ได้ใช้สนาม Newcastle Road ร่วมกับ Newcastle Unted ทีมคู่ปรับร่วมเมืองทำให้ทั้งสองสโมสรกลายเป็นทีมคู่แข่งกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จากนั้นในปี 1898 ซันเดอร์แลนด์จึงได้ย้ายมาใช้สนาม Roker Park เป็นสนามเหย้าแทน และได้ใช้สนามแห่งนี้เป็นสนามเหย้ามาเป็นเวลาถึง 99 ปี ก่อนที่จะสร้างสนามแห่งใหม่คือสนาม Stadium of Light เพื่อใช้แข่งขันแทนสนามเดิมในปี 1997 และหลังจากนั้นซันเดอร์แลนด์ก็ใช้สนามดังกล่าวเป็นสนามเหย้ามาจนถึงปัจจุบัน

  • แผนการสร้างสนามใหม่

ปี 1996 สโมสรได้ว่าจ้างให้ บริษัท Ballast Wiltsher จำกัด ( มหาชน ) ( บริษัทผู้สร้างสนาม Amsterdam Arena ) เป็นผู้สร้างสนามแห่งใหม่ของสโมสรด้วยงบประมาณ 15 ล้านปอนด์ โดยสามารถรองรับผู้เข้าชมได้ถึง 42,000 คน และยังออกแบบให้สามารถเพิ่มขนาดของอัฒจันทร์ให้มีความจุได้สูงถึง 66,000 คนในอนาคต ในระหว่างการก่อสร้างสนามแห่งใหม่นี้สโมสรยังไม่ได้มีการกำหนดชื่อไว้ก่อน แต่ได้มีการเรียกกันในหมู่แฟนบอลว่า Wearmouth หรือ Monkwearmounth Stadium จนในที่สุดประธานสโมสรก็ได้ตัดสินใจเลือกใช้ชื่อ Stadium of Light อันเป็นชื่อที่เขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากสนามของ Benfica ในเมือง Lisbon ที่ชื่อ Estadio district attorney Lus ( แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Stadium of Light ) โดยชื่อนี้มีที่มาจากตะเกียงส่องไฟของคนทำเหมือง ซึ่งสอดคล้องกับที่ตั้งของสนามแห่งนี้ที่ตั้งอยู่บนเหมืองถ่านหินเก่า และแฟนบอลของซันเดอร์แลนด์หลายพันคนก็มีอาชีพทำเหมืองด้วยเช่นกัน จึงเป็นชื่อที่มีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง
สนาม Stadium of Light ด้านนอก สนาม Stadium of Light ด้านใน

  • สนาม Stadium of Light

สนาม Stadium of Light ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 1997 โดยมีเจ้าชาย Andrew, Duke of York เป็นประธานในพิธี ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการแข่งขันนัดพิเศษระหว่างซันเดอร์แลนด์กับ Ajax Amsterdam ( ทีมจากลีกเนอเธอร์แลนด์ ) เป็นนัดเปิดสนามอีกด้วย หลังจากนั้นสโมสรก็ใช้สนามแห่งนี้เป็นสนามเหย้าตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

Read more: S.S. Lazio

ในฤดูกาลแรกที่เปิดใช้สนาม ขณะนั้นซันเดอร์แลนด์แข่งขันอยู่ในลีกระดับดิวิชัน 1 ( ใหม่ ) มีผู้เข้าชมเกมการแข่งขันในสนามเฉลี่ยนัดละประมาณ 30,000 คน และในเกมสำคัญบางเกมสูงสุดถึง 40,000 คน แต่ในฤดูกาลถัดมา ( 1998-1999 ) ซันเดอร์แลนด์สามารถทำผลงานได้อย่างดีเยี่ยมจนสามารถเลื่อนชั้นมาเล่นในระดับพรีเมียร์ลีกได้ จึงทำให้มีผู้เข้าชมเกมการแข่งขันเฉลี่ยสูงถึง 40,000 คน โดยในฤดูกาล 1999-2000 สนามเหย้าของซันเดอร์แลนด์จัดเป็นสนามแข่งขันที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของสโมสรอังกฤษรองจาก Manchester United และ Newcastle Unted เท่านั้น ต่อมาในปี 2000 สโมสรได้ทุ่มงบประมาณอีก 7 ล้านปอนด์เพื่อขยายอัฒจันทร์ด้านทิศเหนือ ทำให้ปัจจุบันสนาม Stadium of Light สามารถจุผู้เข้าชมได้สูงถึง 49,000 คนเลยทีเดียว ปัจจุบันสนาม Stadium of Light ยังเป็นสนามฟุตบอลอย่างเป็นทางการของมหาวิทยาลัยซันเดอร์แลนด์ ( University of Sunderland ) ตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา นอกจากนี้ สนามแห่งนี้ยังเคยถูกใช้เป็นสนามแข่งขันฟุตบอลระดับชาติครั้งแรกเมื่อปี 1999 ซึ่งเป็นการแข่งขันนัดกระชับมิตรระหว่างทีมชาติอังกฤษกับทีมชาติเบลเยียม และในการแข่งขันฟุตบอล Euro 2004 รอบคัดเลือกระหว่างทีมชาติอังกฤษกับทีมชาติตุรกี
ในอดีตซันเดอร์แลนด์ใช้ชุดแข่งขันทีมเหย้าเป็นสีน้ำเงินล้วนโดยมีสีแดงเพียงเล็กน้อยบนบ่าเท่านั้น ต่อมาซันเดอร์แลนด์จึงได้เปลี่ยนชุดแข่งขันทีมเหย้ามาเป็นสีแดงสลับขาวตั้งแต่ปี 1887 เป็นต้นมา ทำให้สีแดงสลับขาวกลายเป็นสีประจำสโมสรตั้งแต่นั้นมาจนถึงฤดูกาลปัจจุบัน ( ฤดูกาล 2011-2012 )
ในอดีตที่ผ่านมาซันเดอร์แลนด์เคยมีชื่อเล่นที่เรียกกันหลายชื่อ เช่น Rokerites และ Rokermen เป็นต้น แต่หลังจากที่ซันเดอร์แลนด์ย้ายสนามเหย้าจาก Roker Park มาเป็น Stadium of Light ตั้งแต่ปี 1997 เป็นต้นมา ชื่อเล่นดังกล่าวจึงไม่มีความสัมพันธ์กับสโมสรอีกต่อไป ดังนั้น ซันเดอร์แลนด์จึงเปิดโอกาสให้แฟนบอลของสโมสรมีส่วนร่วมในการตั้งชื่อเล่นใหม่ให้กับสโมสร โดยในครั้งนั้นมีแฟนบอลเข้ามาร่วมตั้งชื่อเล่นให้กับสโมสรอย่างมากมาย ซึ่งสโมสรได้คัดเลือกชื่อที่มีความเหมาะสมและเป็นที่นิยมออกมาจำนวน 5 ชื่อ อันได้แก่ the Black Cats, the Light Brigade, the Miners, the Sols and the Mackems เพื่อให้แฟนบอลได้โหวตลงคะแนนเพื่อเลือกชื่อเล่นให้กับซันเดอร์แลนด์ในรอบสุดท้ายผ่านทางเว็บไซด์ของสโมสร ผลปรากฏว่าชื่อ the Black Cats หรือ แมวดำ ได้รับคะแนนโหวตอย่างท่วมท้นจากแฟนบอล ( ราว 11,000 คะแนน ) หรือคิดเป็นคะแนนโหวตถึงครึ่งหนึ่งจากทั้งหมดเลยทีเดียว ดังนั้น The Black Cats หรือ แมวดำ จึงกลายเป็นชื่อเล่นอย่างเป็นทางการของซันเดอร์แลนด์ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา

ณ วันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 2021 [2]

หมายเหตุ : ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของ ฟีฟ่า ตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
หมายเหตุ : ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของ ฟีฟ่า ตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

ณ วันที่ 2 กันยายน 2021 [3]

หมายเหตุ : ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของ ฟีฟ่า ตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
หมายเหตุ : ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของ ฟีฟ่า ตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

ณ วันที่ 2 กันยายน 2021 [4]
ณ วันที่ 2 กันยายน 2021 [5]

ระยะเวลา
ผู้จัดการทีม
สัญชาติ
แข่ง
ชนะ
เสมอ
แพ้
%ชนะ

29 มี.ค. 1995 – 7 ต.ค. 2002
ปีเตอร์ รีด
อังกฤษ
353
159
95
99
45.04

10 ต.ค. 2002 – 10 มี.ค. 2003
โฮเวิร์ต วิลกินสัน
อังกฤษ
27
4
8
15
14.81

12 มี.ค. 2003 – 6 มี.ค. 2006
มิค แม็คคาร์ธี
สาธารณรัฐไอร์แลนด์
147
63
26
58
42.86

7 มี.ค. 2006 – 31 พ.ค. 2006
เควิน บอลล์
อังกฤษ
10
1
2
7
10.00

25 ก.ค. 2006 – 30 ส.ค. 2006
ไนออล ควินน์
สาธารณรัฐไอร์แลนด์
6
1
0
5
16.67

30 ส.ค. 2006 – 4 ธ.ค. 2008
รอย คีน
สาธารณรัฐไอร์แลนด์
100
42
17
41
42.00

4 ธ.ค. 2008 – 24 พ.ค. 2009
ริคกี้ สบราเกีย
สกอตแลนด์
26
6
7
13
23.08

3 มิ.ย. 2009 – 30 พ.ย. 2011
สตีฟ บรูซ
อังกฤษ
98
29
28
41
29.59

30 พ.ย. 2011 – 3 ธ.ค. 2011
อีริค แบล็ค
สกอตแลนด์
1
0
0
1
0.00

3 ธ.ค. 2011 – 30 มี.ค. 2013
มาร์ติน โอนีลล์
ไอร์แลนด์เหนือ
54
19
16
19
35.19

31 มี.ค. 2013 – 22 ก.ย. 2013
เปาโล ดิ คานิโอ
อิตาลี
13
3
3
7
23.08

22 ก.ย. 2013 – 8 ต.ค. 2013
เควิน บอลล์
อังกฤษ
3
1
0
2
33.33

8 ต.ค. 2013 – 16 มี.ค. 2015
กุสตาโว โปเยต์
อุรุกวัย
75
23
22
30
30.67

17 มี.ค. 2015 – 4 ต.ค. 2015
ดิก อัดโฟกาต
เนเธอร์แลนด์
9
3
3
3
33.33

9 ต.ค 2015 – ปัจจุบัน
แซม อัลลาร์ไดซ์
อังกฤษ
0
0
0
0
0

หมายเหตุ : กุสตาโว โปเยต์ ข้อมูล ณ 03/05/2014

  • ตารางคะแนน (ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งพรีเมียร์ลีก)

เลื่อนชั้น คงที่ ตกชั้น

ฤดูกาล/ค.ศ.
การแข่งขัน
อันดับ
แข่ง
ชนะ
เสมอ
แพ้
ประตูได้
ประตูเสีย
ผลต่างประตู
คะแนน

1992-1993
ดิวิชัน 1 (เดิม)
21
46
13
11
22
50
64
-14
50

1993-1994
ดิวิชัน 1 (เดิม)
12
46
19
8
19
54
57
-3
65

1994-1995
ดิวิชัน 1 (เดิม)
20
46
12
18
16
41
45
-4
54

1995-1996
ดิวิชัน 1 (เดิม)
1
46
22
17
7
59
33
+20
83

1996-1997
พรีเมียร์ลีก
18
38
10
10
18
35
53
-18
40

1997-1998
ดิวิชัน 1 (เดิม)
3
46
26
12
8
86
50
+36
90

1998-1999
ดิวิชัน 1 (เดิม)
1
46
31
12
3
91
28
+63
105

1999-2000
พรีเมียร์ลีก
7
38
16
10
12
57
56
+1
58

2000-2001
พรีเมียร์ลีก
7
38
15
12
11
46
41
+5
57

2001-2002
พรีเมียร์ลีก
17
38
10
10
18
29
51
-22
40

2002-2003
พรีเมียร์ลีก
20
38
4
7
27
21
65
-44
19

2003-2004
ดิวิชัน 1 (เดิม)
3
46
22
13
11
62
45
-17
79

2004-2005
แชมเปี้ยนชิพลีก
1
46
29
7
10
76
41
+35
94

2005-2006
พรีเมียร์ลีก
20
38
3
6
29
26
69
-43
15

2006-2007
แชมเปี้ยนชิพลีก
1
46
27
7
12
76
47
+29
88

2007-2008
พรีเมียร์ลีก
15
38
11
6
21
36
59
-23
39

2008-2009
พรีเมียร์ลีก
16
38
9
9
20
34
54
-20
36

2009-2010
พรีเมียร์ลีก
13
38
11
11
16
48
56
-8
44

2010-2011
พรีเมียร์ลีก
10
38
12
11
15
45
56
-11
47

2011-2012
พรีเมียร์ลีก
13
38
11
12
15
45
46
-1
45

2012-2013
พรีเมียร์ลีก
17
38
9
12
17
41
54
-13
39

2013-2014
พรีเมียร์ลีก
14
38
10
8
20
41
60
-19
38

2014-2015
พรีเมียร์ลีก
16
38
7
17
14
31
53
-22
38

ระยะเวลา 117 ปี ( 76 ปีในลีกสูงสุด ) ซันเดอร์แลนด์เล่นไปแล้วกว่า 4,700 นัด โดยเฉลี่ยชนะ 41 % เสมอ 24 % และแพ้ 35 % ซึ่งรวมทั้งหมดแล้วประตูได้เสีย รวมแล้วได้มากกว่าเสียประมาณ 600 ประตู

  • สถิติผู้ชม
    • ผู้ชมสูงสุด (รวมทุกรายการ): 75,118 (ดาร์บี้ เค้าท์ตี้ – เอฟเอคัพ รอบที่ 6 นัดแข่งใหม่ – 8 มีนาคม 1933 – สนามโรเกอร์พาร์ก)
    • ผู้ชมสูงสุด (เกมลีก): 68,004 (นิวคาสเซิลยูไนเต็ด – 4 มีนาคม 1950) โดยมีการคาดการว่าอาจมีผู้ชมเข้าชมมากถึง 90,000 ในเกมที่พบกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในปี 1964 ที่สนามโรเกอร์พาร์ก
    • ผู้ชมสูงสุด (สนามสเตเดียมออฟไลต์): 48,355 (ลิเวอร์พูล – พรีเมียร์ลีก – 13 เมษายน 2002) นอกจากนี้สถิติที่เคยทำได้สูงสุดหลังจากไม่ได้เล่นในระดับลีกสูงสุดคือ 47,350 (สโตคซิตี้ – ลีกแชมเปียนชิพ – 8 พฤษภาคม 2005)
    • ผู้ชมน้อยที่สุด (รวมทุกรายการ): 1,000? (ประมาณการตัวเลข) (Firefield – เอฟเอคัพรอบแรก – 2 กุมภาพันธ์ 1895 – สนามนิวคาสเซิลโร้ด)
    • ผู้ชมน้อยที่สุด (เกมลีก): 2,000? (ประมาณการตัวเลข และทั้งสองเกมแข่งที่โรเกอร์พาร์ก) (เอฟเวอร์ตัน – 10 เมษายน 1910 หรือ เบิร์นลี่ย์ – 12 ธันวาคม 1914)
    • ผู้ชมน้อยที่สุด (สนามสเตเดียมออฟไลต์): 11,450 (เชสเตอร์ซิตี้ – ลีกคัพรอบแรก – 24 สิงหาคม 2004)
    • ผู้ชมน้อยที่สุด (สนามสเตเดียมออฟไลต์, เกมลีก): 22,167 (วีแกนแอทเลติค – 2 ธันวาคม 2003)
    • ผู้ชมสูงสุดโดยเฉลี่ย (รวมทุกรายการ): 47,976 (1949-1950 – โรเกอร์พาร์ก)
    • ผู้ชมสูงสุดโดยเฉลี่ย (สนามสเตเดียมออฟไลต์): 46,790 (2000-2001)
    • ผู้ชมสูงสุดเปรียบเทียบกับพื้นที่อัฒจันทร์: 97% (1999-2000)
  • ผลการแข่งขัน
    • ชนะมากที่สูงสุด (เกมลีก): 1-9 (นิวคาสเซิลยูไนเต็ด – 5 ธันวาคม 1908)
    • ชนะมากที่สูงสุด (ฟุตบอลถ้วย): 11-1 (Fairfield – 2 กุมภาพันธ์ 1895)
    • แพ้มากที่สุด: 8-0 (เชฟฟิลด์เวนสเดย์ – 26 ธันวาคม 1911, เวสต์แฮมยูไนเต็ด – 19 ตุลาคม 1968 และวัตฟอร์ด – 25 กันยายน 1982)
  • ผู้เล่น
    • ลงเล่นมากที่สุดตลอดกาล: 623 นัด – Jimmy Montgomery (เกมลีก 537, ฟุตบอลถ้วย 78 และอื่นๆ 8 นัด)
    • ทำประตูมากที่สุดตลอดกาล: 228 ประตู – Bobby Gurney
    • ทำประตูมากที่สุดเมื่อเร็วๆ นี้: 113 ประตู – Kevin Phillips
    • ทำประตูมากที่สุดในหนึ่งฤดูกาล: 43 ประตู – Dave Halliday ฤดูกาล 1928-29
  • ผลการแข่งขันต่อเนื่อง
    • ชนะติดต่อกันนานที่สุด: 13 เกม (14 พฤศจิกายน 1891 – 2 เมษายน 1982)
    • เสมอติดต่อกันนานที่สุด: 6 เกม (26 มีนาคม 1949 – 19 เมษายน 1949)
    • แพ้ติดต่อกันนานที่สุด: 17 เกม (18 มกราคม 2003 – 23 สิงหาคม 2003)
    • ไม่แพ้ติดต่อกันนานที่สุด: 19 เกม (3 พฤษภาคม 1998 – 11 พฤศจิกายน 1998)
    • ไม่ชนะติดต่อกันนานที่สุด: 22 เกม (21 ธันวาคม 2002 – 23 สิงหาคม 2003)
  • คะแนน
    • คะแนนสูงสุดในหนึ่งฤดูกาล: 105 คะแนน (ดิวิชัน 1 ฤดูกาล 1998-99) (เป็นบันทึกในฟุตบอลลีกของอังกฤษ)
    • คะแนนน้อยที่สุดในหนึ่งฤดูกาล: 15 คะแนน (พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2005-06)
  • นักเตะที่ทำประตูสูงสุด (ลีก)

ฤดูกาล/ค.ศ.
ชื่อ
สัญชาติ
ตำแหน่ง
ประตู

1992-1993
Don Goodman
อังกฤษ
FW
16

1993-1994
Phil Gray
ไอร์แลนด์เหนือ
FW
14

1994-1995
Phil Gray
ไอร์แลนด์เหนือ
FW
12

1995-1996
Craig Russell
อังกฤษ
FW
13

1996-1997
Craig Russell
อังกฤษ
FW
4

Paul Stewart
อังกฤษ
FW
4

1997-1998
Kevin Phillips
อังกฤษ
FW
29

1998-1999
Kevin Phillips
อังกฤษ
FW
23

1999-2000
Kevin Phillips
อังกฤษ
FW
30

2000-2001
Kevin Phillips
อังกฤษ
FW
14

2001-2002
Kevin Phillips
อังกฤษ
FW
11

2002-2003
Kevin Phillips
อังกฤษ
FW
6

2003-2004
Marcus Stewart
อังกฤษ
FW
14

2004-2005
Marcus Stewart
อังกฤษ
FW
16

2005-2006
Liam Lawrence
อังกฤษ
MF
3

Anthony Le Tallec
ฝรั่งเศส
FW
3

Tommy Miller
อังกฤษ
MF
3

Dean Whitehead
อังกฤษ
DF
3

2006-2007
David Connolly
อังกฤษ
FW
13

2007-2008
Kenwyne Jones
ตรินิแดดและโตเบโก
FW
7

2008-2009
Djibril Cissé
ฝรั่งเศส
FW
10

Kenwyne Jones
ตรินิแดดและโตเบโก
FW
10

2009-2010
Darren Bent
อังกฤษ
FW
24

2010-2011
Asamoah Gyan
กานา
FW
10

2011-2012
Stephane Sessegnon
กานา
FW
7

Sebastian Larsson
สวีเดน
MF
7

2012-2013
Steven Fletcher
สกอตแลนด์
FW
11

2013-2014
Adam Johnson
อังกฤษ
MF
8

Read more: Sevilla FC

  • ฟุตบอลลีกอังกฤษ

การแข่งขัน

ประเภทรางวัล

จำนวนครั้ง

ฤดูกาล/ค.ศ.

ลีกสูงสุด

แชมป์ดิวิชัน 1 (เดิม)

6

1891-1892, 1892-1893, 1894-1895, 1901-1902, 1912-1913, 1935-1936

รองแชมป์ดิวิชัน 1 (เดิม)

5

1893-1894, 1897-1898, 1900-1901, 1922-1923, 1934-1935

ลีกอันดับ 2

แชมป์ดิวิชัน 2 (เดิม)

1

1975-1976

รองแชมป์ดิวิชัน 2 (เดิม)

1

1963-1964

แชมป์ดิวิชัน 1 (เดิม)

2

1995-1996, 1998-1999

แชมป์แชมเปี้ยนชิพ

2

2004-2005, 2006-2007

ลีกอันดับ 3

แชมป์ดิวิชัน 3 (เดิม)

1

1987-1988

  • ฟุตบอลถ้วยอังกฤษ

การแข่งขัน

ประเภทรางวัล

จำนวนครั้ง

ฤดูกาล/ค.ศ.

ฟุตบอลถ้วย

แชมป์เอฟเอคัพ

2

1937, 1973

รองแชมป์เอฟเอคัพ

2

1913, 1992

รองแชมป์ลีกคัพ

2

1985, 2014

แชมป์ Charity Shield

1

1936

รองแชมป์ Charity Shield

1

1937

แชมป์ EFL Trophy

1

2021

รองแชมป์ EFL Trophy

1

2019

  • อื่นๆ

การแข่งขัน

ประเภทรางวัล

จำนวนครั้ง

ฤดูกาล/ค.ศ.

รายการ

รางวัล BBC Sports Personality Team of the Year

1

1973

Football World Championship

1

1895

รองแชมป์พรีเมียร์ลีกเอเชียโทรฟี

1

2013