กฎหมายและระเบียบพิธีการศุลกากรที่ผู้เดินทางเข้า
กฎหมายและระเบียบพิธีการศุลกากรที่ผู้เดินทางเข้า-ออกประเทศไทยผ่านทางท่าอากาศยานระหว่างประเทศควรทราบ กรมศุลกากรให้บริการด้านพิธีการศุลกากรแก่ผู้โดยสารที่เดินทางผ่านเข้ามาในและออกไปนอกราชอาณาจักรไทยผ่านทางท่าอากาศยานเชียงใหม่โดยแบ่งการให้บริการออกเป็นพิธีการสำหรับผู้โดยสารขาเข้าและผู้โดยสารขาออก ดังต่อไปนี้

พิธีการสำหรับผู้โดยสารขาเข้า

กรมศุลกากรจัดการให้บริการแก่ผู้โดยสารที่เดินทางผ่านเข้ามาในราชอาณาจักรไทยตามมาตรฐานสากลและหลักการให้บริการ เพื่อความสะดวกราบรื่น ( Facilitate of Service ) ขององค์การศุลกากรโลก

Reading:

โดยแบ่งช่องตรวจศุลกากรออกเป็นสองช่อง คือ

  1. ช่องไม่มีสิ่งของต้องสำแดง (Nothing to Declare) หรือช่องเขียว สำหรับผู้โดยสารที่ไม่มีสิ่งของที่ต้องเสียภาษีอากร ไม่มีสิ่งของต้องห้ามต้องกำกัด

  2. ช่องมีสิ่งของต้องสำแดง (Goods to Declare) หรือช่องแดง สำหรับผู้โดยสารที่มีสิ่งของที่ต้องเสียภาษีอากร ของต้องห้ามต้องกำกัดติดตัวเข้ามา หรือผู้โดยสารที่ไม่แน่ใจว่าสัมภาระติดตัวของตนนั้นต้องชำระอากรหรือเป็นของต้องห้ามต้องกำกัดหรือไม่

ของติดตัวผู้โดยสารที่ได้รับการยกเว้นอากร

  • ของใช้ส่วนตัวที่มีปริมาณสมควรสำหรับใช้ส่วนตนและมีมูลค่ารวมทั้งหมดไม่เกิน 20,000 บาท (ซึ่งมิใช่ ของต้องห้าม ต้องกำกัด หรือเสบียง)

  • ของใช้ส่วนตัว หรือใช้ในวิชาชีพที่ซื้อจากร้านค้าปลอดอากรที่ตั้งอยู่ในสนามบินศุลกากร มีราคารวมกันไม่เกิน 20,000 บาท

  • ของใช้ในบ้านเรือนที่ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเนื่องจากย้ายภูมิลำเนา โดยซื้อจากร้านค้าปลอดอากรที่ตั้งอยู่ในสนามบินศุลกากรมีราคารวมกันไม่เกิน 50,000 บาท

  • บุหรี่ไม่เกิน 200 ม้วน หรือ ยาสูบ ไม่เกิน 250 กรัม หรือน้ำหนักรวมทั้งหมดทุกประเภท ไม่เกิน 250 กรัม หากนำมาเกินกว่าปริมาณที่กำหนดโปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ช่องแดง

  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปริมาตร ไม่เกิน 1 ลิตร

ของติดตัวผู้โดยสารที่ได้รับการยกเว้นอากร

  • ของที่ต้องชำระภาษีอากร คือ ของที่ผู้โดยสารนำเข้ามามีปริมาณเกินกว่าที่จะใช้สำหรับส่วนตน และ/หรือมีมูลค่ารวมทั้งหมดเกิน 20, 000 บาท สิ่งของที่นำมาเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์เพื่อการพาณิชย์ หรือ ทางการค้า หรือมีลักษณะทางการค้า

  • หากของที่ผู้โดยสารนำติดตัวมามีมูลค่ารวมทั้งหมดเกิน 80,000 บาท ผู้โดยสารต้องทำเอกสารปฏิบัติพิธีการศุลกากร

  • ของต้องห้าม คือ ของที่ห้ามไม่ให้นำเข้ามา หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร เช่น สารเสพติด วัตถุหรือสื่อลามก ของลอกเลียนแบบละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา ธนบัตร หรือเหรียญกษาปณ์ปลอม สัตว์ป่าสงวน การฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด เช่น มีไว้ในครอบครองหรือมีไว้เพื่อเสพ หรือเป็นผู้ผลิต ผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ขนส่ง อาจมีโทษถึงประหารชีวิต

  • ของต้องจำกัด คือ ของบางชนิด ที่กฎหมายควบคุมการนำเข้ามา และการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร การนำเข้าและการส่งออกของต้องกำกัด ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือ จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องนำมาแสดงในเวลาปฏิบัติพิธีการศุลกากรด้วย ตัวอย่างเช่น

* พระพุทธรูป ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ โดยกรมศิลปากร
* อาวุธปืน กระสุน วัตถุระเบิด โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
* พืช และส่วนต่างๆของพืช โดยกรมวิชาการเกษตร
* สัตว์มีชีวิต และซากสัตว์ โดยกรมปศุสัตว์ หรือ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
* อาหาร ยา โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
* ชิ้นส่วนยานพาหนะ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม
* บุหรี่ ยาสูบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยกรมสรรพสามิต
* เครื่องมือวิทยุสื่อสาร อุปกรณ์โทรคมนาคม โดยสำนักการอนุญาตกิจการเฉพาะกิจ สำนักงาน คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ( กทช )

บทลงโทษสำหรับผู้ที่หลีกเหลี่ยงไม่แสดงของต้องห้ามต้องกำกัด

– ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี และ หรือถูกยึดของ ถ้าเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่ามี ของต้องชำระอากร
– ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี และ หรือถูกยึด ของต้องห้ามหรือของต้องกำกัด ที่ไม่มีใบอนุญาตินำเข้า
– โทษสูงสุด : ปรับ 4 เท่า ของมูลค่าของซึ่งได้รวมค่าอากรไว้ด้วยแล้ว หรือ จำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับทั้งจำ

การสำแดงเงินตราขาเข้า

ผู้โดยสารสามารถนำเข้าเงินไทย ( บาท ) ได้โดยไม่จำกัดมูลค่า กรณีนำเข้าเงินสกุลต่างประเทศที่เป็นธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์มีมูลค่ารวมแล้วเกินกว่า 20,000 เหรียญสหรัฐ ต้องสำแดงรายการเงินตราต่างประเทศนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ขณะผ่านด่านศุลกากร หากไม่สำแดง หรือสำแดงรายการไม่ถูกต้อง มีความผิดทางอาญา

การฝากเก็บของไว้ในอารักขาศุลกากร ( Customs Bond )

ผู้โดยสารที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยและมีของที่ต้องชำระภาษีอากร ของต้องกำกัดซึ่งไม่ประสงค์จะนำเข้ามาใช้ในประเทศไทยสามารถนำของดังกล่าวมาเก็บไว้ในอารักขาศุลกากรได้ ณ สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานที่เดินทางเข้ามาเป็นเวลาไม่เกิน 2 เดือน โดยต้องแสดงตั๋วเดินทาง ไปประเทศที่สาม ณ เวลาที่นำของมาฝากและชำระค่าธรรมเนียมในอัตราที่กำหนดด้วยในวันเดินทางออกนอกราชอาณาจักรซึ่งผู้โดยสารสามารถขอรับของ ดังกล่าวคืนโดยแจ้งเจ้าหน้าที่สายการบินขณะยื่นตั๋วเดินทาง

อัตราค่าธรรมเนียมในการรับฝาก น้ำหนักหีบห่อ ค่าธรรมเนียมต่อวัน ( บาท )

  1. ไม่เกิน 20 กก. 40

  2. เกิน 20 กก. แต่ไม่เกิน 40 กก. 80

  3. เกิน 40 กก. 150

หมายเหตุ :  เศษของวันให้นับเป็น 1 วัน

การขอรับของคืนจาก Customs Bond เอกสารที่ต้องนำมาแสดง

  1. หนังสือเดินทาง จำนวน 1 เล่ม

  2. บัตรที่นั่ง (Boarding Pass) จำนวน 1 ใบ

  3. บัตรหมายเลขติดหีบห่อ (TAG) เท่าจำนวนหีบห่อของของที่ฝาก

  4. ใบรับฝากของ (แบบ 466)

การนำอาวุธปืนเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว

การนำอาวุธปืนเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว

การนำเข้า อาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนชั่วคราวเพื่อการรักษาความปลอดภัยของบุคคลทางการทูตโดยนำติดตัวเข้าประเทศ การนำเข้า

  • กรมการปกครอง (นายทะเบียนอาวุธปืน) มีหนังสือถึงกรมศุลกากร

  • เจ้าหน้าที่สถานทูตนำ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย พร้อมใบอนุญาตให้นำเข้าซึ่งอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนมาแสดงต่อ เจ้าหน้าที่ศุลกากร

  • เจ้าหน้าที่ศุลกากร ตรวจปล่อย การนำออก

  • เจ้าหน้าที่สถานทูตนำ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย พร้อมอาวุธมาให้ เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจ

  • เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจปล่อยและตัดบัญชี

  • เจ้าหน้าที่ บจม.ท่าอากาศยานไทย คุมส่งขึ้นเครื่อง

​หมายเหตุ :  กรณีมิได้นำเข้าราชอาณาจักร สามารถฝากที่ Customs adhesiveness ได้ โดยชำระค่าธรรมเนียมตามระเบียบ

การนำเข้าอาวุธปืนเพื่อใช้ในการแข่งขัน / ฝึกซ้อมชั่วคราว

การนำเข้าสมาคมฯ ปฏิบัติพิธีการนำเข้าชั่วคราวแทนนักกีฬา โดยยื่นเอกสาร :

  • บัญชีรายชื่อนักกีฬา

  • บัญชีรายการอาวุธปืนและราคา

  • หนังสือค้ำประกัน

  • ใบอนุญาตนำเข้าชั่วคราว

  • เจ้าหน้าที่ศุลกากร ตรวจปืนและสลักการตรวจปล่อย การนำออก

  • สมาคมฯ นำปืนมาให้ เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจ

  • เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจและสลักรายการ ตรวจปล่อยพร้อมตัดบัญชีและคืนหนังสือค้ำประกัน

  • ส่งมอบอาวุธปืนให้ เจ้าหน้าที่ บจม.ท่าอากาศยานไทยคุมส่งขึ้นเครื่อง

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติ อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐

การนำอาวุธปืนเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว

 

การนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในราชอาณาจักรของผู้โดยสาร

กรณีนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในลักษณะของติดตัวผู้โดยสาร ( Accompanied Baggage )

  • ผู้โดยสารเดินทางถึงท่าอากาศยาน ผ่านการตรวจลงตราหนังสือเดินทาง และรับสัมภาระและสัตว์เลี้ยง (สุนัข, แมว)

  • นำสัตว์เลี้ยง (สุนัข, แมว) ไปขออนุญาตนำสัตว์หรือซากสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักร (ร.7) 
    จากด่านกักกันสัตว์ ณ ท่าอากาศยาน

  • นำสัตว์เลี้ยงและใบอนุญาต มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ช่องตรวจมีสิ่งของต้องสำแดง (Goods to declare) 
    โดยต้องแสดงหลักฐานเพิ่มเติม ดังนี้

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติ อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐
– ใบ Health Certificate และ/หรือ
– Pedigree และ/หรือ
– หลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงความเป็นเจ้าของเพื่อให้เจ้าหน้าที่พิจารณา

พิธีการสำหรับผู้โดยสารขาออกการสำแดงเงินตราขาออก

กรณีเงินไทย ( บาท ) ออกไปนอกราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 50,000 บาท ยกเว้นต้องการนำออกไปประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทยและประเทศเวียดนาม สามารถนำออกไปได้ไม่เกิน 500,000 บาท
หมายเหตุ :  ตามประกาศกรมศุลกากร ที่ 112/2556 ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2556 มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินไทยที่ควบคุมการนำออกไปนอกราชอาณาจักร คือ การนำเงินตราไทยที่เป็นธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์อันมีมูลค่ารวมกันเกิน 450,000 บาท แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท ออกไปยังประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทยและประเทศเวียดนาม และประเทศจีน ( เฉพาะมณฑลยูนนาน ) ต้องแจ้งรายการต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรขณะที่ผ่านด่านศุลกากร โดยแจ้งรายการตามแบบที่กรมศุลกากรกำหนด
กรณีเงินต่างประเทศสกุลอื่นๆ ที่เป็นธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์ออกไปนอกราชอาณาจักร โดยมีมูลค่ารวมกันเกินกว่า 20,000 ดอลล่าร์สหรัฐหรือเทียบเท่า ต้องสำแดงรายการเงินตราต่างประเทศนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ขณะผ่านด่านศุลกากร

การตรวจรับรองสินค้าเพื่อคืนภาษมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว ( VAT Refund for Tourist )

เจ้าหน้าที่ศุลกากรประจำที่ศุลกากรขาออก ทำหน้าที่ตรวจรับรองสินค้า ที่ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ณ จุดตรวจในห้องโถงผู้โดยสารระหว่างประเทศ ขาออก ก่อนที่ผู้โดยสารจะนำของเข้า CHECK IN ที่เค้าเตอร์ของสายการบิน

สิ่งที่จะต้องนำเข้ามาเพื่อให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจ

  1. หนังสือเดินทาง

  2. ใบคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.10)

  3. สินค้าที่ซื้อมาและจะขอคืนภาษี

สินค้าประเภทอัญมณี ที่ประกอบตัวเรือน หรือของรูปพรรณ ทองรูปพรรณ นาฬิกา แว่นตา หรือปากกา ที่มีราคาตั้งแต่ 10,000 บาท เมื่อนำมาผ่านการตรวจของศุลกากร ณ ท่าอากาศยานแล้ว ให้นำสินค้าดังกล่าวติดตัวนักท่องเที่ยวไปให้เจ้าหน้าที่สรรพากรตรวจก่อนรับคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

นักท่องเที่ยวที่มีสิทธิได้คืนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องมีลักษณะดังนี้ คือ

  1. ไม่เป็นผู้ไม่มีสัญญาติไทย และไม่ได้ผู้ที่อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันในปีภาษี

  2. ไม่เป็นนักบิน หรือลูกเรือในสายการบินที่เดินทางออกจากประเทศไทย

  3. เดินทางออกจากประเทศไทยโดยเครื่องบิน ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศ

​การนำของใช้ส่วนตัวออกจากประเทศและประสงค์จะนำกลับเข้ามา

ผู้โดยสารที่ต้องการนำของใช้ส่วนตัวติดตัวออกไประหว่างการเดินทาง เช่น นาฬิกา สร้อยคอ แหวน กล้องถ่ายวีดีโอ กล้องถ่ายรูป วิทยุเทป คอมพิวเตอร์สำหรับพกพา ฯลฯ และประสงค์จะนำกลับมาภายในประเทศโดยได้รับการยกเว้นอากร ผู้โดยสารจะต้องนำของดังกล่าว พร้อมบัตรที่นั่งบนเครื่องบิน ( Boarding Pass ) หนังสือเดินทาง และตั๋วโดยสาร มาแสดงแก่เจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ที่ทำการขาออก เพื่อบันทึกรายละเอียดและรับสำเนาเอกสารไว้สำหรับแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรประจำช่องตรวจสีแดงในวันเดินทางกลับเข้ามาประเทศไทย

ภายใต้เงื่อนไขดังนี้

  • เป็นของเก่าใช้แล้วและมีจำนวน / ปริมาณพอสมควรแก่ฐานะ

  • มีเครื่องหมาย เลขหมาย (Serial Number)ที่สามารถตรวจสอบได้ง่าย

หากผู้โดยสารมีของที่มิใช่ของใช้ส่วนตัว แต่มีลักษณะเป็นสินค้าในเชิงการค้า เช่น กล้วยไม้ หรือของใช้ชนิดอื่นๆ โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรล่วงหน้า เพื่อแนะนำไห้ปฏิบัติพิธีการศุลกากรขาออกก่อนการเดินทาง

การนำพระพุทธรูปออกนอกราชอาณาจักร

ห้ามไม่ให้ผู้ใดส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุออกนอกราชอาณาจักร ไม่ว่าโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุนั้นจะเป็นโบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้วหรือไม่ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมศิลปากร โดยการขอใบอนุญาตจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 ( พ.ศ. 2539 )
กรณีที่โบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุที่ขอรับใบอนุญาตส่งหรือนำออกนอกราชอาณาจักรเป็นพระพุทธรูปหรือรูปเคารพในศาสนา ผู้รับใบอนุญาตจะต้องแจ้งวัตถุประสงค์ในการส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุออกนอกราชอาณาจักรด้วย
การพิจารณาอนุญาตให้ส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุประเภทพระพุทธรูปหรือรูปหรือรูปเคารพในศาสนาออกนอกราชอาณาจักร จะอนุญาตให้ส่งออกเฉพาะพระพุทธรูปหรือรูปเคารพในศาสนาที่มีสภาพสมบูรณ์ และจะต้องส่งออกไปโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสักการบูชา การศึกษาวิจัย หรือจัดนิทรรศการทางวิชาการเท่านั้น โดยจะไม่อนุญาตให้ส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุประเภทพระพุทธรูป หรือรูปเคารพในศาสนาในสภาพที่เป็นชิ้นส่วนออกนอกราชอาณาจักร

การซื้อของจากร้านค้าปลอดอากร

การซื้อสินค้าจากร้านค้าปลอดอากรในเมืองต้องนำออกไปยังต่างประเทศเท่านั้น หากมีการนำกลับเข้ามาภายในราชอาณาจักรอีกจะต้องชำระอากรที่ช่องแดง