ยูเครนมีประชากร 44.6 ล้านคน 77.8 % เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ยูเครน โดยมีชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์รัสเซีย ( 17 % ) เบลารุสและโรมาเนียพอสมควร ภาษายูเครนเป็นภาษาราชการ ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่สอง ศาสนาหลักของประเทศ คือ ศาสนาคริสต์นิกาย อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อสถาปัตยกรรม วรรณกรรมและดนตรียูเครน
นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าชาว Nomad โดยเฉพาะ ชาวไซเทีย เป็นพวกแรกที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งในยูเครนในช่วงก่อนคริสตกาล หลังจากนั้น ชาวเผ่าสลาฟได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลางและตะวันออกของยูเครน อย่างไรก็ดี ชนชาติสำคัญที่มีบทบาทในการรวบรวมดินแดนบริเวณนี้ให้เป็นปึกแผ่นคือชาวรุส ( Rus ) ที่มาจาก สแกนดิเนเวีย โดยต่อมาชาวรุสได้สถาปนาจักรวรรดิเคียฟรุส ขึ้นในศตวรรษที่ 6 และปกครองชาวสลาฟที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้ และต่อมาได้ขยายดินแดนออกไปรวบรวมเผ่าสลาฟและชนชาติต่าง ๆ จนเป็นอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปในศตวรรษที่ 11 แต่ในศตวรรษที่ 12 อาณาจักรนี้ได้เสื่อมสลายลง เนื่องจากสงครามระหว่างเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ และการรุกรานจากชาวมองโกลในศตวรรษต่อมา หลังจากนั้น ดินแดนบางส่วนของยูเครนได้ถูกผนวกรวมกับอาณาจักรต่าง ๆ อาทิ ลิทัวเนีย โปแลนด์ ออสเตรีย-ฮังการี และ จักรวรรดิรัสเซีย
ศตวรรษที่ 19 และ ศตวรรษที่ 20 [แก้ ]
ภายหลัง สงครามโลกครั้งที่ 1 ยูเครนได้ประกาศเอกราชจากจักรวรรดิรัสเซียและราชวงศ์ฮับสบวร์กเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1918 แต่ต่อมากระแสการปฏิวัติในรัสเซียได้ลุกลามมายังยูเครน ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองและสงครามประกาศเอกราชขึ้น เกิดการก่อตั้งรัฐเอกราชยูเครนในช่วงระยะสั้น ๆ สมัยต่าง ๆ ดังนี้ สาธารณรัฐประชาชนยูเครน, สาธารณรัฐประชาชนยูเครนตะวันตก และ รัฐยูเครน
ปี ค.ศ.1922 ดินแดนส่วนตะวันตกของยูเครนได้ถูกผนวกรวมกับโปแลนด์ ในขณะที่ดินแดนตอนกลางและตะวันออกถูกผนวกรวมกับรัสเซียในฐานะ สาธารณรัฐ หนึ่งของ สหภาพโซเวียต เมื่อภายใต้ระบอบ ระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ชาวยูเครนถูกบังคับให้เลิกใช้ภาษาของตนเอง นอกจากนี้ ในช่วงปี ค.ศ. 1932 – 1933 โจเซฟ สตาลิน แห่งสหภาพโซเวียต ยังได้ใช้มาตรการ “ โฮโลโดมอร์ ” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ นโยบายระบบนารวม ของสหภาพโซเวียตกับชาวยูเครน อันส่งผลให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงและการขาดแคลนอาหารขึ้นทั่วประเทศ และชาวยูเครนกว่า 7 ล้านคนต้องเสียชีวิตลง ชาวนาและปัญญาชนที่ต่อต้านระบบดังกล่าวถูกกวาดล้างหรือเนรเทศไปยังไซบีเรีย
ในช่วงแรกของสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวยูเครนให้การสนับสนุน กองทัพนาซีเยอรมัน ของ เพื่อเป็นอิสระจากสหภาพโซเวียต แต่ต่อมาได้หันไปต่อต้าน เนื่องจากกองทัพ นาซีเยอรมัน ที่ปกครองอย่างกดขี่ และ ทารุณ โดยในช่วงดังกล่าว ชาวยิวในยูเครนกว่า 1 ล้านคนถูก สังหารหมู่ และ เคียฟ ถูกเผาทำลาย อย่างไรก็ดี หลังจากที่กองทัพนาซี บุกครองโปแลนด์ ในปี ค.ศ.1939 ดินแดนส่วนตะวันตกของยูเครนที่เดิมอยู่ภายใต้โปแลนด์ได้ถูกผนวกรวมกับสหภาพโซเวียต
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง กระแสชาตินิยมในยูเครนขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยเหตุผลต่าง ๆ ได้แก่ ความไร้ประสิทธิภาพของระบบสหภาพโซเวียต ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วสหภาพโซเวียตและการพยายามปิดบังข้อมูลของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหภาพโซเวียตต่อกรณีการระเบิดของ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชียร์โนบีล ที่ตั้งอยู่ในยูเครนในปี ค.ศ.1986 และเมื่อประธานาธิบดีกอร์บาชอฟดำเนินนโยบายเปิดกว้างทางการเมือง ได้ส่งผลให้รัฐบาลของสหภาพโซเวียตจำเป็นต้องให้อำนาจแก่สาธารณรัฐและดินแดนปกครองตนเองต่าง ๆ มากขึ้น กระแสการเรียกร้องสิทธิที่จะปกครองตนเองในยูเครนดำเนินไปอย่างเข้มแข็ง และในที่สุดยูเครนได้ประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ.1991 ชาวยูเครนได้ลงประชามติให้ยูเครนประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต
ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี โดยการเลือกตั้งครั้งล่าสุดมีขึ้น เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้ารัฐบาล โดยสภาสูงสุดเป็นผู้เสนอชื่อ และประธานาธิบดีเป็นผู้ให้ความเห็นชอบ
ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นระบบสภาเดียว ( Unicameral ) คือ สภาสูงสุด ( Supreme Rada ) มีสมาชิก 450 คน ( เลือกตั้งโดยตรง 225 ที่นั่ง แบบสัดส่วน 225 ที่นั่ง ) โดยมีการเลือกตั้งทุก ๆ 4 ปี การเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุด มีขึ้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2550
พรรคการเมือง พรรค Party of the Regions ( ของนาย Viktor Yanukovych อดีต นรม. ยูเครน ) พรรค Yulia Tymoshenko ’ s Bloc ( BYuT ) ( ของนาง Yulia Tymoshenko อดีต นรม. ) พรรค Our ukraine – People ’ randomness Self Defense ( สนับสนุน ปธน. Yushchenko ) ( พรรค Communist Party ) พรรค Lytvyn Bloc
ฝ่ายตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา
Leonid Kravchuk ( ค.ศ. 1991 – 1994 ) [แก้ ]
หลังการประกาศเอกราช ยูเครนได้เปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยและมีการเลือกตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1991 โดยนาย Leonid Kravchuk อดีตประธานรัฐสภายูเครนได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนแรก ประธานาธิบดี Kravchuk ได้เริ่มกระบวนการสร้างชาติ และปฏิรูประบบเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีแบบตะวันตก อย่างไรก็ดี ในภาพรวม สถานการณ์การเมืองภายในประเทศยังสับสนวุ่นวาย อาทิ การประท้วงของกลุ่มที่นิยมระบอบคอมมิวนิสต์ ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มปฏิรูปเศรษฐกิจกับกลุ่มอนุรักษนิยม ความขัดแย้งระหว่างประธานาธิบดีกับนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจ ปัญหาการเรียกร้องเอกราชของไครเมีย ปัญหาเงินเฟ้อและเศรษฐกิจตกต่ำ เป็นต้น
Leonid Kuchma ( ค.ศ. 1994 – 2005 ) [แก้ ]
นาย Leonid Kuchma อดีตผู้อำนวยการใหญ่ของโรงงานผลิตหัวรบขีปนาวุธของสหภาพ โซเวียตที่เมืองดนีโปรเปตรอฟสค์ ( Dnepropetrovsk ) ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994 โดยได้ประกาศนโยบายการปฏิรูปเศรษฐกิจแนวทางใหม่และการสร้างความสมดุลในการดำเนินความสัมพันธ์กับรัสเซียและตะวันตกในนโยบายต่างประเทศ ปัจจุบันนาย Kuchmaได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมาแล้ว 2 สมัย และจะหมดวาระการดำรงตำแหน่งลงในปี ค.ศ. 2004 ที่ผ่านมาสภาวะทางการเมืองโดยรวมมีเสถียรภาพ โดยประธานาธิบดีเป็นผู้มีอำนาจในการกำหนดทิศทางการบริหารประเทศแบบเบ็ดเสร็จ การวางนโยบายและการบริหารประเทศรวมศูนย์อยู่ที่ประธานาธิบดีและบุคคลใกล้ชิด นอกจากนี้ หน่วยงานด้านความมั่นคงและกองทัพยังอยู่ภายใต้อำนาจของประธานาธิบดีด้วย อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมา ได้มีรายงานข่าวในทางลบเกี่ยวกับประธานาธิบดี Kuchma และคณะรัฐบาลหลายครั้ง อาทิ การฉ้อราษฎร์บังหลวง ความพยายามเสริมสร้างอำนาจของประธานาธิบดีโดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ความพยายามริดรอนสิทธิของสื่อ การมีส่วนเกี่ยวข้องในการฆาตกรรมนาย Georgiy Gongadze ผู้สื่อข่าวซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล ตลอดจนการอนุมัติขายระบบเรดาร์ Kolchuga ให้อิรัก อันส่งผลให้สหรัฐฯ ประกาศระงับการให้เงินช่วยเหลือจำนวน 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐแก่ยูเครน และที่ผ่านมาประชาชนยูเครนได้เคยก่อการประท้วงประธานาธิบดี Kuchma หลายครั้ง
ยูเครนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 24 แคว้น (provinces – oblasts) 1 สาธารณรัฐปกครองตนเอง* (autonomous republic – avtonomna respublika) และ 2 เทศบาลนคร** (municipalities – misto) ได้แก่
ยูเครนดำเนินนโยบายมุ่งสู่ตะวันตกมาโดยตลอด ในช่วงแรกหลังการแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต โดยตั้งเป้าที่จะเข้าเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการพัฒนาของทวีปยุโรปและแยกตัวออกจากกรอบความสัมพันธ์กับรัสเซียและประเทศอดีตสหภาพโซเวียต แต่ต่อมา ยูเครนได้ปรับทิศทางของนโยบายต่างประเทศให้สมดุลมากขึ้น โดยหันมาให้ความสำคัญกับรัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช ( CIS ) ด้วย ในปัจจุบัน กล่าวได้ว่า นโยบายต่างประเทศของยูเครนอยู่บนพื้นฐานของการสร้างดุลยภาพระหว่างการบูรณาการกับตะวันตกและการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับรัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความผูกพันทางเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์การเมือง ทิศทางการดำเนินนโยบายต่างประเทศของยูเครนในปัจจุบัน การดำเนินนโยบายต่างประเทศของยูเครนภายใต้รัฐบาลของนาง Tymoshenko ยังคงมุ่งเน้นปัจจัยหลัก 3 ประการ เช่นเดียวกับรัฐบาลชุดก่อน ได้แก่
- พัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีกับรัฐต่าง ๆ โดยเฉพาะเทศเพื่อนบ้าน ประเทศมหาอำนาจ และประเทศหุ้นส่วนสำคัญทางยุทธศาสตร์
- การบูรณาการเข้าสู่สหภาพยุโรปและนาโต้
- ความร่วมมือในกรอบพหุภาคี
ช่วงแรก ในช่วง 10 ปีแรก หลังการแยกตัวจากสหภาพโซเวียต ยูเครนดำเนินนโยบายมุ่งสู่ตะวันตก หันไปให้ความสำคัญกับสหรัฐ ฯ และประเทศตะวันตก และพยายามหลีกหนีอิทธิพลของรัสเซีย ในขณะที่รัสเซียก็ไม่สามารถยอมรับการเป็นเอกราชอย่างสมบูรณ์ของยูเครนได้ เนื่องจากยูเครนหรือ Little Russia ถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซียมาโดยตลอด พร้อมกันนี้ ความขัดแย้งทางเชื้อชาติระหว่างชาวยูเครนกับชาวรัสเซียที่อาศัยอยู่ในยูเครนได้ปะทุขึ้นภายหลังจากที่ยูเครนประกาศเอกราชจากรัสเซีย ปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดสถานการณ์การเผชิญหน้าระหว่างรัสเซียกับยูเครนหลายครั้ง อาทิ การแย่งชิงแหลมไครเมีย และปัญหากรรมสิทธิกองเรือของรัสเซียในทะเลดำ เป็นต้น ทั้งนี้ ความพยายามลดการพึ่งพารัสเซียทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดได้แก่ การที่ยูเครนพยายามแสวงหาแหล่งน้ำมันและพลังงานจากแหล่งอื่น ๆ นอกเหนือจากรัสเซีย เช่น อิหร่าน และดินแดนปกครองตนเองในรัสเซีย ปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างยูเครนกับรัสเซียได้กลับมาใกล้ชิดกันมากขึ้น หลังจากที่ได้ห่างเหินเป็นเวลายาวนานในช่วงหลังการประกาศอิสรภาพ การปรับความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ ซึ่งเริ่มจากการลงนามในความตกลงเพื่อหาข้อยุติสำหรับปัญหากองเรือทะเลดำเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 ทั้งนี้ ความตกลงฯ ได้กำหนดให้รัสเซียได้สิทธิในการเช่าฐานทัพเรือยูเครนที่เมืองเซวาสโตโพล ( Sevastopol ) เพื่อเป็นที่ตั้งกองเรือของตนต่อไปอีก 20 ปี ทั้งสองประเทศได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการพิเศษเพื่อร่วมมือกันในด้านต่าง ๆ ( Bilateral Commission ) และรวมไปถึงการพิจารณาปัญหาความขัดแย้งในการปักปันเขตแดน การจัดทำแผนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ 10 ปี ( ปี ค.ศ. 1998 – 2007 ) ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างสองประเทศในเรื่องการปฏิรูปเศรษฐกิจ แนวทางในการร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมและแนวทางในการขยายปริมาณการค้าระหว่างกัน รวมทั้งความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ กว่า 100 โครงการ เช่น ด้านการบิน การพลังงาน การสำรวจอวกาศ เป็นต้น ซึ่งแผนความร่วมมือดังกล่าว จะเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมปริมาณการค้าและการลงทุนระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ซึ่งมีมูลค่า 14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ฯ เมื่อปี ค.ศ. 1997 ให้เพิ่มขึ้นอีกสองเท่าครึ่งในอีก 10 ปี ข้างหน้า นอกจากนั้น ยังมีความตกลงระหว่างรัฐบาลอีกหลายฉบับ เช่น ความร่วมมือด้านการสื่อสาร การศึกษาและการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมร่วม เพื่อกระตุ้นให้เห็นถึงพัฒนาการความสัมพันธ์อันดีระหว่างรัสเซียกับยูเครน รวมทั้งได้มีการลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือและมิตรภาพ ( Treaty of Friendship, Co-operation and Partnership ) เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1997 เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรบนพื้นฐานของการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ( strategic partnership ) การเคารพซึ่งกันและกัน และในฐานะเพื่อนบ้านที่ดีระหว่างกันอย่างแน่นแฟ้นต่อไป และผู้นำทั้งสองเห็นพ้องที่จะให้จัดตั้งคณะทำงานร่วม anti – crisis group เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และยืนยันที่จะผลักดันรัฐบาลของแต่ละฝ่ายให้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 2002 นายกรัฐมนตรี Mikhail Kasyanov ของรัสเซียและนายกรัฐมนตรี Anatoliy Kinakh ของยูเครนในขณะนั้น ได้ลงนามร่วมกันในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ นอกจากนี้ นาย Alexei Miller ประธานกรรมการบริษัท Gazprom ของรัสเซียก็ได้ลงนามในเอกสารร่วมกับนาย Yury Buiko ประธานกรรมการบริษัท Nallogaz Ukrainy ของยูเครน เพื่อการจัดตั้งองค์กรร่วมทุนระหว่างประเทศ ( international consortium ) เพื่อพัฒนาและดำเนินการเกี่ยวกับระบบการขนส่งก๊าซในยูเครน โดยองค์กรดังกล่าวจะจัดตั้ง จดทะเบียน และดำเนินการภายใต้กฎหมายของยูเครน โดยสำนักงานจะตั้งอยู่ที่เคียฟ และในอนาคตรัสเซียและยูเครนจะเปิดโอกาสให้บริษัทต่างประเทศ โดยเฉพาะในยุโรปเข้ามามีส่วนร่วมในองค์กรร่วมทุนดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ รัสเซียและยูเครนได้เคยลงนามในสัญญาร่วมกันเพื่อการขนส่งก๊าซจากรัสเซียผ่านท่อก๊าซของยูเครนถึงปีค.ศ. 2013 ไม่ต่ำกว่า 110 พันล้านคิวบิกเมตร และปัจจุบัน รัสเซียส่งก๊าซไปยังยุโรปโดยผ่านระบบท่อส่งก๊าซในยูเครนเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม รัฐบาลของนาง Tymoshenko น่าจะลดความสำคัญในการร่วมมือกับรัสเซียลงกว่ารัฐบาลชุดที่แล้ว
ก่อนหน้านี้ ยูเครนและรัสเซีย ได้เจรจาข้อขัดแย้งในกรณีที่รัสเซียระงับการจ่ายก๊าซธรรมชาติให้ยูเครน หลังจากที่ยูเครนไม่ยอมตามที่รัสเซียประกาศจะขึ้นราคาก๊าซ 4 เท่า จากเดิม 50 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1,000 ลูกบาศก์เมตร เป็น 220 – 230 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1,000 ลูกบาศก์เมตร ตามราคาตลาดยุโรป เหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้ยูเครน และประเทศต่าง ๆ ในยุโรป ซึ่งนำเข้าก๊าซจากรัสเซียผ่านท่อก๊าซในยูเครน ประสบกับปัญหาด้านพลังงาน ท่ามกลางภูมิอากาศที่หนาวเย็นที่สุดในรอบหลายปี ในเบื้องต้น ยูเครนและรัสเซียสามารถตกลงกันได้ในระดับหนึ่ง โดยยูเครนจะนำเข้าก๊าซจากรัสเซียผ่านบริษัท Rosukrenergo ซึ่งรัสเซีย ถือหุ้นอยู่ครึ่งหนึ่ง โดยบริษัท Rosukrenergo จะซื้อก๊าซจากรัสเซียในราคา 230 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1,000 ลูกบาศก์เมตร และขายก๊าซที่ตนซื้อจากเติร์กเมนิสถาน ซึ่งมีราคาถูกกว่าให้ยูเครนในราคา 95 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1,000 ลูกบาศก์เมตร เป็นเวลา 5 ปี ทั้งนี้ สำหรับปี 2551 รัฐบาลยูเครนภายใต้การนำของนาย Viktor Yanukovych อดีต นรม. ได้ลงนามความตกลงกับรัสเซียที่จะนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียในราคา 179.5 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งขึ้นจาก 130 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2550
ช่องแคบ Kerch ตั้งอยู่ระหว่างเกาะ Tuzla ของยูเครนและ Taman Peninsula ของรัสเซีย และเป็นช่องทางผ่านจากทะเล Azov เข้าสู่ทะเลดำ ซึ่งนับตั้งแต่การประกาศเอกราชของยูเครนจากสหภาพโซเวียต ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถบรรลุการเจรจาปักปันเขตแดนในบริเวณนี้ แต่เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2003 รัสเซียได้เริ่มสร้างเขื่อนในบริเวณช่องแคบ Kerch เพื่อเชื่อมชายฝั่งบริเวณคาบสมุทร Taman ของรัสเซีย เข้ากับเกาะ Tuzla ของยูเครน โดยอ้างว่าเขื่อนดังกล่าวจะช่วยลดการพังทลายของพื้นที่ชายฝั่งของรัสเซีย แต่ยูเครนเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดอธิปไตยทางดินแดนของตน จึงได้ส่งกองทัพเข้าไปประจำการในเกาะ Tuzla และทำการซ้อมรบในบริเวณดังกล่าว รวมทั้งรัฐสภายูเครนได้ลงมติว่า การกระทำของรัสเซียถือได้ว่าเป็นการดำเนินการที่ไม่เป็นมิตร ทำให้เกิดสถานการณ์การเผชิญหน้าที่ตึงเครียดระหว่างสองประเทศ อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายได้พยายามเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวในหลายระดับ โดยการเจรจาครั้งสำคัญมีขึ้นระหว่างประธานาธิบดี Kuchma ของยูเครน และประธานาธิบดี Vladimir Putin ของรัสเซีย ที่แหลมไครเมีย เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 2003 ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการใช้ประโยชน์ร่วมกันบริเวณช่องแคบ Kerch และทะเล Azov และล่าสุดมีรายงานข่าวว่า การเจรจาระหว่างยูเครนและรัสเซียรอบแรกว่าด้วยการปักปันเขตแดนทางทะเลบริเวณช่องแคบ Kerch และทะเล Azov จะจัดขึ้นที่กรุงมอสโก ระหว่างวันที่ 29 – 30 มกราคม ค.ศ. 2004
ยูเครนมีความสัมพันธ์ที่ดีกับโปแลนด์ และมีบทบาทสำคัญในกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช ( CIS ) รองจากรัสเซีย รวมทั้งมีบทบาทนำในองค์กรในระดับอนุภูมิภาค อาทิ กลุ่ม GUUAM ( Georgia – Ukraine – Uzbekistan – Azerbaijan – Moldova ) ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศ CIS ที่นิยมตะวันตกและสนับสนุนให้ CIS รวมตัวเฉพาะทางเศรษฐกิจเท่านั้น กลุ่ม Organization for Black Sea Economic Cooperation และอยู่ในกลุ่มความร่วมมือ Common Economic Space ( CES ) ซึ่งเป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างรัสเซีย ยูเครน เบลารุส และคาซัคสถาน นอกจากนี้ ยูเครนยังมีแผนที่จะร่วมมือกับอาเซอร์ไบจาน จอร์เจีย และมอลโดวา ในการสร้างท่อลำเลียงน้ำมันจากริมฝั่งทะเลสาบแคสเปียนโดยไม่ผ่านดินแดนของรัสเซียเพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจและอิทธิพลรัสเซียในภูมิภาคนี้ เนื่องจากปัจจุบันรัสเซียเป็นผู้ผูกขาดการขนส่งน้ำมันจากทะเลสาบแคสเปียนไปยังตลาดตะวันตกแต่เพียงผู้เดียว
ยูเครนและสหภาพยุโรปได้จัดทำความตกลงภายใต้ Partnership and Cooperation Agreement ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2541 อย่างไรก็ตาม ความตกลงดังกล่าวมิได้ขยายไปถึงการจัดทำ Association Agreement ตามที่ยูเครนแสดงความประสงค์ โดยสหภาพยุโรปได้แต่ยอมรับถึงความประสงค์ของยูเครนที่จะยกระดับความสัมพันธ์ไปสู่การเป็น Association ระหว่างกันเท่านั้น ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการเข้าร่วมเป็นสมาชิก EU ของยูเครนคือ การที่ยูเครนยังไม่ได้รับการยอมรับว่ามีเศรษฐกิจระบบตลาดและยังมีปัญหาในเรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอยู่มาก รัฐบาลภายใต้การนำของนาง Tymoshenko น่าจะดำเนินนโยบายที่มุ่งกระชับความสัมพันธ์กับสหภาพยูโรปมากกว่ารัฐบาลชุดก่อน โดยเน้นการรวมตัวกับสหภาพยุโรปเป็นหลัก โดยเฉพาะการจัดทำความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป เพื่อทดแทน Parnership and Cooperation Agreement ซึ่งสิ้นอายุไปเมื่อปลายปี 2550 ทั้งนี้ คาดว่ายูเครนยังคงไม่สามารถเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปในรัฐบาลชุดนี้ได้ อย่างไรก็ตาม คาดว่ายูเครนยังจะสามารถเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกได้ในปี 2551 ภายหลังจากที่ได้ดำเนินการเจรจาทวิภาคีกับประเทศที่เกี่ยวข้องเมื่อปี 2550 ซึ่งน่าจะปูทางไปสู่การเข้าเป็นสมาชิก EU ได้ต่อไปในอนาคต
ความสัมพันธ์ระหว่างยูเครนกับสหรัฐอเมริกาดำเนินภายใต้โครงการความช่วยเหลือ Freedom for Russia and Emerging Eurasian Democracies and Open Markets Support Act ซึ่งผ่านการรับรองจากรัฐสภาสหรัฐฯ เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1992 โดยมียอดเงินช่วยเหลือทั้งสิ้น 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในบรรดาประเทศอดีตสหภาพโซเวียต ยูเครนได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินจากสหรัฐฯ มากที่สุด โดยในปี ค.ศ. 2000 ยูเครนได้รับเงินช่วยเหลือ 168 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากยอดรวม 216 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งกำหนดที่จะให้ประเทศ CIS ทั้งหมด นอกจากนี้ ยูเครนยังได้รับเงินสนับสนุนจากสหรัฐฯอีก จำนวน 74 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายใต้โครงการ Western NIS Enterprise Fund ซึ่งเป็นเงินช่วยเหลือแก่วิสาหกิจเอกชนของยูเครน แต่ภายหลังที่มีข่าวเรื่องยูเครนขายอาวุธให้แก่อิรักแล้ว มีรายงานข่าวว่า ในปี ค.ศ. 2003 รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ปฏิเสธการให้เงินช่วยเหลือจำนวน 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แก่รัฐบาลยูเครน และจะโอนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่หน่วยงานหรือกลุ่มผู้รณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชนในยูเครนแทน อย่างไรก็ดี ยูเครนได้ส่งทหารจำนวน 1,600 นาย เข้าไปร่วมกับกองกำลังของพันธมิตรในการฟื้นฟูบูรณะอิรัก เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2003 ซึ่งคาดว่า การกระทำดังกล่าวเป็นความพยายามที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์กับสหรัฐ อันจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนให้ยูเครนได้เข้าเป็นสมาชิก NATO ได้ในอนาคต อนึ่ง ยูเครนเข้าร่วมใน OSCE ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 เป็นสมาชิกของ North Atlantic Cooperation Council และเป็นสมาชิก Partnership for Peace ในกรอบนาโต อย่างไรก็ดี นโยบายที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก NATO ของนาง Tymoshenko อาจถูกต่อต้านจากฝ่ายค้านและประชาชนจำนวนมากที่ให้การสนับสนุนพรรคฝ่ายค้าน
- การทูต
ความสัมพันธ์ทวิภาคีดำเนินไปอย่างราบรื่น มีกลไกที่พร้อมสนับสนุนการพัฒนาความสัมพันธ์ในระดับหนึ่ง โดยไทยมอบหมายสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุง มอสโก มีเขตอาณาดูแลยูเครน ขณะที่ยูเครนจัดตั้งสถานเอกอัคราชทูตขึ้นที่ประเทศไทย มีความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี ( Joint Commission ) ระหว่างไทยกับยูเครน ความตกลงระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกับสภาหอการค้าและอุตสหกรรมยูเครน เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทสายการบิน Aerosvit ของยูเครนได้เปิดเส้นทางการบินตรงระหว่างไทยกับยูเครนสัปดาห์ละ 3 เที่ยวมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ในปี พ.ศ. 2549 มีนักท่องเที่ยวยูเครนมาไทยถึง 15,000 คน ขณะที่นักท่องเที่ยวไทยไปยูเครนประมาณ 50 คน
- การเมือง
ไทยมีความสัมพันธ์ทางการเมืองกับยูเครนตั้งแต่ยูเครนยังเป็นส่วนหนึ่งของ จักรวรรดิรัสเซีย และ สหภาพโซเวียต ตามลำดับ หลัง การล่มสลายของสหภาพโซเวียต ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2534 โดยสาธารณรัฐต่าง ๆ ซึ่งเคยรวมเป็นสหภาพโซเวียต ได้แยกตัวออกเป็นอิสระ และประกาศตัวเป็นเอกราชรวม 12 ประเทศ ไทยได้ให้การรับรองเอกราชของประเทศเหล่านี้ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ต่อมาไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับยูเครน เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 โดยให้อยู่ในเขตอาณาของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก และล่าสุดในปี 2550 ได้แต่งตั้งนายมิโคโล ราดุดสกี ( Mykhajlo Radoutskyy ) เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำยูเครน ส่วนยูเครนได้ตั้งสถานเอกอัครราชทูตยูเครนประจำประเทศไทยขึ้น เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2545 โดยมีนายอีกอร์ ฮูเมนนี ( Ihor Humennyi ) ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตยูเครนประจำประเทศไทย และ มีนายปรีชา ถิรกิจพงศ์ ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ยูเครนประจำประเทศไทย
- เศรษฐกิจและการค้า
- การท่องเที่ยว
- การแลกเปลี่ยนการเยือน
- ฝ่ายไทย
-
- ฝ่ายยูเครน
กองทัพได้จัดซื้อรถถังหลัก T-84 Oplot-M จากประเทศยูเครน จำนวน 49 กว่าคัน แล้วยังได้ซื้อยานหุ้มเกราะ BTR-3E1 ตอนประจำการกว่า 220 คัน
T-84 Oplot M ที่กองทัพบกไทยจัดซื้อจากยูเครน
การคมนาคม และ โทรคมนาคม [แก้ ]
ประชากรส่วนใหญ่ของยูเครน เป็นชนเผ่าสลาฟตะวันออก
Read more: Ex on the Beach (British series 6)
ประชากรส่วนใหญ่ของยูเครนนับถือศาสนาคริสต์ นิกายออร์โธดอกซ์
- รัฐบาล