สาธารณรัฐไอซ์แลนด์

Republic of Iceland


ข้อมูลทั่วไป

Reading:

ที่ตั้ง สาธารณรัฐไอซ์แลนด์เป็นเกาะอยู่ใต้เส้นอาร์กติก เซอร์เคิล ( Arctic Circle ) ทางตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติกตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะกรีนแลนด์ทางทิศตะวันตกของนอร์เวย์และทางทิศเหนือของสกอตแลนด์
ขนาด 103,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 39,769 ตารางไมล์
ภูมิอากาศ ไอซ์แลนด์ตั้งอยู่ในเขตโอเชียนิก ( Oceanic Zone ) มีฤดูร้อนที่สั้นและเย็น มีฤดูหนาวที่ยาวนานแต่ไม่หนาวจัด อุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนกรกฎาคมเดือนที่ร้อนที่สุดประมาณ 11 องศาเซลเซียส และในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นเดือนที่หนาวที่สุดประมาณ -1 องศาเซลเซียล ไอซ์แลนด์มีน้ำพุร้อนและมีกระแสน้ำอุ่นไหลผ่านจึงทำให้ไม่หนาวจนเกินไปและ โดยที่ไอซ์แลนด์มีพื้นที่ไม่กว้างใหญ่นัก อุณหภูมิภายในประเทศจึงไม่แตกต่างกันมาก
ประชากร ประมาณ 331,918 ( 2558 )
เมืองหลวง กรุงเรคยาวิก ( Reykjavik )
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ( GDP ปี 2558) 16.60 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ภาษา ไอซ์แลนดิก ( Icelandic ) เป็นภาษาราชการ
ศาสนา ประชาชนส่วนใหญ่ ( 93 % ) นับถือศาสนาคริสต์ นิกาย Evangelical Lutheran Church
มาตราวัด ใช้ระบบเมตริก
เงินตรา ใช้สกุลเงินโครนไอซ์แลนด์ ( Icelandic Kroner – ISK ) 1 โครนไอซ์แลนด์ ประมาณ 0.31 บาท ( ณ วันที่ 4 มกราคม 2560 )
การปกครอง ระบบประชาธิปไตย ( สาธารณรัฐ ) โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 เขต โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ ( อยู่ในตำแหน่งวาระละ 4 ปี มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ) และประธานาธิบดี จะแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีขึ้นบริหารประเทศโดยรับผิดชอบอำนาจบริหารร่วมกัน ส่วนอำนาจนิติบัญญัตินั้นมี Althingi ( รัฐสภา ) เป็นสภาเดียว ประกอบด้วยสมาชิกสภา 63 คน ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งวาระ 4 ปี
ประธานาธิบดี นาย Gudni Johannesson ( เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2559 )
รักษาการนายกรัฐมนตรี นาย Sigurdur Johannsson
รักษาการรัฐมนตรีต่างประเทศ นาง Lilja Dogg Alfredsdottir
ประเทศคู่ค้า นอร์เวย์ เยอรมนี เดนมาร์ก สวีเดน สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น อิตาลี ฝรั่งเศส สหรัฐฯ สเปน และสวิตเซอร์แลนด์
สินค้านำเข้า   สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป และกึ่งสำเร็จรูป เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ สบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง เคมีภัณฑ์
สินค้าส่งออก ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เงินแท่งและทองคำ สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เคมีภัณฑ์ เครื่องมือเครื่องใช้วิทยาศาสตร์ การแพทย์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
การเมืองการปกครอง
ไอซ์แลนด์ได้รับเอกราชเมื่อปี 2452 แต่อยู่ภายใต้ราชวงศ์เดนมาร์ก ( under the Danish peak ) และต่อมาประชาชนไอซ์แลนด์ได้ลงคะแนนเสียงให้ไอซ์แลนด์เป็นสาธารณรัฐเมื่อวันที่17 มิถุนายน 2487
การเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2556 ผลปรากฏว่า พรรค Independence ได้รับเสียงมากที่สุดโดยได้ที่นั่ง 21 ที่นั่ง โดยมีนาย Sigmundur Davíð Gunnlaugsson ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และนาย Gunnar Bragi Sveinsson ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เมื่อต้นเดือน เม.ย. 2559 นาย Gunnlaugsson ได้ถอนตัวจากตำแหน่งหลังจากที่ได้รับแรงกดดันจากหลายฝ่าย สืบเนื่องจากกรณี “ Panama Papers ” และเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2559 รัฐบาลไอซ์แลนด์ชุดใหม่นำโดยนาย Sigurdur Johannsson ได้เข้ารับตำแหน่ง อย่างไรก็ตาม การประท้วงและแรงกดดันจากประชาชนทำให้รัฐบาล ตกลงจัดการเลือกตั้งในวันที่ 29 ต.ค. 2559 ซึ่งผลปรากฏว่า 3 พรรคที่ได้คะแนนเสียงมากที่สุด ได้แก่ พรรค Independence Party ( 21 ที่นั่ง ) พรรค Left-Green Movement ( 10 ที่นั่ง ) และพรรค Pirate ( 10 ที่นั่ง ) ทั้งนี้ การเจรจาจัดตั้งรัฐบาลยังไม่ได้ข้อสรุป รัฐบาลเดิมจึงทำหน้าที่เป็นรัฐบาลรักษาการไปจนกว่าจะมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่

เศรษฐกิจการค้า
สภาวะทางเศรษฐกิจ
1. การพัฒนาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไอซ์แลนด์ดำเนินไปในลักษณะเช่นเดียวกับการพัฒนาเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย คือ เป็นระบบทุนนิยม โดยมีระบบสวัสดิการที่ครอบคลุมแม้กระทั่งสวัสดิการที่อยู่อาศัย การกระจายรายได้อย่างค่อนข้างเท่าเทียมกัน การให้ความสำคัญแก่การค้าเสรี และการมีอัตราการว่างงานที่ต่ำ

  1. ไอซ์แลนด์ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจยุโรปรุนแรงในช่วงปี 2551 และกลายเป็นประเทศตะวันตกประเทศแรกที่เข้าขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF แต่เศรษฐกิจกลับฟื้นและเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปลายปี 2553 โดยในปี 2558 IMF ได้ประกาศว่า ไอซ์แลนด์ได้พื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจแล้ว สำหรับปี 2559 Economic Intelligence Unit ได้คาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจยู่ที่ร้อยละ 4.2 จากอุปสงค์ในประเทศที่แข็งแกร่งและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่กำลังเฟื่องฟู นอกจากนี้ มาตรการการเปิดเสรีบัญชีทุนเคลื่อนย้ายก็จะมีส่วนช่วยเกื้อหนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจด้วย
    3. ไอซ์แลนด์มีระดับมาตรฐานการครองชีพที่นับว่าสูงที่สุดประเทศหนึ่งในโลก แหล่งรายได้ที่สำคัญของไอซ์แลนด์ คือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและประมง โดยประเทศที่เป็นเป้าหมายส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สหราชอาณาจักร เยอรมนี สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเดนมาร์ก ส่วนประเทศที่นำเข้าสินค้าจากไอซ์แลนด์ที่สำคัญ ได้แก่ เยอรมนี นอร์เวย์ สหราชอาณาจักร และเดนมาร์ก ระบบเศรษฐกิจของไอซ์แลนด์จึงขึ้นอยู่กับการค้าระหว่างประเทศเป็นสำคัญ นอกจากนี้ ไอซ์แลนด์มีนโยบายสนับสนุนการส่งออกกระแสไฟฟ้าพลังน้ำและที่ได้รับความร้อนจากใต้ดิน (Geothermal and hydropower) ซึ่งคาดว่าในอนาคตจะเป็นแหล่งที่มาของรายได้เข้าประเทศที่สำคัญอีกสาขาหนึ่ง

ดรรชนีทางเศรษฐกิจ (255 8)
1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ( GDP ) : 16.60 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
GDP ต่อหัว : 50,173.3 ดอลลาร์สหรัฐ
2. อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ : ร้อยละ 4.0
3. อัตราเงินเฟ้อ : ร้อยละ 1.6

  1. อัตราการว่างงาน: ร้อยละ 3.0
  2. การค้าระหว่างประเทศ

– นำเข้า : 4,324 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
– ส่งออก : 4,176 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

Read more: Wikipedia

– ดุลการค้าระหว่างประเทศ : คาดดุล 148 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
6. ประเทศคู่ค้าสำคัญ : สหภาพยุโรป สหรัฐฯ จีน นอร์เวย์ ญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
7. สินค้านำเข้าสำคัญ : สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป และกึ่งสำเร็จรูป เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ สบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง เคมีภัณฑ์
8. สินค้าส่งออกสำคัญ : ผลิตภัณฑ์ โลหะ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เงินแท่งและทองคำ สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เคมีภัณฑ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาตร์ การแพทย์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐไอซ์แลนด์
ความสัมพันธ์ทางการทูต
– ไอซ์แลนด์กับไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2518 โดยฝ่ายไทยได้มอบหมายให้ไอซ์แลนด์อยู่ในเขตอาณาของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน และมีนาย Kjartan Borg เป็นกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยประจำประเทศไอซ์แลนด์ด้วย ( ปัจจุบันมีนาง Anna Olafsdottir ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ) อนึ่ง เมื่อวันที่ 24 พ.ย. ครม. มีมติอนุมัติการปรับและกำหนดเขตอาณาของ สอท. ในต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการปรับให้ สอท. กรุงออสโล มีเขตอาณาครับคลุมไอซ์แลนด์แทน สอท. กรุงโคเปนเฮเกน โดยมีผลเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ออท. ประจำเดนมาร์ก เนื่องจาก ออท. คนปัจจุบันได้ยื่นพระราชสาส์นกับไอซ์แลนด์แล้ว
– สำหรับไอซ์แลนด์ได้แต่งตั้งให้นาย Stefan Skjaldarson เอกอัครราชทูตไอซ์แลนด์ ถิ่นพำนัก ณ กรุงปักกิ่ง ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไอซ์แลนด์ประจำประเทศไทย ( เข้ารับหน้าที่เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2558 ) และมีนายชำนาญ วีรวรรณ เป็น กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไอซ์แลนด์ประจำประเทศไทย และนาย Poul Weber เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ฯ ตั้งแต่ปี 2540
ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
การค้า การค้า ช่วง ม.ค. – พ.ย. 2559 การค้ารวมระหว่างไทยกับไอซ์แลนด์มีมูลค่า 15.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 6.63 ) ไทยส่งออก 5.07 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 10.34 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า 5.26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
– สินค้าส่งออกสำคัญของไทย คือ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหาร
สำเร็จรูปอื่นๆ สิ่งปรุงรสอาหาร ข้าว เครื่องกีฬาและเครื่องเล่มเกม ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ยาง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ตาข่ายจับปลา
สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่ง สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เครื่องดื่มประเภทน้ำแร่ น้ำอัดลมและสุรา เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ
พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
การลงทุน ยังไม่มีการลงทุนของไอซ์แลนด์ในประเทศไทย เนื่องจากไอซ์แลนด์ให้ความสำคัญกับการลงทุนในภูมิภาคยุโรป ได้แก่ ลักเซมเบิร์ก นอร์เวย์ สหราชอาณาจักร และสวีเดน เป็นต้น โดยอุตสาหกรรมที่ไอซ์แลนด์ลงทุนในต่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ เคมีภัณฑ์ ยาและเวชภัณฑ์ การบริการทางการเงิน และเครื่องจักร เป็นต้น ส่วนไทยเองก็ยังไม่มีการลงทุนในไอซ์แลนด์ เว้นแต่ มีการดำเนินธุรกิจร้านอาหารไทยอยู่หลายแห่งในไอซ์แลนด์

การท่องเที่ยว ในปี 2558 มีชาวไอซ์แลนด์เดินทางมาไทย 4,110 คน ( เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ร้อยละ 25.5 )
ทั้งนี้ ชาวไอซ์แลนด์ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราในการเดินทางเข้าประเทศไทย วัตถุประสงค์เพื่อการท่องเที่ยว และพำนักได้ไม่เกิน 30 วัน ( ผ. 30 )
ชุมชนชาวไทยในไอซ์แลนด์
มีชาวไทยอาศัยอยู่ในไอซ์แลนด์ประมาณกว่า 1,200 คน ส่วนใหญ่จะเป็นสตรีไทยที่สมรสกับชาวไอซ์แลนด์ ซึ่งประกอบอาชีพแม่บ้านและรับจ้าง ( แรงงานไทยส่วนใหญ่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ปลา ) ขณะนี้มีวัดไทย 1 แห่ง
 
การแลกเปลี่ยนการเยือน
ฝ่ายไอซ์แลนด์
– วันที่ 27- 31 มกราคม 2542 นาย Halldor Asgrimsson รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้าต่างประเทศ พร้อมคณะภาคเอกชน 24 คนเยือนไทย โดยเป็นแขกของกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 28-30 มกราคม 2542
– วันที่ 10 เมษายน 2545 นาย Olafur Egilsson เอกอัครราชทูตไอซ์แลนด์ประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงปักกิ่ง เดินทางมาเยือนไทย
– วันที่ 1-3 ตุลาคม 2546 นาย Olafur Egilsson เอกอัครราชทูตไอซ์แลนด์ประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงเรคยาวิก เดินทางมาเยือนไทย
– วันที่ 4-12 ธันวาคม 2547 นาย Olafur Egilsson เอกอัครราชทูตไอซ์แลนด์ประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงเรคยาวิก เดินทางมาเยือนไทย เพื่อเข้าร่วมพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
– วันที่ 10 มกราคม 2548 เอกอัครราชทูต Gretar Mar Sigurosson อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ พร้อมคณะ ในฐานะหัวหน้าผู้แทนการเจรจาของสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป ( EFTA ) เยือนไทยเพื่อเจรจาเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดทำความตกลง เขตการค้าเสรี ( FTA ) ระหว่างสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรปกับทางการไทย
– วันที่ 1-7 พฤษภาคม 2548 นาย David Gunnarsson ปลัดกระทรวงและประธานคณะกรรมการบริหารองค์การอนามัยโลก ( Permanent Secretary and Chairman of the Executive Board of the World Health Organization ) เยือนไทย เพื่อเข้าร่วมประชุม The Health Aspects of the Tsunami Disater in Asia ที่ จ. ภูเก็ต และได้พบหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ฝ่ายไทย
– เดือนมิถุนายน 2539 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเยือนไอซ์แลนด์ เป็นการส่วนพระองค์
– วันที่ 16-21 กรกฎาคม 2546 รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ( นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ) และคณะ เยือนไอซ์แลนด์
– วันที่ 10-12 พฤษภาคม 2548 นายเกริกไกร จีระแพทย์ หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี ( FTA ) ระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป ( EFTA ) เยือนไอซ์แลนด์ เพื่อเจรจาเรื่อง FTA ระหว่างไทยกับ EFTA ( Exploratory Meeting )
——————————————–

สอท. ณ กรุงโคเปนเฮเกน สถานะวันที่ 4 มกราคม 2560

Print Friendly, PDF & Email

Read more: David Prowse