กำเนิด Ubi Soft
Ubisoft เดิมไม่ได้เป็นบริษัทเกม แต่เป็นบริษัทค้าขายอุปกรณ์การเกษตรของครอบครัวของตระกูล Guillemot ที่อาศัยอยู่ในแคว้นเบรอตาญ ( Brittany ) ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส โดยเน้นการค้าขายให้กับเกษตรกรบริเวณนั้นและบางส่วนของประเทศอังกฤษ ซึ่งกิจการนี้ถือว่าเป็นกิจการหลักของครอบครัว แต่แล้วพี่น้อง 5 คนคือ Christian Guillemot, Claude Guillemot, Gérard Guillemot, Michel Guillemot, Yves Guillemot ต่างมีความคิดเห็นตรงกันว่าพวกเขาไม่ควรทำกิจการเกี่ยวกับการเกษตรอย่างเดียว ควรขยายไปยังด้านอื่น ๆ ด้วย
พี่น้องทั้ง 5 คนมองว่าในตอนนั้นราคาคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ของประเทศฝรั่งเศสมีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับเกาะอังกฤษ ทำให้พวกเขาเริ่มก่อตั้ง Guillemot Informatique ในการนำเข้าคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์จากประเทศอังกฤษมาขายในประเทศ พร้อมตัดราคาคู่แข่งมากถึง 50 % โดยในปี 1985 พวกเขาได้ทำเงินได้มากถึง 40 ล้านฟรังก์ แต่สิ่งหนึ่งที่ทาง 5 พี่น้องสัมผัสได้อย่างไม่ได้ตั้งตัว คือสิ่งที่มาคู่กับซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์อย่าง Video Games ที่ทำกำไรอย่างมากในยุคนั้น
พวกเขาไม่รอช้าก่อตั้งทีมพัฒนาเกมของตัวเองนามว่า Ubi Soft ที่มาจากคำว่า “ubiquitous” ในภาษาละตินที่แปลว่าแพร่หลายและคำว่า Software มารวมกัน โดยพวกเขายังคงใช้บ้านเกิดเป็นฐานพัฒนาเกมซึ่งเกมแรกที่พวกเขาพัฒนาคือ Zombi ออกมาในปี 1986 สำหรับเครื่อง Amstrad CPC, Amiga, Atari ST, Commodore 64, MS-DOS และ ZX Spectrum
Zombi ได้รับความนิยมอย่างสูงโดยสามารถทำยอดขายได้ถึง 5,000 ชุด พร้อมทั้งได้รับรางวัลมากมาย ซึ่งทาง Ubi Soft มองว่าพวกเขาไม่ควรทำเกมอย่างเดียว แต่ควรขายเกมด้วย ทำให้พวกได้ไปจับมือกับทางบริษัทเกมอื่น ๆ ทั่วทั้งยุโรปเพื่อนำมาขายในประเทศฝรั่งเศสซึ่งทำกำไรให้กับพวกเขาอย่างมาก จากนั้นไม่นาน Ubi Soft ก็กลายเป็นบริษัทเกมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศฝรั่งเศส
เปิดตัวสู่ชาวโลก
พวกเขายังคงพัฒนาเกมอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยการที่วงการเกมมีการพัฒนาอยู่เสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าสู่ยุค Generation ที่ 5 ของเครื่องเกม Console ทีมพัฒนาเกมของพวกเขาต้องขยายตัวขึ้นอย่างมากเพื่อรองรับโปรเจกต์ที่ใหญ่ขึ้น โดยพวกเขาทั้ง 5 คนมองว่าการทำเกมในฝรั่งเศสมีค่าใช้จ่ายสูงเกินไป ทำให้พวกเขาตัดสินใจตั้งสตูดิโอย่อยอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ โลก โดยพวกเขาได้ใช้เวลาสองปีและเงินลงทุน 80 ล้านเหรียญฯ ในการก่อตั้ง Studio ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Annecy ( 1996 ), Shanghai ( 1996 ), Montreal ( 1997 ) และ Milan ( 1998 ) ฯลฯ
สิ่งหนึ่งที่ในตอนนั้นทาง Ubi soft มองเห็นคือการที่เกมอย่าง Rayman ทำรายได้ดีมากในพื้นที่ยุโรปแต่ว่านอกทวีปนั้นกลับทำได้ไม่สู้ดีนัก โดยเฉพาะตลาดเกมที่ใหญ่ที่สุดอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้พวกเขาต้องปรับกลยุทธ์การสร้างเกมและการตลาดของพวกเขา ที่ในตอนนั้นอินเทอร์เน็ตเริ่มแพร่หลายและมือถือเริ่มได้รับความนิยม ทำให้หนึ่งในผู้ก่อตั้งอย่าง Michel Guillemot ตั้งบริษัทเกมของตัวเองอย่าง Gameloft ที่เน้นทำเกมมือถือเป็นหลัก
ด้วยการอ่านเกมที่ขาดว่าในยุค 2000 ’ s โลกได้รู้จักกับภัยก่อการร้าย ทำให้เหล่าเกมเมอร์ทั่วโลกต่างโหยหาเกมประเภทสายลับ หน่วยปฏิบัติการพิเศษหรือแม้กระทั่งเกมแนว Military ต่าง ๆ พวกเขาจึงทุ่มเงินมากถึง 150 ล้านยูโรซื้อ Studio Game อย่าง Red Storm Entertainment ทำให้พวกเข้าถึงลิขสิทธิ์ของนิยาย Tom Clancy ที่เป็นนิยายขวัญใจสายทหารของชาวอเมริกาในตอนนั้น ซึ่ ’ พวกเขาคิดถูก เพราะเกม Tom Clancy ’ s Splinter Cell ได้ใจชาวอเมริกาไปอย่างเต็ม ๆ
แต่จุดที่ทำให้พวกเขาสามารถก้าวข้ามไปสู่ระดับโลกได้คือการที่พวกเขาสามารถที่จะซื้อ The Learning Company ในปี 2001 ที่มีทรัพย์สินต่าง ๆ ในครอบครองรวมทั้งเกมอย่าง Myst และ Prince of Persia ซึ่งทาง Ubisoft ก็ได้มอบหมายให้ทาง Studio ที่ Montreal เป็นผู้รับผิดชอบในการทำเกม Prince of Persia ภาคใหม่ในชื่อ Prince of Persia : The Sands of Time และได้วางจำหน่ายในปี 2003 ที่โด่งดังเป็นพลุแตกได้ใจทั้งเกมเมอร์และนักวิจารณ์
Read more: Clint Barton (Marvel Cinematic Universe)
การที่ Ubi soft มี Studio ย่อยมากมายทำให้พวกเขาสามารถที่จะทำเกมได้ตลอดทั้งปี รวมถึงร่วมมือกับทีมพัฒนาหลาย ๆ ทีมได้ทำให้ช่วงต้นปี 2000-2006 ซึ่งเกมดัง ๆ ที่ทาง Ubi soft ไปร่วมพัฒนานั้นหลาย ๆ คนน่าจะเคยเล่นดี ทั้ง Battle Realms ( 2001 ), The Elder Scrolls III : Morrowind ( 2002 ), Baldur ’ mho Gate : colored Alliance ( 2004 ), Far Cry Instincts ( 2005 ) และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งนอกจากร่วมพัฒนาเกมแล้ว บางเกมพวกเขาก็เป็นคน Port ลง PC เป็นต้น
Assassin’s Creed ไพ่ใบสำคัญของทาง Ubisoft
ในปี 2005 พวกเขาได้ Design โลโก้ใหม่ในพร้อมทั้งขยับคำว่า Ubi soft ให้เข้ามาติดกัน ( Ubisoft ) อันเป็นสัญญาของพวกเขาที่ในตอนนี้พวกเขาสามารถเปลี่ยนมาเป็นบริษัทเกมระดับโลกอย่างเต็มตัว จุดเด่นของทาง Ubisoft ที่สำคัญคือการที่ให้ Studio ในการกำกับสามารถนำเสนอโปรเจกต์ในการทำเกมได้อย่างอิสระ โดยทางศูนย์หลักที่ประเทศฝรั่งเศสจะเป็นผู้รับพิจารณา ทำให้ทางทีมงาน Ubisoft มีความคิดสร้างสรรค์และไอเดียใหม่ ๆ ในการทำเกมอยู่เสมอ ซึ่งในปี 2005 หนึ่งในโปรเจกต์ที่เดิมจะเป็นภาคต่อของเกม Prince of Persia แต่ถูกนำมาทำเป็นเกมใหม่ นั่นคือเกม Assassin ’ s Creed ที่จะเป็นรากฐานสำคัญของบริษัทในอนาคต
2 ปีต่อมา Assassin ’ s Creed ก็ได้ออกวางจำหน่าย ตัวเกมได้ปฏิวัติวงการอย่างมากไม่ว่าจะเป็นระบบ Eagle Vision, การเปิด Map โดยให้ Objective เป็นจุดศูนย์กลาง ( หอ ) รวมถึงโลกแบบ open World ที่กว้างใหญ่และกราฟิกที่สวยงามทำให้เกมนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก ยอดขายของเกมก็ถล่มทลายพร้อมกับคำสรรเสริญของเหล่านักวิจารณ์และเกมเมอร์ ยิ่งภาคต่อของเกมอย่าง Assassin ’ s Creed 2 ทำได้ดีมาก ๆ ส่งผลให้เกมนี้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจนเป็น IP ลูกรักของทาง Ubisoft
พวกเขาพยายามที่จะส่งเกม Assassin ’ s Creed ออกมาเป็นเกมรายปีให้เหล่าเกมเมอร์ได้นำไปเล่นกัน ทำให้ตั้งแต่ปี 2007-2013 Ubisoft ปล่อยเกมออกมาถึง 7 ภาค ( รวมภาคหลักและภาคเสริม ) ยิ่งในปี 2012 เกม Far Cry 3 ได้รับความนิยมอีก กลายเป็นว่าทาง Ubisoft มองเห็นว่าเกมภาคเสริมสามารถทำเงินได้กว่าการคิดเกมใหม่ ๆ จากรายได้มหาศาลของเกมภาคต่อทำให้ทาง Ubisoft คิดว่าพวกเขาควรมี Launcher ของเกม เพื่อที่จะรองรับเกมในอนาคตในชื่อ Uplay ซึ่งในตอนแรกนั้นมีปัญหาอยู่พอสมควร แต่ด้วยความพยายาม พวกเขาพัฒนามันจนสามารถทำให้เสถียรได้จนถึงปัจจุบัน
Ubisoft จากวันนั้นถึงวันนี้
นับตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมาทาง Ubisoft เปลี่ยนแนวทางการทำเกมจากการที่พวกจะหาโปรเจกต์ใหม่ ๆ มาเป็นการสร้างภาคต่อของเกมต่าง ๆ แทน ซึ่งหากเราลองนับตั้งแต่ปี 2013 – 2018 เราจะพบกว่าเกมใหม่จากทาง Ubisoft นั้นแทบจะนับได้เลย เช่น The Crew, Child of Light, Valiant Hearts : The Great War, Watch Dogs, Tom Clancy ’ s The Division, For Honor, Tom Clancy ’ s Ghost Recon Wildlands
การที่ทาง Ubisoft เน้นสร้างเกมภาคต่อนั้นเป็นเหมือนดาบสองคม ในมุมมองหนึ่งมันก็คือสูตรสำเร็จที่ทำให้พวกเขายังคงเป็นบริษัทเกมชั้นนำของโลกได้ ในอีกมุมหนึ่งมันก็เป็นเหมือนกับการที่พวกเขาหมดไอเดียการทำสิ่งใหม่ ๆ ไม่ก็ท้อใจที่ไอเดียใหม่ ๆ ดันไม่มีคนซื้อ ซึ่งเรื่องนี้ก็แล้วแต่มุมมองที่เกมเมอร์จะมอง
Read more: Ex on the Beach (British series 6)
อย่างไรก็ตาม Ubisoft ถือว่าเป็นอีกหนึ่งค่ายเกมที่ค่อนข้างจะสนใจเหล่าเกมเมอร์พอสมควร ไม่ว่าจะเป็นการที่พวกเขาออก Event ต่าง ๆ บ่อยขึ้น การพยายามคุยกับเกมเมอร์มากขึ้น รวมถึงการพยายามที่จะเผยแพร่เกมของพวกเขาในวัฒนธรรมใหม่ ๆ นอกจากพื้นที่ฝั่งตะวันตก เป็นแนวโน้มของค่าย Ubisoft ที่ดีโดยเฉพาะในประเทศไทยที่ทางค่ายพยายามจะรุกตลาดมานานหลายปี
สรุป
หลายคนอาจจะมองว่า Ubisoft Downgrade, Ubicreed, Ubi___k แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Ubisoft คือหนึ่งในค่ายเกมที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตของเหล่าเกมเมอร์และทรงอิทธิพลต่อวงการเกมอย่างยาวนานจนต้องยอมรับว่า ความคิดของ 5 พี่น้อง Guillemot เมื่อ 33 ปีที่แล้วถือเป็นความโชคดีของเหล่าเกมเมอร์หลายคนในโลกนี้